การรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
การรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

แนวทางการรักษาหลักของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า คือ การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น การใช้ยา และอาจพิจารณาการผ่าตัดเมื่อการรักษาอื่นไม่ได้ผล หรือเกิดผลข้างเคียงที่ไม่อาจทนได้

ปัจจุบัน มีการรักษาอยู่จำนวนหนึ่งที่สามารถบรรเทาอาการความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าได้ การค้นหาถึงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการและทำการหลีกเลี่ยงกิจกรรมเหล่านั้นก็สามารถช่วยบรรเทาอาการเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ป่วยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าส่วนใหญ่จะได้รับยาสำหรับทานเพื่อช่วยควบคุมความเจ็บปวดของพวกเขา แม้ว่าในบางกรณี อาจต้องพิจารณาถึงการผ่าตัดเนื่องจากยาไม่ได้ผลเป็นระยะเวลานานหรือทำให้เกิดผลข้างเคียงมากเกินไป

การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

อาการเจ็บปวดกำเริบที่เกี่ยวข้องกับโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า บางครั้งอาจถูกกระตุ้น หรือทำให้อาการแย่ลงด้วยกิจกรรมบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้นนอกเหนือจากการรักษาโดยตรงจากแพทย์ประจำตัวของคุณ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมเหล่านี้หากเป็นไปได้

ตัวอย่างเช่น หากความเจ็บปวดของคุณถูกกระตุ้นโดยการสัมผัสลม หรือแม้กระทั่งสายลมเบา ๆ ภายในห้อง คุณควรหลีกเลี่ยงการนั่งอยู่ใกล้หน้าต่างที่เปิดอยู่ หรือใกล้กับเครื่องปรับอากาศ และสวมผ้าพันคอพันรอบใบหน้าของคุณเวลาต้องออกไปในสภาพอากาศที่มีลมแรง ร่มโค้งแบบโปร่งใสสามารถปกป้องใบหน้าของคุณจากสภาพอากาศขณะเดินทางได้เช่นกัน

อาหารร้อน อาหารเผ็ด เครื่องดื่มเย็นจัดอาจทำให้อาการปวดของคุณกำเริบขึ้น การหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ การใช้หลอดเพื่อดื่มเครื่องดื่มที่อุ่นหรือเย็นอาจช่วยป้องกันไม่ให้ของเหลวสัมผัสกับบริเวณที่เจ็บปวดในช่องปากของคุณได้ด้วย สิ่งสำคัญคือควรทานอาหารที่มีสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งหากคุณมีปัญหาในการเคี้ยวให้ลองพิจารณารับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มหรืออาหารปั่น

อาหารบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการกำเริบขึ้นในผู้ป่วยบางคน ดังนั้นคุณอาจต้องการหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย เช่น คาเฟอีน ผลไม้บางชนิด เช่นมะนาวและกล้วย

การรักษาด้วยยาในผู้ป่วยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

ยาแก้ปวดทั่วไป เช่น ยาพาราเซตามอลไม่ได้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า โดยคุณจะได้รับยาทางเลือกชนิดอื่น เช่น ยากันชักซึ่งมักใช้ในการรักษาโรคลมชักเพื่อช่วยควบคุมความเจ็บปวดของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาเหล่านี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาความเจ็บปวดโดยตรงแต่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเส้นประสาทโดยการชะลอกระแสกระตุ้นไฟฟ้าที่วิ่งไปตามเส้นประสาทและลดความสามารถในการส่งสัญญาณความเจ็บปวดเข้าสู่สมอง

ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาอย่างสม่ำเสมอไม่เพียงแต่เฉพาะอาการปวดเกิดขึ้นเท่านั้น แต่สามารถหยุดยาเมื่อไม่อยู่ในช่วงที่เกิดอาการปวดกำเริบใด ๆ และอยู่ในช่วงระยะไม่มีอาการ เว้นแต่จะได้รับคำสั่งเป็นอย่างอื่นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ประจำตัวของคุณ คุณควรค่อย ๆ ปรับยาเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และค่อย ๆ ลดลงเข้าสู่ปริมาณยาที่เหมาะสมเป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ การได้รับยาปริมาณมากเร็วเกินไปและหยุดยาเร็วเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้

ในช่วงเริ่มต้น แพทย์ประจำตัวของคุณจะสั่งจ่ายยาชื่อว่า carbamazepine เป็นทางเลือกแรก ถึงแม้จะมียาทางเลือกหลายอย่างให้เลือกใช้หากยาดังกล่าวไม่ได้ผลหรือไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยก็ตาม

ยา Carbamazepine

การใช้ Carbamazepine เพื่อรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าอาจมีประสิทธิภาพในตอนแรก แต่อาจมีผลน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป

โดยปกติ คุณจะต้องเริ่มใช้ยาดังกล่าวในปริมาณต่ำความถี่วันละครั้งหรือสองครั้ง โดยปรับให้ปริมาณและความถี่เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ โดยอาจมากถึงสี่ครั้งต่อวันจนกว่าอาการปวดจะลดลง

ยา carbamazepine มักทำให้เกิดผลข้างเคียงหลายอย่างซึ่งอาจเป็นปัญหากับผู้ป่วยหลายคน ได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เมื่อยล้า
  • ง่วงนอน
  • วิงเวียนศีรษะ
  • มีปัญหาในเรื่องสมาธิและความจำ
  • ภาวะสับสน
  • ยืนนิ่งลำบาก
  • รู้สึกคลื่นไส้และอาเจียน
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อยลง
  • อาการแพ้ผิวหนัง เช่น ภาวะลมพิษ (urticaria)

คุณควรพูดคุยกับแพทย์ประจำตัวของคุณ หากคุณพบอาการข้างเคียงหรือเกิดปัญหาแทรกซ้อนในขณะที่คุณกำลังทานยา carbamazepine โดยเฉพาะอาการผื่นแพ้ผิวหนัง เนื่องจากอาจเป็นภาวะที่อันตราย

ยา carbamazepine ยังสัมพันธ์กับผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่พบได้ยากแต่ร้ายแรงกว่ามาก ได้แก่ทำให้เกิดความคิดเรื่องการทำร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตาย คุณควรพูดถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเหล่านี้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายให้กับแพทย์ประจำตัวของคุณโดยทันที

ยาอื่น ๆ

ประสิทธิภาพของยา carbamazepine อาจลดลงตามเวลาที่ผ่านไป และอาจไม่ออกฤทธิ์กับอาการปวดของคุณอีกเลย หากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นหรือหากคุณพบผลข้างเคียงอย่างรุนแรงในขณะที่รับประทานยาดังกล่าว คุณควรติดต่อแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณายาตัวอื่น หรือวิธีการรักษาอื่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่คุณอาจได้รับการส่งตัวต่อเพื่อรับการรักษาต่อไป เช่น แพทย์ประสาทวิทยาที่เชี่ยวชาญในด้านอาการปวดหัว ศัลยแพทย์ระบบประสาท และอายุรแพทย์เชี่ยวชาญด้านความเจ็บปวด

นอกเหนือจากยา carbamazepine แล้วยังมียาอื่น ๆ ที่ใช้ในการรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าได้อีกหลายตัว ได้แก่ :

ยาเหล่านี้ไม่ได้ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าโดยเฉพาะ ซึ่งหมายความว่าพวกเขายังไม่ได้ถูกวิจัยทดลองทางคลินิกอย่างเข้มงวดเพื่อตรวจสอบว่าพวกเขามีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าหรือไม่

อย่างไรก็ตาม เหตุผลของเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นอาจเป็นเพราะโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเป็นความผิดปกติที่พบได้ยากและยิ่งยากในการให้ผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัยทดลองทางคลินิกเนื่องจากการให้ยาหลอก (Placebo) เพื่อทำวิจัยในผู้ป่วยบางคนนั้นเป็นเรื่องที่ผิดจรรยาบรรณและทำไม่ได้

อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายคนอาจจะสั่งยาเหล่านี้เพื่อรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าให้กับคุณ เนื่องจากพวกเขาคิดว่ายาดังกล่าวหากมีประสิทธิผลเพียงเล็กน้อยแล้วนั้นก็ถือว่ามีประโยชน์ต่อการรักษามากว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องใด ๆ

หากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณกำลังพิจารณาสั่งยาเหล่านั้น พวกเขาควรแจ้งให้คุณทราบว่ายาดังกล่าวเป็นยาชนิดไหนและพูดคุยถึงความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณ

ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ของยาเหล่านี้อาจเป็นเรื่องยากสำหรับการรับมือในตอนแรก ไม่ใช่ทุกคนที่จะเกิดผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน แต่หากเกิดขึ้นกับคุณ ให้พยายามอดทนไปก่อนเนื่องจากอาการเหล่านั้นมักจะค่อย ๆ ลดลงไปตามเวลา หรือให้ทนอย่างน้อยจนกว่าจะถึงเวลานัดครั้งต่อไปหรือการปรับปริมาณยาครั้งต่อไป หากจำเป็นคุณควรพูดคุยกับแพทย์ประจำตัวของคุณหากคุณไม่สามารถทนอาการข้างเคียงเหล่านั้นได้

การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

หากยาไม่สามารถควบคุมอาการของคุณได้เพียงพอหรือทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่สามารถทนได้ คุณอาจถูกส่งตัวไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาทางเลือกอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดที่อาจสามารถช่วยลดอาการปวดของคุณลงได้

มีวิธีการรักษามากมายที่ใช้ในการรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า ดังนั้นคุณจะต้องพูดคุยถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับการรักษาแต่ละอย่างก่อนตัดสินใจ เป็นเรื่องที่ดีที่ควรได้รับข้อมูลให้รอบด้านเท่าที่จะเป็นไปได้และตัดสินใจให้เหมาะสมบนพื้นฐานส่วนบุคคล

ไม่มีการรับประกันว่าวิธีการใด ๆ ก็ตามที่กล่าวถึงนั้นจะได้ผลกับคุณหรือไม่  แต่เมื่อคุณเข้ารับการผ่าตัดและประสบความสำเร็จแล้วนั้น คุณจะไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดจนกว่าอาการปวดจะกลับมาอีกครั้ง หากวิธีการผ่าตัดแบบหนึ่งไม่ได้ผล คุณสามารถลองทำการผ่าตัดอื่นอีกครั้งหรือรักษาด้วยการทานยาของคุณไปช่วงหนึ่งหรือถาวร

การผ่าตัดบางอย่างสามารถนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าดังต่อไปนี้

การผ่าตัดผ่านผิวหนัง (Percutaneuos procedures)

มีรูปแบบการผ่าตัดจำนวนหนึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดจากโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าได้ แม้บางครั้งจะลดลงเพียงชั่วคราว การผ่าตัดนั้นจำทำผ่านเข็มหรือท่อบาง ๆ เจาะผ่านแก้มและเข้าไปในบริเวณเส้นประสาทใบหน้าที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ

การผ่าตัดรูปแบบนี้เรียกว่า การผ่าตัดผ่านผิวหนัง (Percutaneous) ร่วมกับการใช้ภาพรังสีเพื่อช่วยนำเข็มหรือท่อไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องในร่างกาย โดยคุณอาจจะได้รับยากล่อมประสาทอย่างหนัก หรืออาจทำภายในห้องผ่าตัดร่วมกับการให้ยาสลบ

วิธีการผ่าตัดผ่านผิวหนังที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาคนที่เป็นโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า ได้แก่:

  • การฉีดกลีเซอรอล (Glycerol injection) - ยากลีเซอรอลจะถูกฉีดลงในบริเวณปมประสาท Gasserian ซึ่งเป็นจุดที่สาขาเส้นประสาททั้งสามของเส้นประสาทใบหน้ามารวมตัวกัน
  • การจี้ด้วยคลื่นความถี่สูง - โดยใช้เข็มจิ้มให้ความร้อนโดยตรงกับปมประสาท Gasserian
  • การฝังบอลลูนเพื่อกดบีบ - โดยใช้บอลลูนเล็ก ๆ ส่งไปตามท่อขนาดเล็กแทรกผ่านแก้ม เพื่อเข้าพองตัวรอบ ๆ ปมประสาท Gasserian เพื่อกดบีบทำลายและนำบอลลูนออกมา

ขั้นตอนการผ่าตัดเหล่านี้ทำเพื่อ สร้างความเสียหายหรือทำลายเส้นประสาทใบหน้าซึ่งนำไปสู่การลดลงของสัญญาณกระแสประสาทเจ็บปวดที่เดินทางไปตามเส้นประสาทดังกล่าว คุณสามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกันที่ผ่าตัดโดยไม่จำเป็นต้องค้างคืนที่โรงพยาบาล

โดยรวมแล้ว ขั้นตอนผ่าตัดเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากความเจ็บปวดของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า แม้ว่าอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนกับผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกันไปตามชนิดของการผ่าตัดและแต่ละบุคคล การบรรเทาอาการปวดมักคงอยู่เพียงไม่กี่ปีและบางครั้งก็เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น และในบางครั้งขั้นตอนการผ่าตัดเหล่านี้ก็ไม่ได้ผลในการบรรเทาปวดเลย

ผลข้างเคียงที่สำคัญของขั้นตอนการผ่าตัดเหล่านี้คืออาการชาของบางส่วนหรือทุกส่วนในด้านหนึ่งของใบหน้า ความรุนแรงในแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ตั้งแต่ชามากหรือรู้สึกชาเพียงบางจุดแค่ปลายเข็มหมุดเท่านั้น ความรู้สึกซึ่งอาจคงอยู่แบบถาวรมักจะคล้ายกับการฉีดยาโดยทันตแพทย์ มีโอกาสน้อยมากที่คุณจะเกิดอาการชา และอาการปวดต่อเนื่องรวมกัน ซึ่งเรียกว่าภาวะ Anesthesia dolorosa ซึ่งไม่สามารถทำการรักษาได้

ขั้นตอนผ่าตัดเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นและระยะยาวอื่น ๆ ได้แก่ ภาวะเลือดออก รอยช้ำบนใบหน้า ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น และปัญหาในการขยับกล้ามเนื้อใบหน้า เป็นต้น

รังสีศัลยกรรมร่วมพิกัด (Stereotactic radiosurgery)

ทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการปวดโดยการทำลายเส้นประสาทใบหน้าโดยไม่ต้องสอดใส่สิ่งใด ๆ ผ่านทางผิวหนังคือการได้รับรังสีศัลยกรรมร่วมพิกัด สิ่งนี้คือการรักษาที่ค่อนข้างใหม่ ทำงานโดยใช้ลำรังสีเข้มข้นเพื่อจงใจทำลายเส้นประสาทใบหน้าก่อนที่มันจะเดินทางเข้าสู่ก้านสมอง

การผ่าตัดรับรังสีศัลยกรรมร่วมพิกัดไม่จำเป็นต้องดมยาสลบและไม่มีการกรีดหรือเกิดแผลขึ้นบนแก้มของคุณ

โครงโลหะจะอยู่ติดกับศีรษะของคุณโดยใส่หมุดสี่ตัวยึดไว้รอบ ๆ หนังศีรษะของคุณซึ่งจะใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวดเอาไว้ก่อน และศีรษะของคุณพร้อมโครงโลหะที่ยึดติดไว้นั้นจะถูกวางในเครื่องฉายรังสีขนาดใหญ่เป็นเวลาหนึ่งถึงสองชั่วโมง และในขณะนั้นคุณอาจรู้สึกอึดอัดกับที่แคบได้ จากนั้นโครงโลหะและหมุดจะถูกนำออก  และคุณสามารถกลับบ้านหลังจากหลังจากพักผ่อนดูอาการไม่นานนัก

การรักษาแบบดังกล่าวอาจใช้เวลาสองถึงสามสัปดาห์ หรือหลายเดือนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษา แต่วิธีนี้สามารถบรรเทาอาการปวดสำหรับผู้ป่วยบางคนได้เป็นเวลาหลายเดือนหรือถึงหลายปี การศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับการผ่าตัดรักษาดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกับขั้นตอนการผ่าตัดอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดที่เกี่ยวข้องกับการไดัรับรังสีศัลยกรรม ได้แก่ ความรู้สึกชาตามใบหน้า และรู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มแทง (paresthesia) ตามใบหน้า ในบางกรณีอาการเหล่านี้สามารถอยู่อย่างถาวร และอาจรุนแรงมากในผู้ป่วยบางคน

การผ่าตัดระดับจุลศัลยกรรมเพื่อแยกเส้นเลือดจากเส้นประสาท (microvascular decompression)

คือการผ่าตัดที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเกี่ยวกับประสาทที่เกิดขึ้นจากโรคได้โดยไม่จำเป็นต้องจงใจทำให้เส้นประสาทใบหน้าเสียหายหรือถูกทำลายไป ขั้นตอนการผ่าตัดนี้คือจงใจลดแรงกดดันที่วางอยู่บนเส้นประสาทใบหน้าจากเส้นเลือดที่สัมผัสเส้นประสาทหรือคลุมอยู่รอบ ๆ

ขั้นตอนหลักที่สำคัญคือจำเป็นต้องทำการเปิดกะโหลกศีรษะ จึงถือเป็นการผ่าตัดขนาดใหญ่และต้องดำเนินการภายใต้การการให้ยาสลบร่วมกับการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ประสาทวิทยา

ระหว่างการผ่าตัดจุลศัลยกรรมดังกล่าว ศัลยแพทย์จะทำการกรีดหนังศีรษะ บริเวณหลังหูและถอดชิ้นส่วนกระดูกกะโหลกชิ้นเล็ก ๆ กลม ๆ ออกมา จากนั้นพวกเขาจะขยับหรือย้ายเส้นเลือด แยกออกจากเส้นประสาทโดยใช้แผ่นกั้นเทียมหรือสิ่งกั้นที่สร้างขึ้นจากเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ

สำหรับผู้ป่วยจำนวนมาก การผ่าตัดประเภทนี้มีประสิทธิภาพในการบรรเทาหรือหยุดความเจ็บปวดของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าได้เป็นระยะยาวนานที่สุดกว่าการผ่าตัดและรักษาอื่น ๆ โดยมีการศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าอาการปวดนั้นกลับมาเกิดขึ้นเพียง 30% ของผู้ป่วยภายใน 10-20 ปีหลังการผ่าตัด ในปัจจุบันวิธีนี้เป็นวิธีการรักษาที่ถือมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดดังกล่าวเป็นการผ่าตัดใหญ่ รุกรานร่างกาย และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย  เช่น ความรู้สึกชา การสูญเสียการได้ยิน การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และมีโอกาสเสียชีวิตโดยประมาณ 1 ในทุก ๆ 200 กรณี

ที่มา : https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/trigeminal-neuralgia#treatmen


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Trigeminal neuralgia - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/trigeminal-neuralgia/treatment/)
Management of Chronic Facial Pain. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3052669/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป