พีรศักดิ์ คานทองดี
เขียนโดย
พีรศักดิ์ คานทองดี

ฝังเข็มบนใบหน้า ทางเลือกการดูแลผิวหน้าจากภายในสู่ภายนอก

ฝังเข็มใบหน้า ทางเลือกในการกระตุ้นเลือดลมบริเวณใบหน้าให้ไหลเวียน อาจช่วยแก้ปัญหาสิว ฝ้า อาการหมองคล้ำ
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ฝังเข็มบนใบหน้า ทางเลือกการดูแลผิวหน้าจากภายในสู่ภายนอก

หลายคนอาจรู้จักศาสตร์แห่งการฝังเข็มในรูปแบบของการใช้เข็มฝังตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยดูแลรักษาสารพัดโรค ไม่ว่าจะเป็น โรคเกี่ยวกับอาการปวด การอักเสบ ภูมิคุ้มกัน ตลอดจนความเครียด แต่ปัจจุบันศาสตร์นี้มีการขยายขอบเขตออกไปอีก โดยหากกล่าวถึงหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยม ณ ขณะนี้ คงจะหนีไม่พ้น การฝังเข็มบนใบหน้า เพื่อดูแลสุขภาพผิวหน้าโดยตรง

หลักการฝังเข็มบนใบหน้า

โดยทั่วไปแล้ว หลักการของการฝังเข็มคือการนำเข็มฝังลงไปที่เส้นลมปราณตามจุดต่างๆ บนร่างกาย เพื่อปรับสมดุลของการทำงานอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้อยู่ในสภาวะปกติหรือคงที่ การฝังเข็มบนใบหน้าก็มีหลักการเช่นเดียวกัน แต่การฝังเข็มบนใบหน้าจะมุ่งเน้นการฝังเพื่อช่วยกระตุ้นระบบน้ำเหลืองและระบบการไหลเวียนของโลหิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนจีนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 77 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ประโยชน์ของการฝังเข็มบนใบหน้า

เมื่อระบบไหลเวียนของโลหิตและระบบน้ำเหลืองเกิดความสมดุล ก็จะช่วยให้การลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปยังเซลล์ผิวเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในงานวิจัยยังพบว่าการฝังเข็มช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนได้

จึงทำให้การฝังเข็มบนใบหน้าเพื่อช่วยในการดูแลรักษาปัญหาและความบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนใบหน้า ไม่ว่าจะเป็น สิว ฝ้า จุดด่างดำ ริ้วรอย ตลอดจนความหมองคล้ำ

การฝังเข็มบนใบหน้าแตกต่างจากการดูแลผิวหน้าด้วยวิธีการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ครีมบำรุง ศัลยกรรม โบท็อกซ์ ฯลฯ ตรงที่การฝังเข็มบนใบหน้าจะเป็นการรักษาจากภายในสู่ภายนอก มุ่งเน้นการรักษาเพื่อผลระยะยาวมากกว่าผลระยะสั้น

ซึ่งอาจทำให้การฝังเข็มไม่เห็นผลรวดเร็วเท่ากับการดูแลด้วยวิธีอื่นๆ

ปัญหาผิวแบบใด ใช้การฝังเข็มช่วยได้?

อาจเคยได้ยินกันว่า การฝังเข็มใบหน้าจะช่วยรักษาปัญหาผิวหน้าอย่างสิว ฝ้า และความหมองคล้ำได้ ซึ่งความจริงแล้ว ปัญหาผิวเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย เช่น ฮอร์โมน ภาวะความเครียด การทำงานของเซลล์ผิว ลักษณะการรักษาด้วยการฝังเข็มก็ย่อมแตกต่างกันไปตามแต่อาการหรือสภาพร่างกายของผู้ที่เข้ารับการรักษา

ตามหลักแพทย์แผนจีน จะไม่ได้ทำการฝังเข็มบนใบหน้าเพียงอย่างเดียว แต่อาจฝังตามจุดต่างๆ ของร่างกายควบคู่ไปด้วย หรืออาจมีการให้ยาจีนเพื่อให้การปรับสมดุลในร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนจีนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 77 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การฝังเข็มเพื่อรักษาสิว แพทย์จะนำเข็มฝังลงไปตรงฐานของสิว เพื่อกระตุ้นอาการคั่งของเลือด ให้เลือดเกิดการไหลเวียนดีขึ้น ขับของเสียได้ดีขึ้น และนำมาสู่การลดอาการอักเสบในที่สุด

    ทั้งนี้ ในการรักษาสิวระยะยาว แพทย์จะทำการตรวจดูว่าสิวในผู้ป่วยคนนั้นเกิดจากสาเหตุใด เช่น ร่างกายมีความร้อนมากเกินไป ก็จะรักษาด้วยการฝังเข็มบนร่างกายในจุดที่ช่วยระบายความร้อน ขับความร้อนออกจากร่างกาย เป็นต้น

  • การฝังเข็มเพื่อรักษาฝ้า โดยปกติแล้ว แพทย์จะทำการประเมินลักษณะของฝ้าว่าเป็นลักษณะใด เช่น ในกรณีที่ฝ้าเป็นแผ่น แพทย์จะทำการฝังเข็มรอบๆ แผ่นฝ้า ร่วมกับการฝังเข็มที่แขนหรือขา เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

    อย่างไรก็ดี การรักษาฝ้าอาจไม่สามารถหายได้ในครั้งแรก ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล

  • การฝังเข็มเพื่อรักษาอาการหมองคล้ำ ในการดูแลรักษาความหมองคล้ำของใบหน้า แพทย์จะทำการฝังบริเวณ หัวคิ้วขมับ และใต้โหนกแก้ม ซึ่งเป็นจุดที่จะกระตุ้นให้เลือดบนใบหน้าไหลเวียนได้ดีมากยิ่งขึ้น ทำให้หน้าดูสดใสมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนฝังเข็มหน้า

การฝังเข็มบนใบหน้ามีขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ต้องการฝังเข็มไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาหรือความกังวลใจ เพื่อให้แพทย์พิจารณาแนวทางในการฝังเข็ม
  2. หากพิจารณาว่าสามารถทำได้ แพทย์จะทำความสะอาดผิวหน้าหรือบริเวณที่จะทำการฝังเข็มให้สะอาด โดยปกติจะมีการเช็ดผิวบริเวณที่จะทำการฝังเข็มด้วยแอลกอฮอล์ก่อนทุกครั้ง
  3. แพทย์จะนำเข็มฝังลงตามจุดต่างๆ ของใบหน้า ขึ้นอยู่กับปัญหาผิวหน้าที่ต้องการรักษา

    ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาตามหลักของแพทย์แผนจีน การฝังเข็มบนใบหน้าจะกระทำควบคู่ไปกับการฝังเข็มตามจุดต่างๆ บนร่างกาย

    อย่างไรก็ดี การฝังเข็มบนใบหน้าจะไม่มีการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าร่วมด้วยเมื่อการฝังเข็มบนร่างกาย
  4. เมื่อครบเวลาประมาณ 20 -30 นาที แพทย์จะทำการดึงเข็มที่ฝังไว้ออกตามลำดับ

การเตรียมตัวก่อนฝังเข็มบนใบหน้า

ถึงแม้ว่าขั้นตอนการฝังเข็มบนใบหน้าจะมีลักษณะการดำเนินการคล้ายกับการฝังเข็มตามร่างกาย แต่เนื่องจากเป็นการนำเข็มฝังลงตามจุดต่างๆ บนใบหน้าโดยตรง จึงอาจทำให้หลายๆ คนเกิดความรู้สึกหวาดกลัวและเป็นกังวลใจมากกว่าการฝังเข็มตามร่ากาย

สิ่งสำคัญที่สุดในการเตรียมตัวก่อนการฝังเข็มหน้า คือ การเตรียมใจให้พร้อม ผู้ที่จะเข้ารับการฝังเข็มบนใบหน้าต้องมั่นใจว่าตนเองไม่ใช่ผู้ที่มีอาการกลัวเข็มจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในระหว่างการฝังเข็มและหลังการฝังเข็มอย่างเคร่งครัด

นอกเหนือจากนี้ ก่อนมาฝังเข็มควรพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารให้อยู่ท้อง เพราะการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดอาจทำให้เกิดภาวะหน้ามืด วิงเวียน หรือเป็นลมได้

ข้อควรปฏิบัติหลังฝังเข็มบนใบหน้า

หลังการฝังเข็มบนใบหน้านั้น ผู้รับการฝังเข็มสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องงดการใช้เครื่องสำอางหรือครีมบำรุงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

จากการศึกษาพบว่า ในผู้เข้ารับการฝังเข็มบางราย (ประมาณ 20%) อาจเกิดรอยฟกช้ำบริเวณจุดที่ทำการฝังเข็ม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากบนใบหน้ามีเส้นเลือดมากมาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนจีนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 77 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ให้ลองสังเกตว่าเมื่อเวลาผ่านไป การฟกช้ำดีขึ้นหรือไม่ มีอาการปวดร่วมด้วยหรือไม่ หากมีความผิดปกติดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ

ค่าใช้จ่ายในการทำการฝังเข็มบนใบหน้า

ค่าใช้จ่ายในการฝังเข็มบนใบหน้าจะอยู่ที่ประมาณ 600-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการรักษาและสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษา โดยการฝังเข็มบนใบหน้าจะมีอยู่ทั่วไปตามสถานพยาบาลที่ให้บริการด้านการแพทย์แผนจีน เช่น โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน โรงพยาบาลหัวเฉียว

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีนวัตกรรมการดูแลสุขภาพผิวหน้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็น การใช้ครีมบำรุง การศัลยกรรม การฉีดฟิลเลอร์ การทำโบท็อกซ์ ฯลฯ นวัตกรรมเหล่านี้มักเห็นผลในทันทีหลังจากการทำ แต่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นการดูแลรักษาในระยะสั้นมากกว่า

ดังนั้นการฝังเข็มบนใบหน้าจึงอาจเป็นคำตอบ สำหรับคนที่ต้องการปรับสมดุล ดูแลสุขภาพผิวจากภายในสู่ภายนอก อาจจะเห็นผลช้ากว่า แต่ก็ได้มาซึ่งผลในระยะยาว

ทั้งนี้การฝังเข็มบนใบหน้า ควรทำควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การนอน ตลอดจนการจัดการกับภาวะความเครียด อันเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพผิวที่ดีอย่างยั่งยืน

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ฝังเข็มออฟฟิศซินโดรม กระตุ้นไฟฟ้า ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิว ฝังเข็ม Office Syndrome กระตุ้นไฟฟ้า และโคมไฟอินฟาเรด ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิวฝังเข็ม บรรเทาภูมิแพ้ ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall
รีวิวทุกขั้นตอน ฝังเข็ม ครอบแก้ว ติดหมุดใบหู ที่ Mandarin Clinic | HDmall
รีวิวฝังเข็ม รักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall

รีวิวการรักษาอาการไหล่ติด ด้วยวิธีผสมผสาน 3 ศาสตร์ กายภาพบำบัด นวดคลายกล้ามเนื้อ และฝังเข็ม ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝังเข็มแบบจีนกับแบบตะวันตก แตกต่างกันอย่างไร? ควรเลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาการของเรา? (https://hdmall.co.th/c/what-difference-dry-needling-vs-acupuncture).
ฝังเข็ม อันตรายไหม? ช่วยอะไรได้บ้าง? (https://hdmall.co.th/c/what-is-chinese-acupuncture).
การฝังเข็มแบบตะวันตกคืออะไร? Dry Needling รักษาโรคอะไรได้บ้าง? (https://hdmall.co.th/c/what-is-dry-needling-puncture).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
หลักการป้องกันอันตราย อันเกิดจากงานอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม
หลักการป้องกันอันตราย อันเกิดจากงานอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม

รวมคำแนะนำสำหรับการปฏิบัติตนหากต้องทำงานในอุตสาหรรมเครื่องจักร หรือสารเคมีที่เสี่ยงอันตราย

อ่านเพิ่ม