กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตากระตุก สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรค

ตากระตุกไม่ใช่เรื่องของความเชื่อ แต่อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบแก้ไข
เผยแพร่ครั้งแรก 9 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ตากระตุก สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรค

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • “ตากระตุก” เป็นอาการกระตุกที่เกิดขึ้นบริเวณเปลือกตา สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับเปลือกตาบน และเปลือกตาล่าง โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบประสาท และมักจะไม่รุนแรงมาก
  • ยังไม่มีการศึกษาที่สามารถบอกได้ว่า อาการตากระตุกเกิดมาจากอะไร แต่ก็ยังมีสาเหตุร่วมที่อาจอธิบายต้นตอของอาการตากระตุกได้ เช่น ความเครียด นอนไม่เป็นเวลา ตาแห้งหรือลาจากการทำงานมากเกินไป ร่างกายขาดวิตามินบี 12 โรคภูมิแพ้
  • ถึงแม้ส่วนมากอาการตากระตุกจะไม่รุนแรง แต่ก็สามารถเป็นหนึ่งในอาการของโรคแทรกซ้อนบางอย่างได้ เช่น โรคอัมพาตใบหน้า โรคคอบิดเกร็ง โรคพาร์กินสัน โรคทูเร็ตต์
  • วิธีรักษาอาการตากระตุกสามารถทำได้ด้วยตนเอง เช่น การประคบร้อนหรือเย็น การนวดรอบดวงตา การพักผ่อนให้เพียงพอ การดูแลสุขภาพจิตให้แจ่มใส การจำกัดปริมาณคาเฟอีน หรือจะเป็นการรักษาทางการแพทย์ เช่น การใช้ยา การฉีดโบท็อกซ์ การผ่าตัดกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท
  • อาการตากระตุกเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่า คุณยังดูแลสุขภาพดวงตาไม่ดีพอ หรือใช้ตามากเกินไปจนร่างกายเกิดความอ่อนล้า คุณจึงควรหมั่นดูแลสุขภาพตา และไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตาเป็นระยะๆ (ดูแพ็กเกจตรวจตาได้ที่นี่)

ตากระตุก ตามความเชื่อของคนไทยก็อาจเป็นลางได้ทั้งเรื่องดีและเรื่องไม่ดี แต่ในทางการแพทย์ ตากระตุกก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่ไม่ควรมองข้ามเพราะบางครั้งอาการกระตุกอาจเป็นสัญญาณของภาวะหรือโรคบางอย่างก็เป็นได้ 

ความหมายของอาการตากระตุก

ตากระตุก (eyelid twitch) เป็นอาการกระตุกที่เกิดขึ้นกับเปลือกตาซึ่งเป็นได้ทั้งเปลือกตาล่างและเปลือกตาบน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นที่เปลือกตาด้านบน โดยปกติการกระตุกเกร็งของเปลือกตานั้นจะไม่รุนแรงมากนัก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่ผู้ป่วยบางรายก็มีปัญหาตากระตุกจนทำให้เปลือกตาปิดลงมาได้ บางรายอาจจะมีอาการอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งเป็นสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบประสาท

สาเหตุของอาการตากระตุก

อาการตากระตุก มักเกิดจากการนำไฟฟ้าของกระแสประสาทจากสมองมาที่กล้ามเนื้อเปลือกตา ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า อาการนี้เกิดจากสาเหตุอะไร เพราะในบางครั้งอาการตากระตุกก็อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว หรือไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่ทั้งนี้ก็ยังมีสาเหตุร่วมที่สามารถอธิบายได้ดังนี้

1. ความเครียด

หากเกิดความเครียด ร่างกายจะตอบสนองโดยทำให้เกิดอาการตากระตุกขึ้นได้ เนื่องจากความเครียดมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนบางตัว ซึ่งฮอร์โมนเองก็ส่งผลต่อกล้ามเนื้อได้โดยตรงนั่นเอง

2. นอนไม่เป็นเวลา

โดยปกติแล้ว กลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ควรนอนหลับพักผ่อน แต่บางคนกลับใช้เวลากลางคืนในการทำงาน หรืออ่านหนังสือ ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อตาต้องใช้งานมากกว่าปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้าและนำมาซึ่งอาการตากระตุกได้

3. ตาแห้ง

อาการตาแห้งสามารถเกิดได้จากการจ้องคอมพิวเตอร์นานกว่า 7 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งทำให้สารธรรมชาติที่ช่วยในการหล่อลื่นดวงตาลดลงจนทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ โดยเหตุนี้อาจทำให้เกิดอาการตากระตุกตามมา

4. ขาดวิตามินบางชนิด

อาการตากระตุกสามารถเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายได้รับวิตามินบี 12 ไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาทมีปัญหาและเกิดอาการกระตุกขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

5. โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องต่อการเกิดอาการตาแห้งและคันได้ซึ่งเป็นอาการที่ส่งผลกระตุ้นต่อการเกิดอาการตากระตุก เนื่องจากฮีสตามีนจะถูกปล่อยผ่านทางเนื้อเยื่อ อันเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ

ภาวะตากระตุกแบบเรื้อรัง

อาการตากระตุกแบบเรื้อรัง สามารถที่จะเรียกได้ว่า "โรคตากระปริบ (Bleb pharospasm)" ซึ่งเป็นอาการของตากระตุกเช่นเดียวกัน โดยจะเกิดการกระตุกของหนังตาทั้ง 2 ข้าง โดยมีสาเหตุ ได้แก่

  • การดื่มแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีนมากจนเกินไป
  • เยื่อบุตาอักเสบ
  • การระคายเคืองกับสิ่งแวดล้อม
  • ภาวะไวต่อแสง

ลักษณะอาการตากระตุก

อาการตากระตุกมักจะเป็นกับเปลือกตาบน แต่ละรายจะมีระดับความรุนแรงในการกระตุกที่แตกต่างกันไป แต่ส่วนมากมักพบอยู่ในระดับไม่รุนแรง ในบางรายก็อาจก่อให้เกิดความรำคาญเพราะมีการกระตุกของใบหน้าควบคู่กันด้วย 

อาการตากระตุกเมื่อเป็นแล้วมักจะไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย อีกทั้งยังสามารถหายได้เองโดยที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษา 

แต่ในบางกรณีการเกิดตากระตุกอาจเป็นสัญญาณแฝงของโรคเรื้อรัง หรือมีความรุนแรงควบคู่ ก็มักจะพบอาการเหล่านี้ได้น้อย โดยเฉพาะผู้ป่วยบางรายที่มักจะมีอาการกระตุกในส่วนอื่นๆ ของใบหน้าที่เกิดขึ้นร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของอาการตากระตุก

  1. โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s palsy) มักจะเกิดร่วมกับอาการตากระตุก โดยจะเกิดจากการที่เส้นประสาทบนใบหน้าอักเสบและบวม
  2. ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (dystonia) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหว โดยที่ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้และจะมีการเป็นซ้ำๆ
  3. โรคคอบิดเกร็ง (cervical dystonia) อาการจะมีความคล้ายคลึงกันกับภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งทั่วไป แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณกล้ามเนื้อคอ
  4. โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) เป็นโรคที่เกิดจากปลอกประสาทในระบบประสาทอักเสบ 
  5. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการสั่นอยู่ตลอดเวลา 
  6. โรคทูเร็ตต์ (Tourette’s syndrome) เป็นกลุ่มอาการชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทจนทำให้เกิดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ
  7. Meige Syndrome เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้น้อย ทำให้มีการเคลื่อนไหว หดเกร็งของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณ แก้มทั้ง 2 ข้าง ปาก ลิ้น และลำคอ

การวินิจฉัยตากระตุก

การวินิจฉัยอาการตากระตุก แพทย์จะสอบถามประวัติของผู้ป่วยก่อน จากนั้นจะตรวจร่างกาย ตรวจตาเพื่อแบ่งแยกโรคในดวงตาได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น บางรายอาจจ้องการตรวจด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตรวจสมองด้วยการทำ MRI (Brain MRI)

เป็นการตรวจดูสมองว่าภายในมีเนื้องอก หรือมีความผิดปกติใดๆ หรือไม่ โดยเฉพาะในส่วนของเส้นประสาทที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อกระตุก เพื่อจะได้หาหนทางในการรักษาต่อไป

การตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง (Electroencephalo graphy)

เป็นการตรวจเพื่อหาบริเวณที่ปล่อยคลื่นไฟฟ้าออกมาจนส่งผลทำให้เกิดอาการตากระตุก โดยจะมีการบันทึกสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาร่วมด้วย

วิธีรักษาโรคตากระตุก

โรคตากระตุกสามารถรักษาได้หลากหลายรูปแบบตั้งแต่วิธีที่ผู้ป่วยสามารถทำการรักษาได้ด้วยตนเอง และวิธีจากทางการแพทย์ ซึ่งมีดังนี้

การรักษาด้วยทางการแพทย์

  1. การใช้ยา
    การรักษาโรคตากระตุกในอับดับต้นๆ แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ ในบางรายสามารถใช้ยาเหล่านี้เพื่อช่วยหยุดอาการตากระตุกชั่วคราวเท่านั้น ยาเหล่านั้นได้แก่ ยาลอราซีแพม (Lorazepam) ยาโคลนาซีแพม (ClonaZepam) และยาไตรเฮกซีเฟนิดิล (Trihexyphenidyl)
  2. การฉีดโบท็อกซ์
    การรักษาตากระตุกด้วยการฉีดโบท็อกซ์จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเป็นโรคตากระตุกแบบเรื้อรัง โดยแพทย์จะฉีดโบท็อกซ์ หรือโบทูลินั่มท็อกซิน เพื่อช่วยหยุดอาการตากระตุก แต่ก็ช่วยหยุดอาการดังกล่าวได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
  3. การผ่าตัด
    เช่นเดียวกันกับการฉีดโบท็อกซ์ซึ่งจะใช้กับผู้ที่ป่วยเป็นแบบเรื้อรัง โดยเป็นการผ่าตัดกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่อยู่ในเปลือกตออก แต่เป็นวิธีที่ไม่ได้รับความนิยมในการรักษา
  4. การฝังเข็ม
    การรักษาอาการตากระตุกสามารถใช้การฝังเข็มเป็นตัวช่วยได้ แต่จะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญในการฝังเข็มเท่านั้น การรักษาอาการตากระตุกด้วยการฝังเข็มนี้จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตาได้

การรักษาด้วยตนเอง

  1. การประคบ
    เมื่อเกิดอาการตากระตุก การเลือกประคบร้อนและประคบเย็นสามารถที่จะช่วยบรรเทาอาการตากระตุกได้ โดยเริ่มแรกให้เลือกจากประคบอุ่นก่อน แล้วก่อนนอนให้ประคบเย็นโดยให้ทำทีละข้างที่เกิดอาการ และใช้ระยะเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น
  2. การนวด
    เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผู้เป็นโรคตากระตุกสามารถทำได้ด้วยตนเองโดยใช้การนวดกดจุด วิธีนวดเริ่มจากนวดเป็นวงกลมไปบริเวณรอบดวงตาโดยใช้แค่หัวแม่มือในการนวดเท่านั้น เพียงเท่านี้ก็จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตาได้มากขึ้นแล้ว

วิธีป้องกันโรคตากระตุก

ไม่มีวิธีป้องกันอาการตากระตุกที่ได้ผลแบบแน่นอน เพราะหลายครั้งอาการตากระตุกมักเกิดขึ้นเองโดยที่เราไม่ทันตัว และส่วนมากก็มักจะหายไปได้เองอีกด้วย นอกจากผู้ที่เป็นแบบเรื้อรังที่มักจะเป็นระยะยาว 

ทางที่ดีที่สุดแนะนำให้หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเอง โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ลดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพื่อช่วยลดการกระตุ้นความเครียดให้เกิดขึ้น

วิธีดูแลตนเอง เมื่อเป็นโรคตากระตุก

โรคตากระตุกสามารถที่จะดูแลตัวเองได้ง่ายๆ ซึ่งมีหลายวิธีที่สามารถนำมาใช้ โดยทำได้ดังนี้

  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ โดยควรนอนหลับพักผ่อนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
  • จำกัดระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ และก่อนเข้านอนก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว
  • จำกัดปริมาณคาเฟอีน และแอลกอฮอล์
  • พยายามกำจัดความเครียด โดยใช้กิจกรรมผ่อนคลาย เช่น เล่นโยคะ นั่งสมาธิ ออกกำลังกาย 

ตากระตุกแม้เป็นอาการที่ไม่อันตราย แต่ก็สามารถสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เป็นได้มากพอสมควร แนะนำให้พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการตากระตุก เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการดังกล่าวได้มากขึ้นแล้ว

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพตา เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Burt Dubow, OD, Eye twitching: 8 causes and remedies
Alana Biggers, MD, MPH, Everything you need to know about eyelid twitch

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป