สุนัขตาฟางเป็นอย่างไร รักษาได้หรือไม่?

อาการตาฟางในสุนัข สามารถพบได้ในสุนัขที่มีอายุ 6-7 ปีขึ้นไป หากพาไปพบสัตวแพทย์เร็ว ก็มีโอกาสรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติได้
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สุนัขตาฟางเป็นอย่างไร รักษาได้หรือไม่?

อาการตาฟาง คือ การที่ดวงตาไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน สำหรับคนคงไม่ยากที่จะบอกว่ามองไม่เห็น หรือเห็นไม่ชัด แต่หากเป็นน้องหมาจะสามารถสังเกตได้อย่างไร

อาการที่เจ้าของสามารถเห็นได้ภายนอก อาจเป็นอาการตามัว ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เป็นผลที่ตามมาจากการเกิดแผลหลุมที่กระจกตา (Corneal Ulcer) ม่านตาส่วนหน้าอักเสบ (Anterior Uveitis) ต้อกระจก (Cataract) ต้อหิน (Glaucoma) หรืออาจเป็นเพียงเลนส์ตาขุ่นตามอายุ (Lenticular Sclerosis, Nuclear Sclerosis) ซึ่งการจะวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงของอาการที่เกิดขึ้น ต้องอาศัยการตรวจของสัตวแพทย์เท่านั้น และจะสามารถรักษาได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับต้นเหตุของปัญหา ซึ่งหากวินิจฉัยได้เร็ว ย่อมมีโอกาสที่จะตอบสนองต่อการรักษาได้ดีกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายของสุนัขก็จะเริ่มเสื่อมไม่ต่างกับมนุษย์ โดยสิ่งสามารถเห็นได้ชัดคือปัญหาเรื่องสายตา ซึ่งสุนัขบางตัวอาจจะตาฟาง มองเห็นได้ไม่ชัดเจน ขณะที่บางตัวอาจถึงขั้นตาบอด จึงมักจะทำให้เกิดอุบัติเหตุให้เจ้าของได้กังวลใจอยู่เสมอ

นอกจากเรื่องของอายุที่มากขึ้นแล้ว การเจ็บป่วยของสุนัขในบางโรค ก็สามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางสายตาได้เช่นกัน ซึ่งจะต้องมีการรักษาที่แตกต่างกันไปตามสาเหตุของอาการ เพื่อบรรเทาความผิดปกติที่เกิดขึ้น และช่วยให้สุนัขสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้เช่นเดิม

กรณีที่อาการตาฟางเกิดจากการเสื่อมหรือเลนส์ตาขุ่นตามอายุ จะสามารถพบได้ตั้งแต่น้องหมาอายุ 6-7 ปี มักพบอาการที่ตาทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน  ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะ ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจติดตามเพื่อเฝ้าระวังการเกิดต้อกระจก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของน้องหมาได้มากกว่าการเกิดเลนส์ตาขุ่นตามอายุ 

สาเหตุที่ทำให้สุนัขมีอาการตาฟาง

มีหลายสาเหตุที่ทำให้สุนัขตาฟาง ได้แก่

  • อายุที่มากขึ้น ปกติแล้วอายุขัยของสุนัขจะอยู่ที่ 10-13 ปี แต่ความเสื่อมของร่างกาย โดยเฉพาะดวงตา จะเริ่มที่อายุ 6-7 ปีขึ้นไป การเกิดเลนส์ตาขุ่นตามอายุ จะทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงอย่างช้าๆ แต่ลักษณะภายนอกจะดูคล้ายกับการเกิดต้อกระจก แต่ต้อกระจกอาจทำให้เกิดตาบอดได้หากไม่รีบรักษา 
  • อาการตามสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์หน้าสั้น (brachycephalic breed) เช่น ชิสุ (Shih-Tzu) บูลด็อก (Bulldog) หรือปั๊ก (Pug) จะมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุกับดวงตาได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 
  • โรคบางชนิด โรคบางอย่างก็ก่อให้เกิดอาการตาฟางได้ เช่น เบาหวาน (ทำให้เกิดต้อกระจก) โรคเส้นประสาทตาอักเสบ โรคจอประสาทตาเสื่อมเฉียบพลัน และโรคจอประสาทตาหลุดลอก โดยอาการที่ร้ายแรงที่สุด คือการทำให้สุนัขสูญเสียการมองเห็นถาวร

อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาพาสุนัขไปพบแพทย์

อาการภายนอกที่เจ้าของสามารถสังเกตเห็นได้ เช่น เคืองตา เจ็บตา กระพริบตาบ่อยๆ (ข้างเดียว) ใช้ขาหน้าเขี่ยตา เยื่อตาขาวแดง ตามัว กระจกตาเป็นฝ้าขาว หรือกระจกตาดูคล้ายเป็นสีฟ้า (blue eye) ตาแห้ง ตาแฉะ หรือขี้ตาเยอะ ล้วนเป็นความผิดปกติที่จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างเร่งด่วนจากสัตวแพทย์ หรือหากพบอาการเดินชนสิ่งของต่างๆ จนได้รับบาดเจ็บอยู่บ่อยๆ (โดยที่ไม่ได้เกิดจากความซนของน้องหมา) อาจสันนิษฐานได้ว่าน้องหมามีปัญหาเรื่องการมองเห็น เพราะโดยสัญชาตญาณแล้ว สุนัขจะไม่วิ่ง หรือเดินชนสิ่งของให้ตัวเองบาดเจ็บ เว้นแต่จะมองเห็นได้ไม่ชัดเจนเหมือนเดิม

เบื้องต้นสามารถทดสอบการมองเห็นได้โดยการเอาสิ่งของมาวางล่อใกล้ดวงตา หรือให้สุนัขเดินหลบสิ่งของที่เอามาวางเป็นสิ่งกีดขวางไว้

แนวทางการรักษาของสัตวแพทย์

สัตวแพทย์จะตรวจอาการผิดปกติของสุนัข เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงก่อน เช่น การวัดระดับน้ำตา (เพื่อวินิจฉัยภาวะตาแห้ง) การย้อมสีกระจกตา (เพื่อวินิจฉัยการเกิดแผลหลุมที่กระจกตา ซึ่งมักเกิดจากการเกา เขี่ยตา เอาหน้าไถพื้น หรือถูกข่วน) การใช้กล้องส่องตรวจตา การวัดความดันตา เป็นต้น 

ตัวช่วยสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการรักษาโรคตา คือ คอลล่าร์ หรือปลอกคอกันเลีย ซึ่งต้องใส่ไว้ตลอดจนกว่าจะหายเป็นปกติ ทั้งนี้เพื่อป้องกันดวงตาจากการเกา เขี่ย หรือเอาหน้าไปถูกับสิ่งของอื่นๆ ระหว่างการรักษา ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาแผลหลุมที่กระจกตา หรือเกิดความเสียหายต่อดวงตารุนแรงมากขึ้น  นอกจากปลอกคอกันเลียที่เป็นตัวช่วยแล้ว ก็จะเป็นยาหยอดตา หรือยาป้ายตา ที่เหมาะสมกับโรคนั้นๆ 

แต่ถ้าหากเกิดความผิดปกติอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อดวงตา เช่น การฉีกขาดในดวงตาที่อาจเกิดจากโรคมะเร็ง การเป็นโรคต้อที่มาพร้อมกับความดัน หรือพบร่องรอยสีเหลืองในดวงตาที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของตับและเม็ดเลือดแดง ก็จะต้องรักษาตามสาเหตุของโรคต่อไป


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
เมทิตา สัสดี, วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี, กุญแจสู่ความสำเร็จในการตรวจตาในสุนัขและแมว (http://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jahst/article/view/1530), พฤศจิกายน 2560
Tammy Hunter and Ernest Ward, Lenticular sclerosis in dogs (https://vcahospitals.com/know-your-pet/lenticular-sclerosis-in-dogs)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
7 สาเหตุของอาการตาบวม
7 สาเหตุของอาการตาบวม

รวมสาเหตุที่ทำให้ตาบวม แบบไหนอันตราย แบบไหนรักษาเองได้ หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคม่านตาอักเสบ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคม่านตาอักเสบ

ม่านตาอักเสบเกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไรและมีวิธีรักษาอะไรบ้าง

อ่านเพิ่ม