เภสัชกรรีวิว: เปรียบเทียบยาคุมกำเนิดเอ็กซ์ลูตอน และอีนาฟ-150

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เภสัชกรรีวิว: เปรียบเทียบยาคุมกำเนิดเอ็กซ์ลูตอน และอีนาฟ-150

จากที่เคยมีการเปรียบเทียบยาเม็ดคุมกำเนิดยี่ห้อซีราเซทกับยาฉีดคุมกำเนิดยี่ห้ออีนาฟ-150 ซึ่งเป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวกันไปแล้ว วันนี้ขอนำเอายาเม็ดคุมกำเนิดยี่ห้อเอ็กซ์ลูตอนมาเปรียบเทียบกับอีนาฟ-150 บ้างค่ะ ลองมาดูกันซิว่า ผลการเปรียบเทียบจะแตกต่างจากเดิมหรือไม่

  • รูปแบบและวิธีการใช้

    ยาแต่ละเม็ด มีตัวยา

    Lynestrenol 0.5 มิลลิกรัม

    ยาแต่ละขวด มีตัวยา

    Medroxyprogesterone acetate 150 มิลลิกรัม

    ยาคุมเอ็กซ์ลูตอนแต่ละแผง จะประกอบด้วยเม็ดยาจำนวน 28 เม็ด ซึ่งแต่ละเม็ดจะมีตัวยาฮอร์โมน Lynestrenol 0.5 มิลลิกรัมเหมือนกันทุกเม็ดนะคะ ผู้ใช้ต้องรับประทานวันละ 1 เม็ดต่อเนื่องกันทุกวัน และต้องรับประทานตรงเวลาสม่ำเสมอ เพราะการรับประทานช้ากว่าเวลาปกติเกิน 3 ชั่วโมงจะทำให้ไม่มีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องค่ะ

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

    ยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวจะไม่มีเม็ดแป้งหรือช่วงเว้นว่างให้ประจำเดือนมานะคะ เมื่อรับประทานหมดแผงแล้วก็ให้ต่อยาคุมแผงใหม่ได้เลย

    ส่วนอีนาฟ-150 จะต้องมีการฉีดยาตามรอบทุก ๆ 3 เดือน ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) หรือ 13 สัปดาห์ ตามแนวทางของศูนย์ควบคุมโรค ประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC)

    เมื่อพิจารณาเรื่องของความสะดวกในการใช้ อีนาฟ-150 จึงเหนือกว่าเอ็กซ์ลูตอนมาก เพราะสามารถบริหารเพียง 1 ครั้งทุก ๆ 3 เดือน

  • ประสิทธิภาพ

    มีโอกาสตั้งครรภ์ 0.3 – 9%

    มีโอกาสตั้งครรภ์ 0.2 – 6%

    แม้จะเป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวเหมือนกัน แต่ยาคุมชนิดฉีดมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดมากกว่า และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดทางเทคนิคหรือการใช้ได้น้อยกว่ายาคุมชนิดเม็ดค่ะ

     ดังนั้น ถ้ามีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นเดียวกัน ผู้ที่ฉีดคุมกำเนิดอีนาฟ-150 จะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าผู้ที่รับประทานยาคุมเอ็กซ์ลูตอนนะคะ

  • ผลข้างเคียง

    • เลือดกะปริบกะปรอย ประจำเดือนไม่ปกติ หรือไม่มีประจำเดือน : พบมาก
    • สิว หน้ามัน ขนดก : พบปานกลาง
    • ปวดศีรษะ คัดตึงเต้านม น้ำหนักเพิ่ม
    • เลือดกะปริบกะปรอย ประจำเดือนไม่ปกติ หรือไม่มีประจำเดือน : พบมาก
    • สิว หน้ามัน ขนดก : พบน้อย
    • ปวดศีรษะ น้ำหนักเพิ่ม ซึมเศร้า
    • ภาวะกระดูกบาง (ชั่วคราว)
    • กลับมามีไข่ตกได้ช้าหลังหยุดใช้

    ผลข้างเคียงเกี่ยวกับการมีเลือดกะปริบกะปรอย, ประจำเดือนไม่ปกติ หรือไม่มีประจำเดือน ถือเป็นผลข้างเคียงเด่นของยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว จึงพบได้กับทั้งผู้ใช้เอ็กซ์ลูตอนและอีนาฟ-150 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบระยะเวลาการใช้เท่า ๆ กัน จะพบภาวะขาดประจำเดือนในผู้ใช้อีนาฟ-150 ได้มากกว่าเอ็กซ์ลูตอนนะคะ

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    แต่โปรเจสตินในยาคุมเอ็กซ์ลูตอนมีผลแอนโดรเจนปานกลาง จึงมีผลข้างเคียงในเรื่องสิว หน้ามัน และขนดก ได้มากกว่ายาคุมอีนาฟ-150 ที่โปรเจสตินมีผลแอนโดรเจนต่ำกว่าค่ะ

    อาจพบอาการปวดศีรษะและการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักได้ในผู้ใช้ยาคุมทั้ง 2 กลุ่ม แต่มักไม่รุนแรง

    และแม้ว่าการฉีดยาคุมชนิด 3 เดือนอาจส่งผลให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง แต่ก็สามารถเพิ่มกลับมาเป็นปกติได้หลังหยุดใช้ โดยไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะกระดูกพรุนในอนาคต

    แต่หลังจากที่หยุดฉีดยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว มักจะใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะกลับมามีไข่ตกตามปกติ ดังนั้น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดต่อในระยะเวลาสั้น ๆ หรือวางแผนจะมีบุตรภายใน ½ - 1 ปีข้างหน้า

  • ราคา

    แผงละ 0 - 150 บาท

    เข็มละ 0 - 300 บาท (รวมค่าฉีด)

     ที่เห็นว่ามีราคาเริ่มต้นที่ 0 บาท เนื่องจากยาทั้งคู่ (แต่อาจใช้ยี่ห้ออื่นที่มีตัวยาเดียวกัน) จัดอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ดังนั้น หากไปรับบริการที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์การรักษาในหลักประกันสุขภาพ ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายนั่นเองค่ะ

    ในกรณีที่ไปซื้อเอ็กซ์ลูตอนมาใช้เอง จะมีราคาประมาณแผงละ 110 – 150 บาท และถ้าไปฉีดอีนาฟ-150 ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน ก็จะมีค่าใช้จ่ายของค่ายาและค่าบริการฉีดรวมเป็น 100 – 300 บาทค่ะ    

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

    เมื่อเทียบการรับบริการตามสิทธิ์และการจ่ายเองของแต่ละวิธี จึงไม่แตกต่างกันมากค่ะ

    เมื่อเปรียบเทียบระหว่างยาฉีดคุมกำเนิดชนิด 3 เดือนอย่างอีนาฟ-150 และยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างเอ็กซ์ลูตอน จะเห็นได้ว่าข้อเสียเด่น ๆ ของเอ็กซ์ลูตอนคือเรื่องความไม่สะดวกในการใช้ เนื่องจากต้องบริหารยาทุกวัน และต้องรับประทานให้ตรงเวลาอย่างเคร่งครัด

    ส่วนข้อเสียเด่น ๆ ของอีนาฟ-150 ก็คือการที่มักจะใช้เวลานานหลายเดือนหลังจากหยุดฉีดยา กว่าที่จะมีไข่ตกตามปกติและพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์

    ดังนั้น ผู้ใช้จึงควรพิจารณาจากความต้องการ เช่น หากมีปัญหาลืมรับประทานยาบ่อย ๆ การใช้ยาฉีดก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ถ้าเตรียมจะมีบุตรในอีก ½ - 1 ปีข้างหน้า การใช้ยาเม็ดรับประทานก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่านะคะ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Comparison of efficacy and effectiveness between ULTRACET and tramadol/acetaminophen in acute postoperative pain after upper extremity surgery. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20649061)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการก่อนเป็นประจําเดือน
อาการก่อนเป็นประจําเดือน

อย่าด่วนตัดสินว่า ขี้เหวี่ยง ขี้วีน ขี้กังวล ร้องไห้ง่าย คือนิสัยของผู้หญิง แท้ที่จริงอาจมาจากพีเอ็มเอสก็ได้

อ่านเพิ่ม
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)

เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ทำอย่างไรให้ "วันนั้นของเดือน" ไม่ใช่วันทุกข์อีกต่อไป

อ่านเพิ่ม