กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Mania (ภาวะมาเนีย)

เผยแพร่ครั้งแรก 9 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

อาการร่าเริง อารมณ์ดีผิดปกติ หรือภาวะมาเนีย (Mania) คือ ภาวะทางจิตวิทยาที่ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม (Euphoria) มีความอยู่ไม่สุข (Hyperactivity) และหลงผิด (Delusions) อย่างหาสาเหตุไม่ได้ 

ภาวะนี้จัดเป็นอาการทั่วไปของโรคอารมณ์สองขั้ว หรือโรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความรู้สึกอารมณ์ดีผิดปกติอาจจัดเป็นภาวะอันตราย เพราะขณะที่มีอาการกำเริบผู้ป่วยอาจไม่สามารถนอน หรือรับประทานอาหารได้ตามปกติ และมีโอกาสที่จะทำพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น การทำร้ายตนเอง เพราะอาจมองเห็นภาพหลอน หรือเกิดความผิดปกติด้านการรับรู้ต่างๆ เช่น การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส เป็นต้น

อาการของภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ

ผู้ที่มีภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ หรือภาวะมาเนีย จะมีความรู้สึกตื่นเต้น เคลิบเคลิ้ม อยู่ไม่สุข  เห็นภาพหลอน หรือหลงผิด เนื่องจากรู้สึกว่า ตนเองมีพลังงานมากล้นจนทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานเร็วขึ้น รวมทั้งมีการนึกคิดและการพูดจาที่เร็วมาก 

จะทำให้นอนไม่หลับ หรือมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดน้อยลง และบางคนอาจแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา

นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนอาจมีความรู้สึกกลัว หรือวิตกกังวลรุนแรง และเมื่อไรก็ตามที่พลังงานเริ่มลดต่ำลง ผู้ป่วยก็อาจเปลี่ยนไปมีภาวะซึมเศร้าแทน

สาเหตุของภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะอารมณ์ดีมากผิดปกติขึ้น 
  • ปัญหาสุขภาพ บางคนก็มีแนวโน้มประสบกับภาวะนี้ได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ เนื่องจากภาวะสุขภาพ หรือโรคทางจิตต่างๆ เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism) 
  • สภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะอารมณ์ดีมากผิดปกติขึ้นมาได้ รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ได้แก่ การเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รัก ความเครียดด้านการเงิน และความเครียดจากความสัมพันธ์ 

การวินิจฉัยภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ

แพทย์ หรือจิตแพทย์ สามารถประเมินภาวะอารมณ์ดีผิดปกติในผู้ป่วยได้ด้วยการสอบถามอาการ การพูดคุย และการสังเกตอาการของผู้ป่วย

จากคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM) ได้ระบุเกณฑ์ที่ใช้วินิจฉัยภาวะมาเนียกำเริบไว้ว่า การกำเริบจะต้องกินระยะเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือน้อยกว่านั้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากผู้ป่วยกำลังอยู่ในโรงพยาบาล และจะต้องมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 3 อาการ ได้แก่

  • ถูกดึงความสนใจไปที่สิ่งอื่นได้ง่าย เนื่องจากมีสมาธิในการจดจ่อสั้นลง
  • มีพฤติกรรมเสี่ยง หรือหุนหันพลันแล่น (Impulsive) ซึ่งรวมไปถึงการใช้ชีวิตอย่างสุขล้น การลงทุนกับธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง หรือมีกิจกรรมทางเพศที่สุ่มเสี่ยง
  • มีการนึกคิดรวดเร็ว
  • มีการนอนหลับน้อยลง เนื่องจากรู้สึกตื่นตัวมาก
  • มีความนึกคิดแบบย้ำคิดย้ำทำ

การรักษาภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ

การใช้ยาเป็นแนวทางการรักษาภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ หรือภาวะมาเนียในขั้นตอนแรก โดยยาที่ใช้จะมีเป้าหมายเพื่อปรับสมดุลอารมณ์ของคนไข้ และลดความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองลง ซึ่งจะต้องจ่ายโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงเท่านั้น ยาที่ใช้มีดังนี้

  • ลิเทียม (Lithium) เช่น Cibalith-S, Eskalith หรือ Lithane
  • ยารักษาโรคจิต (Antipsychotics) เช่น Aripiprazole,  Olanzapine, Quetiapine หรือ Risperidone
  • ยาต้านชัก (Anticonvulsants) เช่น Alprazolam, Chlordiazepoxide, Clonazepam, Diazepam หรือ Lorazepam
  • ยากันชัก เช่น Valproic acid, Divalproex หรือ Lamotrigine
  • ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) เช่น Alprazolam, Chlordiazepoxide, Clonazepam, Diazepam หรือ Lorazepam

นอกจากการใช้ยาแล้ว ยังมีการรักษาด้วยการบำบัดทางจิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะอารมณ์ดีผิดปกติของตนเอง และยังเป็นการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับความเครียดของตนเองได้ดีมากขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ

การกำเริบของอาการอารมณ์ดีผิดปกติส่งผลลบต่อการใช้ชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับคนรอบข้าง รวมไปถึงการทำงานและการเรียน ซึ่งผู้ป่วยบางรายต้องถูกจัดให้อยู่ในโรงพยาบาลเมื่อมีอาการกำเริบ เพื่อปรับอารมณ์และป้องกันการทำร้ายตนเอง

หากไม่แน่ใจว่า อาการที่ตนเอง หรือคนใกล้ชิดเข้าข่ายภาวะอารมณ์ดีผิดปกติหรือไม่ แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา เพื่อขอคำปรึกษา รับการตรวจวินิจฉัย และหากมีภาวะนี้ จะได้ดำเนินการรักษาต่อไป  


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mania | Definition & Patient Education. Healthline. (https://www.healthline.com/health/mania#1)
Melissa Conrad Stöppler, MD, Euphoria (https://www.medicinenet.com/euphoria/symptoms.htm).
Smith, D., Ghaemi, S. (n.d.). Advances in psychiatric treatment. Hypomania in clinical practice. Retrieved December 3, 2013, from (http://apt.rcpsych.org/content/12/2/110.full)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไมเป็นความดันสูงฉีดยาคุมกำเนิดไม่ได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีปัญหาท้องอืดทุกวันพยายามรักษาแร้วไม่หายชะทีไม่ทราบว่าต้องรักษาอย่างไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
กินยา Ponstan ทุกเดือนเวลาประจำเดือนมาจะเป็นอันตรายมั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตอนนี้มีปัญหาเรื่องบาดเจ็บบริเวณหัวเข่าค่ะเราจะเล่นกีฬาประเภทไหนดีค่ะที่ไม่ส่งผลกระทบกับหัวเข่าซ้ายค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคเข่าเสื่อม นอกจากผ่าตัดแล้ว กินยามีสิทธิ์หายไหม อ้วนด้วยรับน้ำหนักไม่ไหว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คุณยายปวดขาปวดเข่ามากค่ะพอจะมีวิธีรักษาไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)