Escherichia coli (อีโคไล) O157

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Escherichia coli (อีโคไล) O157

Escherichia coli O157 หรือที่เรียกว่า VTEC เป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง ท้องร่วงเป็นเลือด และไตล้มเหลว

E. coli O157 ถูกพบในลำไส้และอุจจาระของสัตว์หลายประเภท โดยเฉพาะในปศุสัตว์ และมักติดมาจาก:

  • การรับประทานอาหารปนเปื้อนเชื้อ (อย่างเช่นการทานผักดิบหรือเนื้อที่ปรุงไม่สุก) ดังนั้นคุณควรล้างผักที่จะนำมาทานดิบทั้งหมด นอกจากว่าจะเป็นผักที่ถูกประทับฉลากว่า “พร้อมรับประทาน” อีกทั้งการล้างอาหารดิบเหล่านี้จะทำได้แค่ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อลง ไม่ได้มีเพื่อชะล้างความเสี่ยงต่อการติดเชื้อออกทั้งหมด
  • การสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อหรือบังเอิญไปสัมผัสกับอุจจาระของสัตว์เหล่านี้
  • สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะหากคุณไม่ล้างมือของคุณหลังจากใช้ห้องน้ำหรือหยิบจับอาหาร
  • การดื่มน้ำจากแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด
  • การว่ายน้ำหรือเล่นในแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ

อาการของการติดเชื้อ E. coli O157

อาการของ E. coli O157 มีทั้งท้องร่วง ปวดท้อง และบางครั้งอาจมีไข้สูง โดยเกือบครึ่งของผู้ป่วยที่พบจะมีท้องร่วงปนเลือดด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ผู้ป่วยมักจะสังเกตเห็นอาการหลังจากติดเชื้อสามถึงสี่วัน กระนั้นอาการก็สามารถเริ่มขึ้นได้ช่วงเวลาใดก็ได้ระหว่างวันแรกถึงวันที่ 14 และสามารถมีอาการได้ยาวนานถึงสองสัปดาห์
  • ผู้ป่วย E. coli O157 จำนวนน้อยจะเริ่มมีภาวะร้ายแรงหายากที่เรียกว่ากลุ่มอาการฮีโมไลติกยูเรมิก (haemolytic uraemic syndrome - HUS) ที่อาจทำให้ไตล้มเหลวและเสียชีวิตได้ ความเสี่ยงต่อ HUS จะสูงสุดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
  • ผู้ป่วยบางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้

การรักษาและดูแลที่บ้าน

ยังไม่มีวิธีรักษา E. coli O157 ผู้ป่วยมักสามารถรักษาตนเองได้ที่บ้าน และส่วนมากจะดีขึ้นเองโดยไม่ต้องรับการรักษาจากแพทย์

สิ่งที่ต้องทำคือการดื่มน้ำให้มาก ๆ เนื่องจากภาวะท้องร่วงสามารถทำให้เกิดภาวะขาดน้ำตามมาได้

คุณควรติดต่อแพทย์ทันทีหากว่าคุณหรือลูกของคุณเริ่มมีอาการถ่ายเหลวเป็นเลือด

การรักษาโรคติดเชื้อนี้จะไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ อีกทั้งก็ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้ท้องร่วงอย่างยาไอโอเพราไมด์ (อิโมเดียม) เพราะยาตัวนี้อาจทำให้ร่างกายของคุณต้องสารพิษนานขึ้น

วิธีการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ E. coli O157 ที่บ้าน

หลักการดูแลสุขอนามัยอย่างเคร่งครัดเป็นวิธีที่สามารถหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ E. coli O157 ที่มีประสิทธิภาพที่สุด

  • ล้างมือของคุณให้สะอาดหมดจดด้วยสบู่กับน้ำ และเช็ดมือให้แห้งสนิท พยายามใช้น้ำอุ่นกับสบู่เหลวจะดีที่สุด
  • ทุกคนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อต้องล้างมือให้สะอาด โดยเฉพาะหลังจากหยิบจับเสื้อผ้าหรือผ้าปูเตียงของผู้ป่วย
  • ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กทารกทุกครั้ง และล้างมือก่อนเตรียมอาหาร ก่อนเสิร์ฟอาหาร และก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง สำหรับผู้ติดเชื้อควรเลี่ยงการประกอบอาหารไปจนกว่าจะไม่มีอาการของโรคเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
  • ห้ามใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
  • แยกซักเสื้อผ้ากับผ้าปูเตียงของผู้ติดเชื้อจากผ้าอื่น และควรซักในอุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • เช็ดภายนอกของเครื่องซักผ้าด้วยน้ำร้อนและสารซักฟอกหลังจากซักผ้าเปื้อนเชื้อ และหลังจากหยิบจับเสื้อผ้าเหล่านี้คุณต้องล้างมือให้สะอาดด้วย
  • ทำความสะอาดที่รองนั่งชักโครก ด้ามบิดชักโครก ก๊อกน้ำ อ่างล้างหน้า และลูกบิดประตูห้องน้ำอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อวันด้วยน้ำร้อนและสารซักฟอก (แต่ก็ควรจะบ่อยครั้งกว่านี้)

คุณสามารถใช้สเปรย์ฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์เช็ดสุขภัณฑ์ต่าง ๆ ที่กล่าวไปข้างต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลิตภัณฑ์ฟอกผ้าขาวตามบ้านเรือนมีประสิทธิภาพมาก โดยการเจือจางสารฟอกขาวหนึ่งส่วนต่อน้ำสิบส่วนสำหรับเช็ดทำความสะอาดสิ่งของต่าง ๆ และสารฟอกขาวหนึ่งส่วนต่อน้ำอีกทุก ๆ 100 ส่วนสำหรับเช็ดพื้น คุณสามารถใช้ถุงมือยางและผ้าแบบใช้แล้วทิ้งในการทำความสะอาดได้

กำจัดผ้าที่ไม่ต้องการในถุงพลาสติกที่ปิดผนึกแน่นหนาก่อนใส่ลงถังขยะ ทำความสะอาดถุงมือยางในน้ำร้อนและสารซักฟอกหลังใช้ และล้างออกและปล่อยให้ถุงมือแห้ง

ทำความสะอาดอุจจาระที่เรี่ยราดออกทันทีด้วยน้ำร้อนกับสารซักฟอกในขณะที่สวมถุงมือยาง หลังใช้ก็ทำความสะอาดถุงมือตามที่กล่าวไปข้างต้น

การกลับไปโรงเรียนหรือไปทำงาน

ผู้ที่เคยป่วยจากการติดเชื้อ E. coli O157 ควรหยุดไปทำงานหรือไปโรงเรียนจนกว่าจะปลอดอาการต่าง ๆ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง

ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่สามารถแพร่เชื้อได้หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ แม้ว่าบางคน (โดยเฉพาะเด็ก) อาจมีเชื้อ E. coli O157 ในร่างกายต่อไปอีกหลายเดือนแม้จะไม่มีอาการใด ๆ ก็ตาม

ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารีบการดูแลเป็นพิเศษก่อนกลับไปทำงานหรือไปโรงเรียน เช่น:

ผู้ที่ทำงานในสายงานสุขภาพหรือสังคม หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการหยิบจับอาหาร คุณควรสอบถามกับผู้มีอำนาจในเรื่องสภาพแวดล้อมกับสุขภาพถึงความปลอดภัยที่คุณสามารถกลับไปทำงานได้ คำแนะนำนี้จะมีผลกับทั้งผู้ที่ติดเชื้อและผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ

หากลูกของคุณติดเชื้อ E. coli O157 หรืออาศัยร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ คุณควรสอบถามกับแพทย์ถึงความปลอดภัยที่จะให้เด็กกลับไปโรงเรียนก่อน

เด็กที่อายุต่ำกว่าห้าปีที่เคยติดเชื้อ E. coli O157 ไม่ควรว่ายน้ำในสระว่ายน้ำสาธารณะ หรือใช้สระยางร่วมกับผู้อื่นจนกว่าผลการทดสอบร่างกายจะแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่มีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อแก่ผู้อื่นแล้ว


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
E. coli infection: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/68511)
E. coli (Escherichia coli) | E. coli. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/ecoli/index.html)
E. Coli Bacteria Infection: Symptoms, Treatment, Causes & Prevention. WebMD. (https://www.webmd.com/food-recipes/food-poisoning/what-is-e-coli)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป