กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

5 สิ่งที่ควรรู้ หากคิดจะแช่แข็งไข่ (Egg Freezing)

5 สิ่งที่ควรรู้ของการแช่แข็งไข่ อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่วางแผนจะมีบุตรในอนาคต
เผยแพร่ครั้งแรก 6 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
5 สิ่งที่ควรรู้ หากคิดจะแช่แข็งไข่ (Egg Freezing)

การมีบุตรถือเป็นความใฝ่ฝันของผู้หญิงหลายคน แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างอาจทำให้ยังไม่สามารถมีบุตรในช่วงเวลาเจริญพันธุ์ได้ เช่น ยังไม่ได้แต่งงาน ไปศึกษา หรือทำงานที่ต่างประเทศ เมื่อพร้อมที่จะมีบุตรก็อาจจะพบว่าตัวเองมีอายุมากจนทำให้มีบุตรยากแล้ว

ด้วยเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ในปัจจุบัน จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยการแช่แข็งเซลล?ไข่ (Egg Freezing) เมื่อพร้อมมีบุตรก็แค่เอาเซลล์ไปละลายก็ใช้งานได้ทันที แต่ก่อนที่จะดำเนินการแช่แข็งไข่นั้น ก็มีเรื่องที่ควรรู้ก่อนดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ควรแช่แข็งไข่เมื่ออยู่ในวัยเจริญพันธุ์

มีการค้นพบว่าอัตราการเกิด (Birth rates) จะมีมากที่สุด เมื่อผู้หญิงนำไข่ไปแช่แข็งก่อนอายุ 30 ปี แต่อายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่แช่แข็งไข่ในปัจจุบัน คือประมาณ 37 ปี จึงอาจทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร

แม้การแช่แข็งไข่ตั้งแต่อายุ 20-30 ปี จะทำให้โอกาสในการมีบุตรประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่หลายคนก็ลังเลที่จะแช่แข็งไข่ตั้งแต่ตอนนี้ เพราะไม่รู้ว่าจะได้ใช้ในอนาคตหรือไม่ เนื่องจากคุณอาจตั้งครรภ์ได้เองโดยธรรมชาติ ซึ่งอาจจะเสียเงินโดยไม่จำเป็น ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงที่มาทำการแช่แข็งไข่ จึงมักมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ซึ่งพ้นวัยเจริญพันธุ์ไปแล้ว

สถานพยาบาลแต่ละแห่งมีประสบการณ์ไม่เท่ากัน

หากคิดจะแช่แข็งไข่ ให้เลือกใช้บริการกับสถานพยาบาลที่มีประสบการณ์มาก โดยวัดจากอัตราความสำเร็จในการแช่แข็งไข่จากข้อมูลของสถานพยาบาลโดยตรง และเปรียบเทียบกับสถานพยาบาลแห่งอื่นๆ ก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันข้อมูล หรือตัวเลขเฉลี่ยที่ได้จากแหล่งอื่น

อัตราความสำเร็จที่ควรขอดู คือช่วงอายุ เพราะความเป็นไปได้ที่คุณจะตั้งครรภ์จากไข่ที่เก็บตั้งแต่อายุ 32 ปี จะต่างกันมากกับความเป็นไปได้ที่คุณจะตั้งครรภ์จากไข่ที่เก็บตอนอายุ 39 ปี ถ้าหากตัวเลขไม่ต่างกัน แปลว่าข้อมูลที่ได้รับอาจไม่เป็นความจริง

ในระหว่างกระบวนการเก็บไข่ มีโอกาสที่ไข่จะสูญหายได้

ยิ่งคุณแช่แข็งไข่มากเท่าไร โอกาสที่คุณจะมีลูกในอนาคตก็จะยิ่งสูงมากขึ้น หากไข่ยังมีคุณภาพดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับอายุของผู้หญิงที่มาแช่แข็งไข่ ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาบางแห่งได้ระบุว่า การทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์สูงขึ้น 75% จากผู้หญิงที่อายุต่างกัน มีเงื่อนไขที่จะประสบความสำเร็จเหมือนกัน คือ

  • ผู้หญิงที่มีอายุ 34 ปี จำเป็นต้องแช่แข็งไข่ 10 ฟอง
  • ผู้หญิงที่มีอายุ 37 ปี จำเป็นต้องแช่แข็งไข่ 20 ฟอง
  • ผู้หญิงที่มีอายุ 42 ปี จำเป็นต้องแช่แข็งไข่ 61 ฟอง

การแช่แข็งไข่นั้น ไม่ได้หมายความว่าไข่จะอยู่อย่างครบถ้วนตลอดช่วงกระบวนการแช่แข็งไข่ ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่มีอายุ 36 ปี สามารถผลิตไข่ได้ 15 ฟองเมื่อมีการกระตุ้น แต่ไข่บางฟองอาจยังไม่สมบูรณ์และไม่เหมาะสำหรับนำมาแช่แข็ง หรืออาจไม่ไปถึงระยะที่ตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อจบกระบวนการอาจมีเพียง 4 เอมบริโอที่ปฏิสนธิได้ โดยอัตราการเกิดจากไข่ที่ถูกแช่แข็งต่อ 1 เอมบริโอคือประมาณ 19% ซึ่งหมายความว่ามีโอกาสที่จะไม่ประสบความสำเร็จ

คุณอาจต้องถูกเก็บไข่และแช่แข็งไข่หลายครั้ง

มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การแช่ไข่ประมาณ 15 ฟองอาจทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ในอนาคต แต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเก็บไข่ได้ 15 ฟองในครั้งเดียวหลังจากที่ทำทรีทเมนต์ 1 รอบ การเก็บไข่ขึ้นอยู่กับอายุของผู้หญิงตอนที่มีการเก็บไข่ จำนวนไข่ที่เหลือในรังไข่ และการตอบสนองต่อการกระตุ้น

วิธีนี้อาจไม่ได้ผลเลย

20% ของผู้หญิงที่แช่แข็งไข่ตอนอายุ 36 ปีสามารถตั้งครรภ์ได้จากไข่ที่ถูกแช่แข็งที่ถูกเก็บตั้งแต่อายุน้อย แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่จะประสบภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์และตอนคลอด มากกว่าผู้หญิงที่มีบุตรตอนอายุน้อย

ที่มาของข้อมูล

Kylie Baldwin, Six things you should know if you are considering freezing your eggs (https://theconversation.com/six-things-you-should-know-if-you-are-considering-freezing-your-eggs-94039), 3 April 2018


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Paulson R. In vitro fertilization. https://www.uptodate.com/contents/search.
Busso CE, et al. Prevention of ovarian hyperstimulation syndrome. https://www.uptodate.com/contents/search.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)