กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ผลของวิตามินซีต่อภาวะข้ออักเสบ

จากการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างระหว่างโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) กับโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผลของวิตามินซีต่อภาวะข้ออักเสบ

คุณรับประทานผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีมากเพียงพอหรือเปล่า? จำเป็นจะต้องทานวิตามินซีเสริมหรือไม่? วิตามินซีมีผลอย่างไรต่อโรคข้ออักเสบ?

วิตามินซีกับโรคข้ออักเสบ

มีการศึกษาหนึ่งที่พบว่า วิตามินซีสามารถช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบและอาการของโรค ในขณะที่อีกการศึกษาหนึ่งกลับพบว่าวิตามินซีอาจทำให้โรคข้ออักเสบรุนแรงขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เหตุผลที่ทำให้เกิดความแตกต่างดังกล่าวนั่น ก็เป็นเพราะว่าการศึกษา 2 ชิ้นนี้ศึกษาในโรคข้ออักเสบที่ต่างกันซึ่งก็คือ โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) กับโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) ซึ่งมีกระบวนการในการเกิดโรคที่ต่างกัน

วิตามินซีกับโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis)

 โรคข้อเสื่อม เป็นอาการของข้อที่ค่อย ๆ เสื่อมลง และจากการศึกษาในปี 2004 ในวารสารโรคข้อและรูห์มาติซึ่ม (Arthritis&Rheumatism) พบว่าการใช้วิตามินซีในระยะยาวอาจทำไห้โรคข้อเสื่อมที่เข่าแย่ลง โดยนักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการให้วิตามินปริมาณต่างกันในหมูเป็นระยะเวลา 8 เดือน ซึ่งหมูที่ใช้ในการทดลองนี้ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีได้เช่นเดียวกับมนุษย์

จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้วิตามินปริมาณสูงจะเกิดโรคข้อเสื่อมที่เข่าและมีการทำลายกระดูกอ่อนรุนแรงที่สุด นักวิจัยจึงสรุปว่า ไม่ควรรับประทานวิตามินซีเกินกว่าปริมาณที่แนะนำในปัจจุบันซึ่งก็คือ

  • 90 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ชาย
  • 75 มิลลิกรัมต่อวันในผู้หญิง

วิตามินซีกับโรคข้ออักเสบแบบรูห์มาติก (Rheumatoid arthritis)

โรคข้ออักเสบแบบรูห์มาติก (Rheumatoid arthritis) เป็นโรคทางระบบภูมิคุ้มกันซึ่งทำให้เกิดการอักเสบภายในข้อ นำไปสู่การทำลายข้อและทำให้ข้อผิดรูป

มีรายงานในวารสารประจำปีของโรครูห์มาติก (Annals of the rheumatic disease) ที่ระบุว่าการรับประทานวิตามินซีช่วยป้องกันการอักเสบในหลาย ๆ ข้อของร่างการ (inflammatory polyarthritis) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของโรคข้ออักเสบแบบรูห์มาติกที่เกิดขึ้นในหลายข้อ โดยการศึกษานี้ศึกษาจากประชากร 23,000 คนในศูนย์โรคมะเร็ง ประเทศสหราชอาณาจักร ทำการศึกษาโดยให้ผู้ร่วมวิจัยจดบันทึกอาหารที่กิน และขณะนั้นไม่ได้ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบแบบรูห์มาติก

นักวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบการรับประทานอาหารของผู้ร่วมวิจัยจำนวน 73 คนที่เป็นโรคข้ออักเสบแบบรูห์มาติกใน 8 ปี กับผู้ร่วมวิจัยอีก 146 คนที่ไม่เป็นโรค และสามารถสรุปว่าคนที่เป็นโรคนั้นรับประทานผักและผลไม้ปริมาณน้อยกว่าคนที่ไม่เป็น และผู้ร่วมวิจัยที่รับประทานผักและผลไม้น้อยที่สุดมีความเสี่ยงในการเกิด inflammatory arthritis สูงขึ้น 2 เท่า

มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างปริมาณวิตามินซีที่รับประทานกับการเกิดโรคข้ออักเสบ ผู้ร่วมวิจัยที่รับประทานวิตามินซีปริมาณน้อยที่สุด มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้ออักเสบมากกว่าคนที่รับประทานวิตามินซีในปริมาณมากที่สุดถึง 3 เท่า

ผลดีของวิตามินซีต่อการเกิดโรคข้ออักเสบแบบรูห์มาติก อาจมีเหตุผลจาก

  • วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยม ซึ่งสามารถทำลายสารที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบรูห์มาติกได้
  • วิตามินซี มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนหลักในเนื้อเยื่อของข้อและกระดูก
  • วิตามินซี มีบทบาทในการต่อสู้กับการติดเชื้อและอาจช่วยควบคุมการอักเสบซึ่งสัมพันธ์กับกาวติดเชื้อ
  • บางคนเชื่อว่าการติดเชื้อกระตุ้นให้โรคข้ออักเสบแบบรูห์มาติกกำเริบ

สรุปวิตามินซีกับโรคข้ออักเสบ

แนะนำให้รับประทานวิตามินซีในปริมาณปานกลาง เพื่อช่วยคงสภาพของกระดูกและข้อ โดยแนะนำให้รับประทานผักและผลไม้ตามปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน และการรับประทานวิตามินซีที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาได้


38 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Effects of Vitamin C on Arthritis. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/the-effects-of-vitamin-c-on-arthritis-190257)
The effects of vitamin C supplementation on incident and progressive knee osteoarthritis: a longitudinal study. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20707943)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)