กินป้องกันโรคหัวใจ

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กินป้องกันโรคหัวใจ

โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆในหลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศไทย แต่เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการค้นหาความเสี่ยง ปรับเปลี่ยนนิสัยการบริโภคและวิถีการดำเนินชีวิต

ผู้ที่มีเบาหวานหรือเบาหวานแฝงเท่ากับเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจหรือเส้นเลือดสมองตีบ วิธีที่จะลดความเสี่ยงคือดูแลระดับน้ำตาล ความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เสมอจะทำลายเส้นประสาทและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในคนที่เป็นเบาหวานนำไปสู่การสูญเสียสายตา ไตวาย และการถูกตัดนิ้วตัดเท้า

ตัวเลขควรรู้เกี่ยวกับหัวใจ

  • ปริมาณเลือดที่หัวใจต้องสูบฉีดตลอดชีวิตเฉลี่ยใน 1 ปี ประมาณ 1,000,000 บาร์เรล [= 1,000,000 x 159 (1 บาร์เรล = ~159 ลิตร) = 159,000,000 ล้านลิตร]
  • หัวใจคนเราเต้นประมาณ 3,000,000 ครั้งใน 1 ปี
  • หัวใจของคนอายุ 70 ปี เต้นมาทั้งหมด 2.5 พันล้านครั้ง
  • ถ้านำเส้นเลือดในร่างกายทั้งหมดมาเหยียดออกจะมีความยาวประมาณ 60,000 ไมล์ [60,000 x 1.6 (1 ไมล์  = ~ 96,000 กิโลเมตร]
  • ทั่วโลกมีคนตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจรวมทั้งเส้นเลือดในสมองแตกประมาณ 12 ล้านคนต่อปี

คุณมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ ลองประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้

1. อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไปและผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น มากกว่า 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปควรตรวจระดับไขมันในเลือดอย่างน้อยทุก 5 ปี หรือบ่อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

2. เพศ เพศชายอายุ 56 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อหัวใจวายมากกว่าเพศหญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป และมักจะมีหัวใจวายเมื่ออายุยังน้อย แต่ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนระดับแอลอีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดหรือไขมันวายร้ายมักสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงไม่ควรประมาทเช่นกัน

3. ประวัติในครอบครัว มีญาติสายตรงเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย

  • มีพ่อหรือพี่ชาย น้องชาย มีประวัติโรคหัวใจก่อนอายุ 55
  • มีแม่หรือพี่สาว น้องสาวมีประวัติโรคหัวใจก่อนอายุ 65

4. มียีนชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ พบได้จากการตรวจยีน

5. อ้วน ทำให้คอเลสเตอรอลสูงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

6. เบาหวาน โดยเฉพาะผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และอ้วน

7. คอเลสเตอรอลผิดปกติ คือมีระดับเอชดีแอล (คอเลสเตอรอลชนิดดี) ต่ำ ระดับแอลดีแอล (คอเลสเตอรอลชนิดร้าย) สูง ข้อมูลจากการวิจัยใหม่ๆ พบว่า ผู้หญิงที่มีคอเลสเตอรอลสูงมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (Ischemic Stroke) เป็น 2 เท่า ของผู้หญิงที่มีระดับคอเลสเตอรอลต่ำ ถึงแม้จะไม่มีประวัติโรคหัวใจหรือเส้นเลือดสมองตีบมาก่อน ระดับไขมันในเลือดจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองตีบ

8. การอักเสบเรื้อรัง เป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจ

9. ความดันโลหิตสูง (³ 140/90 มิลลิเมตรปรอท)

10. สูบบุหรี่

11. ขาดการออกกำลังกาย

นอกจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวยังมีปัจจัยเสี่ยงร่วมในการเกิดโรคหัวใจคือ

  • ความเครียด เวลาที่เครียดคนเรามักหาวิธีลดความเครียดด้วยวิธีต่างๆ หลายครั้งวิธีต่างๆเหล่านั้นมักจะนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคหัวใจ เช่น การสูบบุหรี่หรือกินคลายเครียด
  • ฮอร์โมนเพศ ผู้หญิงอายุ 40-60 ปี หรือช่วงที่เข้าสูงวัยหมดประจำเดือน ความเสี่ยงของการเกิดหัวใจวายจะมีสูงขึ้น ครึ่งหนึ่งของคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไปที่มีหัวใจวายมักเป็นผู้หญิง ขณะที่ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 40 ไม่ค่อยมีปัญหาหัวใจวาย เพราะมีฮอร์โมนเพศหญิง “เอสโทรเจน” ช่วยปกป้องไว้
  • ยาคุมกำเนิด อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะคนที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ถ้าอายุน้อยกว่านี้และไม่สูบบุหรี่ การใช้ยาคุมกำเนิดถือว่าปลอดภัยและไม่เพิ่มความเสี่ยง แต่ถ้าสูบบุหรี่ โอกาสเกิดโรคหัวใจจะสูงขึ้น โดยเฉพาะในผู้หญิงที่อายุเกิน 35 ปี
  • แอลกอฮอล์ การดื่มพอประมาณ คือผู้ชายไม่เกินวันละ 2 ดริ๊งค์ ส่วนผู้หญิงวันละไม่เกิน 1 ดริ๊งค์ จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ แต่ถ้าดื่มมากกว่านั้นจะเพิ่มความเสี่ยง เพราะแอลกอฮอล์มีแคลอรี่สูงเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของโรคหัวใจ เช่น อ้วน ความดันโลหิตสูงและสโตรก

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prevent Heart Disease. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/heartdisease/prevention.htm)
Avoid these foods for a healthier heart. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/healthbeat/avoid-these-foods-for-a-healthier-heart)
16 top foods for a healthy heart. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321820)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ใช้ชีวิตอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง
ใช้ชีวิตอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง

รวมเคล็ดลับการใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ

อ่านเพิ่ม
งานวิจัยบอกว่าเกลือที่มากขึ้นอาจจะดีกว่า
งานวิจัยบอกว่าเกลือที่มากขึ้นอาจจะดีกว่า

เกลือที่มากขึ้นดีต่อสุขภาพหรือไม่?

อ่านเพิ่ม