กินป้องกันเบาหวาน

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
กินป้องกันเบาหวาน

นักระบาดวิทยาที่ศึกษาวิจัยถึงสาเหตุของการเกิดโรคได้ส่งสัญญาณเตือนการระบาดของโรคเบาหวานไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองของประเทศกำลังพัฒนา ขณะนี้มีคนเป็นโรคเบาหวานประมาณ 200 ล้านคน  และหากยังไม่มีมาตรการในการยับยั้งภายในปี 2025 จะมีคนเป็นเบาหวานถึง 330 ล้านคน

องค์การอนามัยโลกประมาณว่า ในปี 2030 จะมีคนไทยเป็นเบาหวาน 2,739,000 คน และทั่วโลกจะมีจำนวนคนเป็นเบาหวานสูงถึง 366 ล้านคน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประเทศที่มีสถิติโรคเบาหวานสูงสุด 10 อันดับแรก คือ อินเดีย จีน สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ปากีสถาน รัสเซีย บราซิล อิตาลี และ บังกลาเทศ

ล่าสุดในปี 2014 สหพันธ์เบาหวานนานาชาติประเมินไว้ว่า มีผู้ที่เป็นเบาหวาน 382 ล้านคน และภายในปี 2035 จะมีคนเป็นเบาหวานถึง 592 ล้านคน หรือทุกๆ 1 ใน 10 คนเป็นเบาหวาน ในปัจจุบันมีคนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ถึง 316 ล้านคน

การระบาดของโรคเบาหวานนั้นคล้ายกับโรคติดต่อที่มีปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องของไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงของพันธุกรรม ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากยีนประหยัด (Thrifty Gene) ทำให้คนอ้วนขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินตามมา ทำให้โรคเบาหวานก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ มีการคาดการณ์ว่า การรวมตัวของโรคอ้วนและเบาหวาน (Diabesity = Diabetes + Obesity) จะพุ่งเป็น 2 เท่าในปี 2035

เบาหวานเกี่ยวข้องกับอาหารอย่างไร

ทุกวันนี้การที่เรามีเรี่ยวแรงเคลื่อนไหวร่างกายและทำงานต่างๆ ได้ต้องอาศัยพลังงานซึ่งมาจากอาหารที่กินเข้าไป อาหารที่กินถูกย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคส  ซึ่งจะอาศัยฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อนพาเข้าไปในเซลล์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานออกมา  พลังงานบางส่วนจะถูกเก็บสะสมไว้ในเนื้อเยื่อในตับ

เมื่อร่างกายผลิตอินซูลินไม่พอหรืออินซูลินทำงานได้ไม่ดี น้ำตาลจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานไม่ได้มากพอ ระดับน้ำตาลในเลือดจะค่อยๆ สูงขึ้น จนตับอ่อนหมดแรงผลิตอินซูลิน อาการเบาหวานจึงปรากฎออกมาให้เห็น และเมื่อไรที่พบว่าเป็นเบาหวาน นั่นหมายความว่าเซลล์เบต้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินเสื่อมสมรรถภาพไปแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์

ชนิดของเบาหวาน

เบาหวานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เบาหวานชนิดที่ 1, 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ต่างก็มีสาเหตุจากพันธุกรรมเป็นปัจจัยร่วม และยังมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเกิดเบาหวาน การมียีนเบาหวานอย่างเดียวไม่ได้หมายความว่าจะทำให้คนคนนั้นเป็นเบาหวาน 100 เปอร์เซ็นต์ ข้อพิสูจน์คือ ฝาแฝดที่มาจากไข่ใบเดียวกันมียีนที่เหมือนกัน ถ้าแฝดคนหนึ่งเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 แฝดอีกคนจะมีโอกาสเป็นเบาหวานเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าฝาแฝดอีกคนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 คู่ของแฝดคนนั้นจะมีความเสี่ยงถึง 75 เปอร์เซ็นต์

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

เกิดจากความผิดปกติของระดับภูมิคุ้มกันที่จำเซลล์ตัวเองไม่ได้ และไปทำลายเซลล์ชนิดเบต้าที่ผลิตอินซูลินของตับอ่อน ทำให้ผลิตอินซูลินได้น้อยลง หรือไม่สามารถผลิตอินซูลินเลย การรักษาต้องอาศัยการฉีดอินซูลินทดแทน มิฉะนั้นจะเสียชีวิตได้ เบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในวัยเด็ก แต่ก็สามารถเกิดได้ทุกวัย เบาหวานชนิดนี้จะมีพันธุกรรมมาจากทั้งพ่อและแม่ ส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มคนผิวขาว แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่มีความเสี่ยงเบาหวานไม่จำเป็นต้องเป็นเบาหวานทุกคน นักวิจัยจึงเชื่อว่าน่าจะมีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเกิดเบาหวานร่วมด้วย

เนื่องจากเบาหวานชนิดนี้พบบ่อยในคนที่อยู่เมืองหนาว และพบในหน้าหนาวมากกว่าหน้าร้อน ปัจจัยกระตุ้นอีกประการหนึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัสบางชนิด แต่มีผลน้อย นอกจากนี้อาหารในวัยเด็กอาจมีความสำคัญ เพราะพบเบาหวานชนิดที่ 1 น้อยในคนที่กินนมแม่ในวัยเด็ก และเริ่มอาหารแข็งในเวลาที่เหมาะสม

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เป็นชนิดที่พบมาก สาเหตุมาจากยีนและไลฟ์สไตล์ เบาหวานชนิดนี้เกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน และตับอ่อนหลั่งอินซูลินได้น้อยลง ไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องใช้

ความเสี่ยงของเบาหวานชนิดนี้จึงมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นหรือจากความอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง เบาหวานชนิดที่ 2 มักเกิดกับคนที่มีพฤติกรรมการกินเลียนแบบชาวตะวันตก คือกินในปริมาณมากและเป็นอาหารไร้คุณภาพ คือมีไขมัน แป้ง และน้ำตาลมากเกินไป กินใยอาหารน้อย และขาดการออกกำลังกาย ทำให้อ้วนขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการดื้ออินซูลินจึงเริ่มก่อตัวขึ้น

กว่าจะเป็นเบาหวานเต็มตัวอาจใช้เวลานานถึง 10 ปี โดยก่อนหน้านั้นจะไม่มีอาการของเบาหวานเลย การก่อตัวจะเกิดขึ้นอย่างเงียบๆ พร้อมๆ กับความผิดปกติของระบบเผาผลาญและการทำงานของร่างกายอย่างช้าๆ เมื่อเวลาผ่านไป ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นจะนำไปสู่อาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย หิวบ่อย ซึ่งเป็นการเริ่มแสดงตัวของโรคเบาหวาน หากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่ เบาหวานขึ้นตาจนตาบอด โรคหัวใจ ปลายประสาทเสื่อม จนต้องถูกตัดเท้า มีแผลเรื้อรังรักษาไม่หาย และไตวายในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีความเสี่ยงจากพันธุกรรมสูง แต่มีพฤติกรรมการกินที่ดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอมักจะไม่เป็นเบาหวาน

ก่อนหน้านี้มักพบว่าเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดในผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบว่าเกิดได้ทั้งในเด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กที่อ้วนและหนุ่มสาวที่อ้วนมาเป็นเวลานาน แต่ทั้งหมดนี้ป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ โดยเน้นที่การกินและออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังพบในผู้หญิงที่มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

มักมีประวัติในครอบครัวเป็นเบาหวาน โดยเฉพาะทางฝั่งของแม่ แต่ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและไลฟ์สไตล์ก็มีความสำคัญ แม่ที่อายุมากและอ้วนมีโอกาสเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์สูงขึ้น

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ทั่วโลกพบ 1 ใน 25 รายที่ตั้งครรภ์ และทำให้เกิดโรคแทรกซ้นได้ทั้งแม่และลูก เบาหวานชนิดนี้จะหายไปหลังจากคลอด ทำให้แม่เข้าใจว่าหายจากเบาหวานแล้ว แต่แท้ที่จริงแล้วทั้งแม่และลูกต่างก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในภายหน้า ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้หญิงที่มีเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ภายใน 5-10 ปีหลังจากคลอด หากไม่มีมาตรการในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันเบาหวาน


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Choose More than 50 Ways to Prevent Type 2 Diabetes. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK). (https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/preventing-type-2-diabetes/50-ways)
The 16 Best Foods to Control Diabetes. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/16-best-foods-for-diabetics)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)