รับประทาน “เกลือ” มากเกินไป อาจส่งผลอันตรายกว่าที่คิด

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รับประทาน “เกลือ” มากเกินไป อาจส่งผลอันตรายกว่าที่คิด

เกลือคือส่วนประกอบที่นิยมนำมาปรุงอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติให้มีความกลมกล่อม เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ปกติแล้วหากเรารับประทานเกลือในปริมาณที่มากเกินไป จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ แต่หากมีปริมาณน้อยจะถูกดูดซึมเข้าไปสู่กระแสเลือดภายในร่างกาย แต่หากร่างกายได้รับปริมาณเกลือเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจนเกินกำลังที่ไตจะขับออกมาจากร่างกายได้ ทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ รวมถึงหัวใจจะมีการทำงานหนักและ นำไปสู่อาการหัวใจวายในที่สุด

ร่างกายต้องการเกลือในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ

      ในหนึ่งวันเราควรรับประทานเกลือไม่เกินปริมาณ 6 กรัมต่อวัน หรือ 1 ช้อนช้า จึงจะถือว่ามีความพอเหมาะ หากรับประทานมากกว่านี้ ถือว่าเป็นผลเสียต่อร่างกาย ทำให้ไตทำงานหนัก

ประโยชน์ของเกลือเมื่อรับประทานอย่างพอเหมาะ

          หากเรารับประทานเกลือในปริมาณที่พอเหมาะ ก็จะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายได้เหมือนกัน คือ ช่วยให้เกิดความอยากอาหารได้มากขึ้น สำหรับผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ช่วยปรับสมดุลของความเค็มในร่างกายอย่างสมดุล รวมถึงการปรับความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

เทคนิคการลดปริมาณเกลือในชีวิตประจำวัน               

          เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วการประกอบอาหารในทุกวันมักจะต้องนำเกลือมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีรสจัดจ้านต่างๆ เช่น แกง ยำ ต้มยำ เป็นต้น เพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักจนเกินไป เรามีเทคนิคการลดปริมาณเกลือในการประกอบอาหารมาแนะนำกันค่ะ

          1. งดรับประทานอาหารรสจัด เพราะอาหารรสจัดมักจะมีส่วนผสมของเครื่องปรุงที่มากกว่าปกติ เลือกทานอาหารที่ใช้เครื่องปรุงน้อยๆ โดยเฉพาะเกลือที่ช่วยให้รสชาติเข้มข้น ปรับเมนูอาหารไม่ให้จัดมาก เพื่อให้ไตมีการทำงานที่สมดุลและไม่ทำงานหนักจนเกินไป

          2. ลดใช้เครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของเกลือ ปัจจุบันเกลือจะนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องปรุงต่างๆ ในรูปแบบสำเร็จรูป เช่น กะปิ ซอสถั่วเหลือง น้ำปลา ควรเติมให้ปริมาณน้อยๆ ที่พอเหมาะในการรับประทานต่อวัน

          3. งดทานขนม ขบเคี้ยวที่มีส่วนผสมของเกลือ ซึ่งขนมหรือของว่างที่เรารับประทานเป็นประจำ จะมีส่วนผสมของเกลือผสมอยู่ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย หากชื่นชอบการทานขนมขบเคี้ยว ลองเปลี่ยนประเภทขนมที่มีส่วนผสมของเกลือที่น้อยลง เช่น ผลไม้อบแห้ง เป็นต้น

          4. ปรับรสชาติอาหารในแต่ละวันให้เกิดความเคยชิน ลองปรับการทานอาหารที่มีรสชาติอาหารที่ไม่ต้องใช้เครื่องปรุงมาก หรือเลือกทานอาหารที่ได้รสชาติของธรรมชาติมากกว่าการปรุงรส

          5. เลือกทานน้ำเปล่ามากกว่าน้ำแร่ หลายคนมักคิดว่าการดื่มน้ำแร่ร่างกายจะได้ประโยชน์มากกว่าการดื่มน้ำธรรมดา ซึ่งจริงๆ แล้ว น้ำแร่คือน้ำที่อยู่ชั้นใต้ดิน มีส่วนผสมของแร่ธาตุต่างๆ มากกว่าน้ำธรรมดา โดยเฉพาะผู้ที่มีเป็นโรคไต ความดันสูง ไม่ดื่มน้ำแร่ เพราะในน้ำแร่มีแร่ธาตุโซเดียมมาก ทำให้เกิดความดันสูง รวมถึงการตกตะกอนของน้ำแร่บริเวณทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดโรคนิ่วในปัสสาวะได้ รวมถึงผู้ที่มีอาการป่วยด้วยโรคหัวใจ เพราะในน้ำแร่มีโพแท็สเซียมทำให้หัวใจมีการเต้นที่ผิดจังหวะ

          6. หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่มีรสเค็ม เช่น ผลไม้ดอง หอยดอง ปูดอง เพราะอาหารประเภทนี้จะมีส่วนผสมของเกลือมากกว่าปกติ หากรับประทานเป็นประจำยิ่งทำให้ไตทำงานหนัก รวมถึงไม่มีสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายใดใดเลย ทำให้ท้องเสีย หากอาหารไม่สะอาด เป็นต้น

ตรวจสุขภาพทุกครั้งอย่างลืมเช็คสุขภาพไตปีละครั้ง

          นอกจากการเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หรือเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของเกลือแล้ว ควรตรวจสุขภาพไตในทุกๆ ปี เพื่อจะได้ทราบว่าสุขภาพไตของเรายังแข็ง ไม่ทำงานหนักจนเกินไป ซึ่งปกติในการตรวจหาโรคไต จะมีการตรวจหาโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ เพราะปกติโรคไตในอาการเริ่มแรกจะไม่แสดงออก จนกว่าจะมีอาการในระยะที่ 4 ซึ่งอาการของโรคไตส่วนใหญ่จะมีอาการ บวม ซีด คันตามตัว เบื่ออาหาร ความดันสูง แม้จะทานอาหารได้น้อย แต่จะมีอาการบวมเพิ่มขึ้น รวมถึงอาการชามือชาเท้า ตามัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะแสดงออกในระยะสุดท้าย

          จะเห็นได้ว่าเกลือที่เรารับประทานในทุกวัน หากทานในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะเกิดผลเสียต่อร่างกายมากมาย และนำไปสู่ความผิดปกติต่างๆ ได้ แต่ถ้ารับประทานในอัตราที่พอเหมาะ ร่างกายก็จะได้รับประโยชน์ดีๆ เช่นกัน เพราะในเกลือโดยเฉพาะเกลือทะเลนั้น มีสาร ไอโอดีน ที่ร่างกายของเราต้องการและสามารถช่วยป้องกันโรคคอพอกได้ 

          นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมหมั่นเช็คสุขภาพไตของเราอยู่เสมอกันด้วยนะคะ เพราะอวัยวะในส่วนนี้ค่อนข้างทำงานหนัก ในทุกวัน เพราะต้องคอยขับถ่ายของเสีย แร่ธาตุส่วนเกินต่างๆ ออกจากร่างกายอยู่ตลอด แถมการทานอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือที่มากเกินไป ยังไม่ได้ส่งผลเฉพาะกันไตของเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก เกิดโรคความดันสูง ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน

          ดังนั้น อย่าลืมลองสังเกตพฤติกรรมการกินของเราในทุกวันนี้ กันดูนะคะ ว่าเสี่ยงไหม ทานอาหารที่มีรสเค็มจัดในปริมาณที่มากเกินไปหรือเปล่า เพราะหากมีโรคประจำตัวเป็นความดัน หัวใจ หรือโรคไต กันอยู่แล้วล่ะก็ ยิ่งต้องบอกลาอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือกันไปเลยค่ะ เน้นไปที่เมนูรสจืดบ้าง ในปริมาณที่เหมาะสมและปฏิบัติตัวตามที่คุณหมอแนะนำ แค่นี้ก็ไม่มีอะไรให้ต้องห่วงกันแล้วล่ะค่ะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Salt and Sodium. Harvard T.H. Chan School of Public Health. (https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/salt-and-sodium/)
Salt: Good or Bad?. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/salt-good-or-bad)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)