กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนพันธุกรรมอ้วนและเบาหวานได้

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนพันธุกรรมอ้วนและเบาหวานได้

ความอ้วนเหนี่ยวนำให้เกิดปัญหาความดื้อต่อการใช้ฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลค่อยๆ เปลี่ยนแปลง หากปล่อยตัวให้อ้วนขึ้นเรื่อยๆ จะเกิดการฟักตัวของเบาหวาน

ปัจจุบันมีข้อมูลการวิจัยยืนยันว่า ความอ้วนของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นปัญหาจากไลฟ์สไตล์มากกว่าพันธุกรรม จึงป้องกันได้แน่นอน ไม่ใช้เรื่องของพันธุกรรมที่ต้องปล่อยไปตามกรรมอีกต่อไปแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากมองย้อนหลังไปในปี 1983 – 2008 ตัวเลขของคนที่เป็นเบาหวานทั่วโลกเพิ่มจาก 35 ล้านคนเป็น 246 ล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า โดยผู้ที่เป็นเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย นักวิจัยวิเคราะห์ว่าเป็นไปไม่ได้ที่ส่วนใหญ่จะมาจากเรื่องของพันธุกรรมอย่างเดียว อย่างที่เราเคยเชื่อกันว่า ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นเบาหวานแล้ว ตัวเราซึ่งเป็นเชื้อสายก็หนีไม่พ้นแน่ๆ เพราะในความเป็นจริงโรคเบาหวานมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญกว่านั้น คือสิ่งแวดล้อมและไลฟ์สไตล์

แม้จะมีกรรมพันธุ์อยู่ แต่ยีนเบาหวานจะทำงานเมื่อกินอาหารที่ไม่มีคุณภาพที่ยีนเบาหวานชอบ การใช้ชีวิตแบบเคลื่อนไหวร่างกายน้อย มีความเครียดมาก และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ฉะนั้นการป้องกันเบาหวานหรือโรคอ้วนในยุคนี้จึงมุ่งไปที่ปัจจัยเสี่ยงเรื่องสิ่งแวดล้อมและไลฟ์สไตล์ ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานของยีนหรือการแสดงออกของยีนที่จะทำให้เกิดเบาหวานชนิดที่ 2

การวิจัยของโปรแกรมป้องกันเบาหวาน (Diabetes Prevention Program) ได้พิสูจน์แล้วว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและออกกำลังกายป้องกันเบาหวานได้ดีกว่าการใช้ยาเบาหวานถึง 58 เปอร์เซ็นต์ ในขณะกลุ่มที่ได้รับยาเบาหวานเมตฟอร์มิน (Metformin) เพื่อชะลอการเป็นเบาหวานลดความเสี่ยงเบาหวานได้เพียง 31 เปอร์เซ็นต์ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตดังกล่าวยิ่งให้ผลดีในคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เพราะลดความเสี่ยงเบาหวานได้ถึง 71 เปอร์เซ็นต์

การลดน้ำหนักเป็นปัจจัยหลักในการลดความเสี่ยง ทุกๆ ครึ่งกิโลที่น้ำหนักลดลงจะสามารถลดความเสี่ยงการเป็นเบาหวานถึง 16 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ½ ชั่วโมง หรือ 150 นาที ยังลดความเสี่ยงเบาหวานได้ถึง 44 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าจะลดน้ำหนักได้เพียงเล็กน้อยก็ตาม เช่นนี้แล้ว ผู้มีความเสี่ยงเบาหวานยังจะเฉยเมยโดยไม่คิดป้องกันเลยหรือ

วิธีการกินแบบง่ายๆ โดยใช้หลักจานอาหารสุขภาพ

วิธีนี้ใช้ได้ดีกับการควบคุมระดับน้ำตาล น้ำหนักตัว เป็นวิธีที่จะช่วยควบคุมปริมาณอาหาร ปริมาณคาร์โบไฮเดรต และช่วยให้กินผักได้มากขึ้น ได้สารอาหารสมดุลขึ้น

หลักเกณฑ์ในการกิน

  • ใช้จานที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 นิ้ว ลึกครึ่งนิ้ว
  • เติมผักครึ่งหนึ่งในมื้ออาหาร โดยเลือกผักให้หลายหลายสี และหลากหลายชนิด จะเป็นผักสุก สลัด หรือซุปผักก็ได้
  • เติมเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไก่หรือปลา ¼ ของจาน หรือประมาณ 90 กรัม
  • เติมข้าวหรือแป้ง ¼ ของจาน
  • เติมผลไม้ 1 ส่วน (นอกจาน)
  • เลือกผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนยหรือขาดไขมัน 1 ส่วน (นอกจาน)
  • ใช้ไขมันหรือน้ำมันในการปรุงอาหารเล็กน้อย

ปริมาณอาหารแต่ละหมวดใช้หลักดังนี้

  • เลือกอาหารคาร์โบไฮเดรต 3 ส่วนแต่ละมื้อ
  • อาหารคาร์โบไฮเดรตได้แก่ หมวดข้าวหรือแป้ง ผักผลไม้ และผลิตภัณฑ์นม

ข้าวหรือแป้ง 1 ส่วน ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ข้าวสุก 1/3 ถ้วยตวง (1 ทัพพี ตักพอดีไม่พูน)
  • ขนมปัง 1 แผ่น
  • เส้นต่างๆ ½ ถ้วยตวง (1 ทัพพี)
  • ธัญพืช ½ ถ้วยตวง (1 ทัพพี)
  • ข้าวโพด เผือก มัน ฟักทอง ½ ถ้วยตวง (1 ทัพพี)

ผลไม้ 1 ส่วน

  • ผลไม้ 1 ผลเล็ก ขนาดกำปั้นผู้หญิง
  • ผลไม้หั่น 1 ถ้วยตวง
  • ผลไม้กระป๋อง ½ ถ้วยตวง (1 ทัพพี) ไม่นับน้ำเชื่อม
  • น้ำผลไม้ไม่เติมน้ำตาล 120 มิลลิลิตร

นม 1 ส่วน

  • นมพร่องมันเนยหรือไขมัน 0% 240 มิลลิลิตร
  • นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม 240 มิลลิลิตร
  • โยเกิร์ตไขมันต่ำ ไม่เติมน้ำตาล 1 ถ้วยตวง

เนื้อสัตว์และโปรตีน

เลือก 90 กรัม/มื้อ เนื้อสัตว์ 1 ส่วนเท่ากับ 30 กรัม

  • เนื้อ ปลา ไก่ หมู 30 กรัม หรือ 2 ช้อนโต๊ะ
  • กุ้ง ขนาด 2 นิ้ว 4 ตัว
  • ไข่ 1 ฟอง
  • ไข่ขาว 2 ฟอง
  • เนยแข็ง 1 แผ่น (30 กรัม)
  • เต้าหู้ 30 กรัม

ไขมัน

เลือก 1-2 ส่วน 1 ส่วนเท่ากับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • น้ำมัน/มายองเนส/เนย/มาร์การีน 1 ช้อนชา
  • น้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ

อาหารที่ไม่ต้องนับ

ถ้า 1 ส่วนมีพลังงานไม่เกิน 20 กิโลแคลอรี่

  • ผักใบผักดอกสุก (ประมาณ 2 ทัพพี)
  • น้ำอัดลมไดเอต
  • ชา กาแฟ น้ำสมุนไพรไม่เติมน้ำตาล

*** สำหรับผู้ที่เป็นโรคไต ไม่ควรใช้แผนแบบนี้ ควรปรึกษานักกำหนดอาหารก่อน

 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Behavior, environment, and genetic factors all have a role in causing people to be overweight and obese. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/genomics/resources/diseases/obesity/index.htm)
Genetics of Eating Behavior: Established and Emerging Concepts. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3052625/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)