กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เหงื่อออกง่าย เกิดจากอะไร?

สำรวจข้อมูลภาวะเหงื่อออกมาก เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เหงื่อออกง่าย เกิดจากอะไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะเหงื่อออกมาก คือ ภาวะที่ร่างกายจะมีเหงื่อออกจากผิวหนังมากกว่าปกติ ถึงแม้จะไม่มีปัจจัย หรือสภาพแวดล้อมที่ทำให้เหงื่อออกมากก็ตาม
  • ผู้มีภาวะเหงื่อออกมากอาจได้รับกรรมพันธุ์มาจากคนในครอบครัวที่เคยมีภาวะนี้มาก่อน และภาวะเหงื่อออกมากยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำอีกด้วย 
  • มีโรคประจำตัวหลายโรคที่สามารถเป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกมากได้ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • การรักษาภาวะเหงื่อออกมากมีหลายวิธี เช่น การฉีดโบท็อกซ์ การทายา หรืออาจเป็นการผ่าตัดนำต่อมเหงื่อออก 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย

เคยสังเกตกันหรือไม่ว่า หลายคนจะมีอาการเหงื่อออกมากทั้งที่อากาศไม่ได้ร้อน หรือออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยก็มีเหงื่อออกจนเสื้อเปียกไปหมด ซึ่งอาการเหล่านี้ เกือบทุกคนคงมองว่าเป็นเพียงอาการ "ขี้ร้อน" เท่านั้น 

แต่ความจริงแล้ว อาการเหงื่อออกมากนั้นจะเป็นภาวะอย่างหนึ่งในทางการแพทย์ ซึ่งเราเรียกได้ว่า "ภาวะเหงื่อออกมาก หรือภาวะเหงื่อออกง่าย (Hyperhidrosis)" 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความหมายของภาวะเหงื่อออกมาก

ภาวะเหงื่อออก (Hyperhidrosis) คือ ภาวะที่ร่างกายมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติ ถึงแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้เอื้อต่ออาการเหงื่อออกก็ตาม เช่น อากาศหนาวเย็น 

ลักษณะอาการของภาวะเหงื่อออกมาก

อาการของผู้ที่มีภาวะเหงื่อออกมากจะมีดังต่อไปนี้

  • มีอาการเหงื่อออกมากกว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น อากาศร้อน ออกกำลังกาย อยู่ในภาวะเครียด หรือวิตกกังวล
  • มีอาการเหงื่อออกทั่วทั้งร่างกาย ไม่ใช่เพียงซีกใดซีกหนึ่งเท่านั้น
  • จะมีอาการเหงื่อออกมากกว่าปกติอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์
  • อาการเหงื่อออกมากกลายเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในแง่การทำงาน หรือในแง่ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว
  • มีอาการเหงื่อออกมากตั้งแต่ก่อนอายุ 25 ปี
  • ไม่เหงื่อออกขณะนอนหลับ
  • มีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะเหงื่อออกมากเช่นกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกมาก

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า การเกิดเหงื่อในร่างกายของมนุษย์นั้น เกิดขึ้นได้จาก 2 ต่อมในร่างกาย คือ

  • ต่อม Apocrine glands เป็นต่อมที่ทำหน้าที่ในการผลิตเหงื่อตามข้อพับ และจุดต่างๆ  ของร่างกาย เช่น ท้ายทอย รักแร้ ข้อพับขา ข้อพับแขน รวมถึงอวัยวะเพศ
    การทำงานของต่อมนี้จะเริ่มขึ้นเมื่อร่างกายมีการพัฒนาเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นไปแล้ว และจะค่อยๆ ลดการทำงานลง เมื่อมีอายุมากขึ้น
  • ต่อม Eccrine glands เป็นต่อมที่ทำหน้าที่ขับเหงื่อที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงจนเกินไป เช่น การอยู่ในสถานที่ที่มีคนจำนวนมากมารวมกัน การออกกำลังกาย
    การทำงานของต่อมนี้จะทำการหลั่งเหงื่อออกมาทั่วทั้งร่างกาย โดยไม่เฉพาะเจาะจงว่า ต้องเป็นบริเวณไหนพิเศษ เกิดขึ้นได้ตั้งแต่คลอดออกมาจากครรภ์มารดา

ในกรณีที่ร่างกายเกิดภาวะเหงื่อออกมาก มักจะเกิดจากต่อม Eccrine ที่ทำงานมากผิดปกติ สามารถพบได้บ่อย แต่ไม่เคยมีการบันทึกสถิติเก็บไว้ เนื่องจากคนทั่วไปมองว่า ภาวะนี้ไม่ใช่ภาวะร้ายแรง ไม่ได้มีผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากรู้สึกเหนอะหนะแค่นั้นเอง 

แต่ทั้งนี้ก็ควรมีการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเกิดภาวะเหงื่อออกมากในบางครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายบางชนิดที่กำลังเข้ามาคุกคามคุณอย่างช้า ๆ

นอกจากนี้ ภาวะเหงื่อออกมากยังมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของร่างกายได้ ใครที่มีปัญหาเหงื่อออกง่าย ต้องสำรวจตัวเองดูเลยว่า มีความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกายร่วมอยู่ด้วยหรือไม่ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • โรคอ้วน โรคนี้คงไม่ต้องกล่าวอะไรมาก เพราะการที่ร่างกายมีชั้นไขมันหนาปกคลุม ทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างที่มันควรจะเป็น จึงต้องมีการขับออกในรูปแบบของเหงื่อ สังเกตได้เลยว่า คนอ้วนมักจะมีเหงื่อไหล และมีอาการหอบเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติ
  • โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ผู้ที่มีอาการของโรคนี้ จะมีเหงื่อออกทั่วทั้งตัว รวมถึงมือและเท้ามากผิดปกติในช่วงเวลากลางคืน ถึงแม้ว่าจะนอนอยู่ในห้องแอร์ก็ตาม
  • โรคหัวใจ เป็นโรคที่มักจะถูกพูดถึงมากที่สุดสำหรับผู้ที่มีเหงื่อออกง่าย ซึ่งก็ถูกต้องตามนั้น เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคหัวใจ จะต้องใช้พลังงานอย่างหนักในการสูบฉีดโลหิตให้หล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย จึงทำให้ร่างกายต้องขับเหงื่อออกมาเพื่อกำจัดความร้อน
  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ จะพบอาการเหงื่อออกทั่วทั้งตัว ร่วมกับอาการมือสั่น ใจสั่น กระหายน้ำ
  • โรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะพบเหงื่อออกตามมือ และตามตัวง่ายกว่าปกติ เนื่องจากมีระบบเผาผลาญ และการใช้พลังงานที่ผิดไปจากเดิม ถ้าพบว่าเหงื่อที่ออกมานั้น มีมดมาตอมอยู่ตลอดเวลา ก็ให้สันนิษฐานไว้เลยว่า กำลังมีอาการของโรคเบาหวานเบื้องต้น

นอกจากนี้ยังพบภาวะเหงื่อออกง่ายได้ในผู้ที่ใช้ยารักษาโรคประจำตัวบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยารักษาโรคทางจิตเวช รวมถึงยาพาราเซตามอล

วิธีแก้ไขภาวะเหงื่อออกมาก

ในทางการแพทย์ ได้เสนอวิธีการรักษาภาวะเหงื่อออกง่ายที่น่าสนใจไว้ดังต่อไปนี้

  1. ใช้ยาทาที่ชื่อว่า Antiperspirants ทาตามจุดที่มีเหงื่อออกมาก เพื่อให้ตัวยาเข้าไปอุดตันท่อเหงื่อไม่ให้เหงื่อไหลออกมา เห็นผลได้ชัดเจนภายใน 2-30 วัน แต่มีข้อเสียคือ ถ้าหยุดยาก็มีโอกาสจะกลับมาเป็นซ้ำ
  2. ใช้วิธี Iontophoresis หรือการนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ผิวหนังบริเวณต่อมเหงื่อเพื่อให้หยุดการทำงาน การรักษาวิธีนีเปรียบได้กับไฟช็อต ต้องทำการรักษาเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก
  3. การฉีดโบท็อกซ์ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมพอสมควร เนื่องจากตัวโบท็อกซ์จะเข้าไปลดการทำงานของประสาท พร้อมกับชับเซลล์ให้มีความตึงยิ่งขึ้น จึงช่วยการเกิดเหงื่อได้พอสมควร การฉีดโบท็อกซ์ 1 ครั้ง จะช่วยลดภาวะเหงื่อออกง่ายได้นานถึง 4 เดือน
  4. การรักษาตามอาการ ในกรณีที่ภาวะเหงื่อออกง่าย เกิดจากโรคร้ายบางชนิด ก็จะต้องมีการทำการรักษา หรือเปลี่ยนยาที่ให้ผู้ป่วยทาน อาจจะช่วยให้อาการดีขึ้น
  5. การผ่าตัด หากรักษาด้วยวิธีที่กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้วภาวะเหงื่อออกมากยังไม่หายดี แพทย์ก็จะอาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อกำจัดต่อมเหงื่อออกจากร่างกาย เช่น บริเวณรักแร้

นอกจากนี้ภาวะเหงื่อออกมากยังสามารถบรรเทาได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอีกด้วย โดยให้สวมใส่เสื้อผ้าสบายๆ ใช้ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นเหงื่อเพื่อไม่ให้เสียความมั่นใจ อาบน้ำวันละ 2 ครั้งหรือเมื่อรู้สึกไม่สบายตัวจากเหงื่อที่ออกมากเพื่อกำจัดแบคทีเรียที่ผิวหนัง

ภาวะเหงื่อออกมากเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ แต่ก็มักจะทำให้หลายคนที่เผชิญกับภาวะนี้เสียความมั่นใจ เมื่อพบว่า ตนเองมีภาวะเหงื่อออกมาก อย่าอายที่จะไปพบแพทย์เพื่อขอให้วินิจฉัย และแนะนำวิธีรักษาอย่างเหมาะสมให้ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Stop Sweating: 9 Ways. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-stop-sweating)
Hyperhidrosis. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/007259.htm)
Why Do I Sweat So Much?. Health.com. (https://www.health.com/fitness/facts-about-sweat)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป