การติดเชื้อที่หู

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การติดเชื้อที่หู

การติดเชื้อที่หูนั้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ส่งผลต่อหูชั้นกลางซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากเยื่อแก้วหู การติดเชื้อนี้อาจจะทำให้เจ็บเนื่องจากมีการอักเสบและมีสารน้ำคั่งในหูชั้นกลาง

การติดเชื้อที่หูนั้นอาจจะเป็นเรื้อรังหรือแบบฉับพลันก็ได้ การติดเชื้อแบบฉับพลันนั้นมักจะทำให้มีอาการเจ็บแต่เป็นในระยะสั้นๆ ในขณะที่การติดเชื้อแบบเรื้อรังนั้นจะไม่หายเลยหรืออาจจะกลับเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง การติดเชื้อที่หูเรื้อรังอาจทำให้เกิดการทำลายหูชั้นกลางและหูชั้นในอย่างถาวร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในหู

การติดเชื้อที่หูนั้นเกิดเมื่อท่อ eustachian tube นั้นเกิดอาการบวมหรืออุดตัน ทำให้เกิดสารน้ำสะสมภายในหูชั้นกลาง ท่อ eustachian นั้นเป็นท่อขนาดเล็กที่อยู่ระหว่างหูแต่ละข้างกับด้านหลังของคอหอย สาเหตุที่ทำให้ท่อนี้อุดตันเกิดจาก

  • ภูมิแพ้
  • เป็นหวัด
  • ติดเชื้อในโพรงจมูก
  • มีมูกมาก
  • สูบบุหรี่
  • การติดเชื้อที่ต่อม adenoid หรือต่อม adenoid บวม (เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้กับต่อมทอนซิลที่ทำหน้าที่จับเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นอันตราย)
  • การเปลี่ยนความดันอากาศ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่หู

การติดเชื้อที่หูนั้นส่วนมากพบในเด็กเล็กเนื่องจากมีท่อ eustachian ที่สั้นและแคบ ทารกที่ยังดูดนมจากขวดนั้นจะมีโอกาสติดเชื้อสูงกว่าทารกที่ดื่มนมแม่ ปัจจัยอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่หูเช่น

  • การเปลี่ยนความสูงที่อยู่
  • การเปลี่ยนภูมิอากาศ
  • การสัมผัสกับควันบุหรี่
  • การใช้จุกหลอก
  • การเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อที่หูเมื่อเร็วๆ นี้

อาการที่พบ

ตัวอย่างอาการที่พบบ่อยของการติดเชื้อที่หูประกอบด้วย

  • ปวดหรือรู้สึกไม่สบายภายในหู
  • รู้สึกเหมือนมีแรงดันอยู่ภายในหูที่เรื้อรัง
  • เด็กทารกมีอาการกระสับกระส่าย
  • มีหนองไหลออกมาจากหู
  • สูญเสียการได้ยิน

อาการเหล่านี้อาจจะเป็นเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ ก็ได้ อาการนั้นอาจจะเกิดที่หูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้เช่นกัน อาการปวดนั้นมักจะรุนแรงมากขึ้นหากมีการติดเชื้อที่หูทั้ง 2 ข้าง การติดเชื้อที่หูเรื้อรังนั้นอาจจะสังเกตได้น้อยกว่าการติดเชื้อที่หูแบบเฉียบพลัน

เด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนและมีไข้หรืออาการของการติดเชื้อที่หูควรไปพบแพทย์ และหากมีไข้สูงกว่า 102 องศาฟาเรนไฮต์หรือปวดหูรุนแรงควรไปพบแพทย์เสมอ

การวินิจฉัย

แพทย์จะใช้เครื่องมือในการตรวจหูซึ่งจะทำให้พบกับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • อาการแดง มีฟองอากาศหรือสารคล้ายหนองที่อยู่ภายในหูชั้นกลาง
  • มีสารน้ำไหลออกมาจากหูชั้นกลาง
  • เยื่อแก้วหูทะลุ
  • เยื่อแก้วหูโป่งหรือยุบตัว

หากมีการติดเชื้อที่รุนแรง แพทย์อาจจะมีการเก็บตัวอย่างสารน้ำจากในหูและทำไปทดสอบเพื่อดูว่ามีเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหรือไม่ นอกจากนั้นยังอาจจะมีการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ศีรษะเพื่อดูวามีการติดเชื้อที่แพร่กระจายออกไปนอกหูชั้นกลางหรือไม่ และอาจจะมีการทดสอบการได้ยิน โดยเฉพาะหากมีการติดเชื้อที่หูเรื้อรัง

การรักษา

การติดเชื้อที่หูในระดับที่ไม่รุนแรงนั้นสามารถหายได้เองโดยที่ไม่ต้องรักษา ในบางครั้งการใช้วิธีต่อไปนี้อาจจะช่วยบรรเทาอาการของการติดเชื้อที่หูแบบไม่รุนแรงได้

  • ใช้ผ้าอุ่นประคบที่หูข้างที่มีอาการ
  • รับประทานยาแก้ปวดเช่น ibuprofen หรือพาราเซตามอล
  • ใช้ยาหยอดหูเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • รับประทานยาลดอาการคัดจมูกเช่น pseudoephedrine

หากอาการนั้นรุนแรงขึ้นหรือไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะหากมีการติดเชื้อที่หูเรื้อรังหรืออาการไม่ดีขึ้น หากผู้ป่วยเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี แพทย์มักจะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะเช่นกัน ซึ่งหากได้รับยาปฏิชีวนะควรรับประทานให้ครบตามที่แพทย์สั่ง

การผ่าตัดนั้นอาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาหากไม่สามารถกำจัดการติดเชื้อได้ด้วยการใช้ยาหรือถ้าหากคุณมีการติดเชื้อซ้ำๆ หลายๆ ครั้งในช่วงเวลาสั้นๆ ส่วนมากมักเป็นการใส่ท่อขนาดเล็กเข้าไปในหูเพื่อให้สารน้ำนั้นไหลออกมาข้างนอก ในรายที่เกี่ยวข้องกับการมีต่อม adenoid โต อาจจะต้องทำการผ่าตัดต่อม adenoid

ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว

การติดเชื้อที่หูนั้นมักจะหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่สามารถกลับเป็นซ้ำได้ ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยแต่รุนแรงที่อาจจะเกิดจากการติดเชื้อในหู

  • สูญเสียการได้ยิน
  • พัฒนาการด้านการพูดหรือภาษาช้าในเด็ก
  • มีการติดเชื้อที่กระดูกบริเวณใกล้เคียง
  • เยื่อบุสมองอักเสบ
  • เยื่อแก้วหูทะลุ

การป้องกัน

ต่อไปนี้เป็นวิธีที่อาจจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่หูได้

  • ล้างมือบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีคนพลุกพล่าน
  • หยุดใช้จุกหลอกในเด็กทารกและเด็กเล็ก
  • เลี้ยงทารกด้วยนมแม่
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับควันบุหรี่ รับวัคซีนตามกำหนด

23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ear infections. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/ear-infections/)
Ear infections: Symptoms, types, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/167409)
Ear Infection | Community | Antibiotic Use. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/antibiotic-use/community/for-patients/common-illnesses/ear-infection.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)