นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป
เขียนโดย
นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป

ตรวจการได้ยิน ตรวจหู ตรวจอย่างไร ต้องตรวจอะไรบ้าง?

"การตรวจหู ตรวจการได้ยิน เป็นสิ่งสำคัญ วิธีตรวจมีหลายแบบ เพื่อให้เด็กที่ยังไม่สามารถโต้ตอบก็สามารถตรวจการได้ยินได้ "
เผยแพร่ครั้งแรก 14 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตรวจการได้ยิน ตรวจหู ตรวจอย่างไร ต้องตรวจอะไรบ้าง?

การได้ยินเสียง เป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสทั้งห้าที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

อ้างอิงจากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2555 พบว่า ในประชากรโลกจำนวน 360 ล้านคน มีผู้พิการทางการได้ยินเสียงคิดเป็น 5.3% ของประชากรโลกทั้งหมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นการตรวจการได้ยินเสียงจึงเป็นหนึ่งในการทดสอบที่มีความสำคัญ เพื่อที่จะได้พบผู้ที่มีปัญหาในการได้ยินตั้งแต่ในระยะแรกๆ และให้การรักษาที่เหมาะสมโดยเร็ว เพื่อป้องกันปัญหาด้านการได้ยินเสียงที่อาจจะแย่ลงในอนาคต

ทารก เด็ก ผู้ใหญ่ ควรเริ่มตรวจการได้ยินเมื่อไร?

คนแต่ละช่วงวัยมีความจำเป็นที่ควรเริ่มตรวจการได้ยินแตกต่างกัน ดังนี้

1. การตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิดและเด็ก

คณะกรรมการการตรวจการได้ยินในเด็ก (Joint committee on infant hearing: JCIH) มีการกำหนดให้มีการตรวจคัดกรองการได้ยินเสียงในเด็กทารกแรกเกิดทุกคน โดยใช้เครื่องมือตรวจคัดกรองการได้ยินก่อนอายุ 1 เดือน

หากตรวจคัดกรองเบื้องต้นไม่ผ่าน จะต้องได้รับการตรวจยืนยันว่ามีการสูญเสียการได้ยิน โดยให้เข้ารับการประเมินทางการได้ยินและการตรวจประเมินทางการแพทย์ก่อนอายุ 3 เดือน

สุดท้าย หากมีการยืนยันว่ามีการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร จะต้องได้รับการฟื้นฟูการได้ยินทันทีภายในอายุไม่เกิน 6 เดือน

นอกจากการตรวจคัดกรองในเด็กทารกแรกเกิดแล้ว หากพบว่าเด็กที่โตมามีความผิดปกติที่เกี่ยวกับหูและการได้ยิน ตลอดจนการมีพัฒนาการทางด้านภาษาและการพูดที่ไม่สมวัย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อขอตรวจการได้ยินเสียง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. การตรวจการได้ยินในผู้ใหญ่

หากสงสัยว่ามีความผิดปกติที่เกี่ยวกับหูและการได้ยิน เช่น ได้ยินเสียงลดลง มีอาการปวดหู หูอื้อ มีเสียงรบกวนในหู หรือเป็นผู้สูงอายุ หรือมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน เช่น ต้องทำงานในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน ได้รับเสียงดังอย่างกะทันหัน ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจคัดกรองการได้ยินเสียง

วิธีตรวจการได้ยิน ใครตรวจ และมีขั้นตอนอย่างไร?

แพทย์เฉพาะทางที่ทำการตรวจเกี่ยวกับการได้ยินเสียง คือ แพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก (Otolaryngologist)

การตรวจการได้ยินจะเริ่มต้นด้วยการส่องดูด้านในภายในรูหูด้วยเครื่องมือที่ใช้ส่องหู (Otoscope) เพื่อดูความสมบูรณ์หรือความผิดปกติของเยื่อแก้วหู รวมสิ่งต่างๆ ด้านในรูหู

นอกจากนี้แพทย์อาจใช้ส้อมเสียง (Tuning fork) ทำการทดสอบการได้ยินเสียงเบื้องต้น โดยการวางส้อมเสียงที่บริเวณหน้าผาก กระดูกด้านหลังใบหู และบริเวณด้านหน้าของใบหู

วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า ความผิดปกติเกี่ยวกับการได้ยินเสียงเป็นแบบไหน

หากมีความผิดปกติที่เกี่ยวกับการได้ยินเสียง แพทย์จะทำการพิจารณาส่งตรวจการได้ยินที่จำเพาะต่อผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อนำผลมาวินิจฉัยต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีตรวจการได้ยิน มีแบบไหนบ้าง?

ในปัจจุบัน การตรวจการได้ยินเสียงโดยเครื่องมือมีหลายแบบ หลายวิธี

ตัวอย่างการตรวจและวิธีที่นิยมใช้ รวมถึงรายละเอียดการตรวจแบบต่างๆ มีดังนี้

1. การตรวจสมรรถภาพและระบบการได้ยิน (Audiometry หรือ Audiometric test)

เป็นวิธีการตรวจเพื่อวินิจฉัยหาความผิดปกติทั้งหูชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นใน และเส้นประสาทหู

โดยส่วนใหญ่จะสามารถตรวจได้ในเด็กโตเป็นต้นไป เนื่องจากต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ที่รับการทดสอบ

การตรวจด้วยวิธีนี้จะใช้เสียงบริสุทธิ์ (Pure tone) และใช้คำพูดทดสอบการได้ยินเสียง โดยจะค่อยๆ ลดความดังลงทีละระดับ แล้วให้ผู้ที่รับการทดสอบตอบสนอง

ผู้ที่มีการได้ยินปกติจะเริ่มได้ยินเสียงอยู่ระหว่าง -10 ถึง 25 เดซิเบล หากเสียงดังกว่า 25 เดซิเบลแล้วยังไม่ได้ยิน จะถือว่ามีความผิดปกติของการได้ยินเสียง

2. การตรวจวัดการทำงานของหูชั้นกลาง (Tympanometry)

การตรวจนี้ทำโดยแพทย์จะใส่อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับหูฟังเข้าไปในรูหูผู้รับการตรวจ

อุปกรณ์ดังกล่าวจะทำการปล่อยคลื่นเสียงเข้าไปในรูหู แล้ววัดคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมา เพื่อบ่งบอกการขยับตัวของเยื่อแก้วหูออกมาเป็นกราฟ ซึ่งจะใช้ในการแปลผลโดยแพทย์ต่อไป

3. การตรวจ OAEs (Otoacoustic Emissions)

เป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกสัญญาณเสียงที่สะท้อนกลับจากหูชั้นใน (Inaudible sound-pressure wave) ผ่านออกมายังรูหู หลังจากได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นเสียง

การตรวจนี้ไม่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่ได้รับการทดสอบ จึงสามารถใช้เป็นการตรวจคัดกรองการได้ยินเสียงในทารกแรกเกิดได้

4. การตรวจ ABR (Auditory brainstem response)

เป็นการตรวจการตอบสนองของก้านสมองต่อการกระตุ้นด้วยเสียง แล้วบันทึกเป็นคลื่นไฟฟ้าออกมา

การตรวจนี้ไม่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่ได้รับการทดสอบเช่นกัน จึงสามารถใช้เป็นการตรวจคัดกรองการได้ยินเสียงในทารกแรกเกิดได้

ก่อนตรวจการได้ยิน ผู้รับการตรวจควรเตรียมตัวอย่างไร?

ผู้จะเข้าทดสอบการได้ยินเสียงด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ นั้น ควรจะทำความเข้าใจวิธีและขั้นตอนต่างๆ ก่อนดำเนินการทดสอบ

เนื่องจากหากไม่เข้าใจดีอาจส่งผลต่อผลการทดสอบได้ และอาจจำเป็นต้องเริ่มทำการทดสอบใหม่ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ก่อนเข้ารับการทดสอบการได้ยินเสียงด้วยวิธีต่างๆ ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

หากเป็นไข้หวัดควรจะแจ้งให้ผู้ที่ควบคุมการทดสอบทราบ เนื่องจากอาจส่งผลต่อการได้ยินและการทดสอบ

ตรวจหู หรือตรวจการได้ยิน ที่ไหนดี?

หากมีความผิดปกติที่เกี่ยวกับหูและการได้ยิน สามารถไปพบแพทย์ทั่วไปเพื่อทำการทดสอบเบื้องต้นได้ทุกสถานพยาบาล ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน

ทั้งนี้การทดสอบด้วยวิธีพิเศษนั้นจะมีเฉพาะในโรงพยาบาลรัฐบาลขนาดใหญ่และบางโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากข้อจำกัดด้านเครื่องมือและบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำการทดสอบ และการแปลผลการทดสอบต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูกเป็นผู้ดำเนินการ

หากต้องการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายในการทดสอบการได้ยินเสียงด้วยวิธีพิเศษต่างๆ นั้นอยู่ในช่วงราคาประมาณ 500-1,000 บาท (ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการทางการแพทย์)


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สุวิมล รื่นเจริญ, ถ้าอยากตรวจการได้ยินควรทำอย่างไร? (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/ถ้าอยากตรวจการได้ยินคว/), 26 เมษายน 2560.
เชิญขวัญ ฐิติรุ่งเรือง, การคัดกรองการสูญเสียการได้ยินในเด็ก (http://clmjournal.org/_fileupload/journal/327-4-6.pdf), 13 มิถุนายน 2560.
American Speech-Language-Hearing Association, Types of Tests Used to Evaluate Hearing in Children and Adults (https://www.asha.org/public/hearing/Types-of-Tests-Used-to-Evaluate-Hearing/).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา

รู้จักชนิดของไซนัสอักเสบ อาการที่หลายคนเป็น หากปล่อยไว้นานอาจต้องผ่าตัด

อ่านเพิ่ม