กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Tramadol (ทรามาดอล)

เผยแพร่ครั้งแรก 9 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที

สรรพคุณของยา Tramadol

ยา Tramadol เป็นยาสำหรับบรรเทาอาการปวดในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง (Moderate to moderately severe pain) ยา Tramadol เป็นยาที่คล้ายกับยาแก้ปวดในกลุ่ม Opioid (narcotic) analgesics ตัวอื่นๆ ซึ่งจะออกฤทธิ์ที่สมองในการเปลี่ยนแปลงการรับความรู้สึกปวดและการตอบสนองต่อความปวด

วิธีใช้ยา Tramadol

อ่านคำแนะนำในการใช้ยาที่ได้รับจากเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ และในทุกครั้งที่มารับยาซ้ำ หากมีคำถามใดๆ ให้สอบถามจากแพทย์หรือเภสัชกร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รับประทานยานี้ตามแพทย์สั่ง โดยทั่วไปจะรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการปวด คุณอาจรับประทานยานี้ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แต่ถ้ามีอาการคลื่นไส้เกิดขึ้น อาจบรรเทาได้ด้วยการรับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหาร และให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีอื่นๆ ที่จะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้

ขนาดยาที่คุณได้รับจะขึ้นกับสภาวะโรคและการตอบสนองต่อการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียง แพทย์อาจให้คุณเริ่มใช้ยาในขนาดต่ำและค่อยๆ ปรับเพิ่มขนาดยาขึ้น จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งใช้ยาของแพทย์อย่างเคร่งครัด ขนาดยา Tramadol สูงสุดคือ 400 มิลลิกรัมต่อวัน ถ้าคุณมีอายุมากกว่า 75 ปี ขนาดยาสูงสุดคือ 300 มิลลิกรัมต่อวัน ห้ามปรับเพิ่มขนาดยา ใช้ยาบ่อยครั้งกว่าที่แพทย์สั่ง หรือใช้ยาเป็นเวลานานกว่าที่แพทย์สั่ง การหยุดยาอย่างเหมาะสมให้เป็นไปตามคำสั่งแพทย์

ยาแก้ปวดจะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดเมื่อเริ่มรับประทานขณะที่เริ่มมีอาการปวด หากปล่อยทิ้งไว้จนอาการปวดเป็นมากขึ้น ยาอาจออกฤทธิ์ได้ไม่ดี

ถ้าคุณมีอาการปวดเรื้อรัง เช่น อาการปวดข้ออักเสบ (Arthritis) แพทย์อาจสั่งยาในรูปแบบออกฤทธิ์นานให้กับคุณ นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวดชนิดอื่นๆ ให้คุณด้วย เช่น ยา Paracetamol, Ibuprofen เป็นต้น ให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยา Tramadol ร่วมกับยาอื่นอย่างปลอดภัย

ยา Tramadol อาจทำให้เกิดการถอนยาได้ (Withdrawal reactions) โดยเฉพาะถ้าคุณใช้ยานี้เป็นเวลานานติดต่อกันหรือใช้ยาในขนาดสูง หากหยุดใช้ยากะทันหันอาจเกิดอาการถอนยาขึ้นได้ เช่น กระสับกระส่าย น้ำตาไหล น้ำมูกไหล คลื่นไส้ มีเหงื่อออก ปวดกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการถอนยา แพทย์อาจปรับลดขนาดยาลงช้าๆ ก่อนหยุดยาให้กับคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมให้สอบถามจากแพทย์หรือเภสัชกร และถ้ามีอาการถอนยาเกิดขึ้นให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที

เมื่อใช้ยา Tramadol ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่ดีดังเดิม ดังนั้นถ้าเกิดอาการนี้ขึ้น ให้แจ้งแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แม้ว่ายานี้จะช่วยรักษาผู้ป่วยจำนวนมาก แต่อาจทำให้เกิดอาการติดยาได้ (Addiction) ซึ่งจะมีโอกาสเกิดมากขึ้นถ้าคุณติดยาเสพติด หรือติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นแนะนำให้รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเพื่อลดโอกาสเกิดอาการติดยา และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

แจ้งแพทย์หากอาการปวดไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง

ผลข้างเคียงของยา Tramadol

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยา Tramadol ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เวียนศีรษะ หน้ามืด ง่วงนอน หรือปวดศีรษะ ซึ่งอาการข้างเคียงบางอย่างอาจค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อใช้ยาไปสักระยะหนึ่ง ถ้าอาการเหล่านี้ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที

เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการท้องผูก ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอ และออกกำลังกาย คุณอาจจำเป็นต้องรับประทานยาระบาย ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับการเลือกยาระบายที่เหมาะสมสำหรับคุณ

เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ และอาการหน้ามืด ให้ค่อยๆ ลุกขึ้นช้าๆ เมื่อเปลี่ยนจากท่านั่งหรือท่านอน

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์สั่งยานี้ให้กับคุณ เพราะว่าแพทย์ได้ประเมินแล้วว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากยานี้มากกว่าความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียง ผู้ป่วยหลายรายที่ใช้ยานี้ไม่เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงจากยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง ได้แก่

  • อารมณ์หรือสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงไป เช่น กระสับกระส่าย ประสาทหลอน
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • ปัสสาวะลำบาก
  • มีอาการภาวะต่อมหมวกไตไม่ทำงาน เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลียผิดปกติ น้ำหนักลด

ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หากคุณมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงมาก ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง หน้ามืด มีอาการชัก

ยา Tramadol อาจเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาท Serotonin ซึ่งอาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการที่ร้ายแรงได้ (พบได้น้อย) ซึ่งก็คือกลุ่มอาการซีโรโตนิน หรือ ซีโรโตนินเป็นพิษ (Serotonin syndrome/toxicity) โดยความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้จะเพิ่มขึ้นถ้าคุณใช้ยาอื่นที่เพิ่มปริมาณสาร Serotonin ในร่างกายร่วมด้วย ดังนั้นคุณต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับรายการยาทุกรายการที่กำลังใช้อยู่ และไปพบแพทย์ทันที ถ้ามีอาการใดๆ ดังนี้: หัวใจเต้นเร็ว ประสาทหลอน สูญเสียการประสานงานกันของร่างกาย เวียนศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้/อาเจียน/ท้องเสียอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อกระตุก มีไข้อย่างไม่ทราบสาเหตุ กระสับกระส่าย กระวนกระวายผิดปกติ

เมื่อรับประทานยา Tramadol แล้ว ยา Tramadol จะถูกเปลี่ยนเป็นยา Opioid ที่ออกฤทธิ์แรงในร่างกาย ในผู้ป่วยบางรายกระบวนการเปลี่ยนแปลงยานี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมากกว่ากว่าคนทั่วไป ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงมาก ดังนั้นให้ไปพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการดังต่อไปนี้: หายใจช้า หายใจตื้น เวียนศีรษะอย่างรุนแรง ตื่นนอนยาก มีอาการสับสน

ปฏิกิริยาการแพ้ยานี้ เป็นเรื่องที่พบได้น้อย อย่างไรก็ตามถ้าเกิดอาการใดๆ ของการแพ้ยาให้รีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่ ผื่น คัน/บวม (โดยเฉพาะที่หน้า ลิ้น คอ) เวียนศีรษะรุนแรง หายใจลำบาก

อาการข้างเคียงที่กล่าวไว้ข้างต้นไม่ใช่อาการข้างเคียงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นถ้าคุณมีอาการผิดปกติใดๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังในการใช้ยา Tramadol

ถ้าคุณแพ้ยา Tramadol หรือแพ้สิ่งอื่นๆ ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนได้รับยานี้ ผลิตภัณฑ์ยานี้อาจประกอบด้วยสารไม่ออกฤทธิ์อื่นซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนการใช้ยา Tramadol ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะถ้าคุณ

  • เป็นโรคทางสมอง เช่น ได้รับบาดเจ็บที่สมอง มีเนื้องอกในสมอง มีอาการชัก
  • มีปัญหาในการหายใจ เช่น หอบหืด หยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep apnea) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease-COPD)
  • เป็นโรคไต
  • เป็นโรคตับ
  • อารมณ์ สภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงไป เช่น สับสน ซึมเศร้า มีความคิดฆ่าตัวตาย
  • ตนเองหรือคนในครอบครัวติดสารเสพติด หรือแอลกอฮอล์
  • มีปัญหาที่ลำไส้ หรือกระเพาะอาหาร เช่น มีการอุดตัน ท้องผูก ท้องเสียจากการติดเชื้อ ภาวะลำไส้อืด (Paralytic ileus)
  • มีอาการปัสสาวะลำบาก เช่น เกิดจากต่อมลูกหมากโต
  • เป็นโรคของถุงน้ำดี
  • เป็นโรคตับอ่อนอักเสบ
  • มีภาวะอ้วน

ยา Tramadol อาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะ หรือง่วงนอน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้คุณมีอาการวิงเวียนศีรษะหรือง่วงนอนได้มากขึ้น ห้ามขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ต้องอาศัยการตื่นตัว จนกว่าคุณจะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย และแนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

ยา Tramadol อาจเป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาว (QT prolongation) หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด QT prolongation เป็นสภาวะที่พบได้น้อยแต่ร้ายแรง (อาจทำให้เสียชีวิตได้) ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีอาการอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะรุนแรง หน้ามืด ซึ่งต้องรีบทำการรักษาทันที

ความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด QT prolongation อาจเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีโรคบางโรค หรือกำลังใช้ยาบางชนิดที่อาจเป็นสาเหตุของ QT prolongation อยู่แล้ว ดังนั้นก่อนใช้ยา Tramadol คุณต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่ รวมถึงหากเป็นโรคดังต่อไปนี้ โรคหัวใจบางชนิด (หัวใจวาย, หัวใจเต้นช้า, พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาวจากการตรวจ EKG), มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจบางชนิด (พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วง QT ยาวจากการตรวจ EKG, คนในครอบครัวเสียชีวิตจากหัวใจวาย)

การที่ร่างกายมีระดับโพแทสเซียม (Potassium) หรือ แมกนีเซียม (Magnesium) ในเลือดต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด QT prolongation โดยความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นถ้าคุณใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาขับปัสสาวะ) หรือมีอาการเหงื่อออกรุนแรง ท้องเสีย หรืออาเจียน ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีในการใช้ยา Tramadol อย่างปลอดภัย

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ให้แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับรายการยา อาหารเสริม และสมุนไพรทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่

ผู้ป่วยเด็กบางรายอาจเกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงมากได้มากกว่าคนทั่วไป เช่น ง่วงนอนมากผิดปกติ สับสน หายใจช้า หายใจตื้น หายใจมีเสียงผิดปกติ

ผู้สูงอายุอาจเกิดอาการข้างเคียงจากยาได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะอาการสับสน เวียนศีรษะ ง่วงนอน หายใจช้า หายใจตื้น และหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด QT prolongation

ระหว่างการตั้งครรภ์ ยานี้ควรใช้เฉพาะในกรณีที่ประเมินแล้วว่ามีความจำเป็นจริงๆ เพราะยาอาจทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ โดยให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์

ยา Tramadol ผ่านไปยังน้ำนมได้ และอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในทารกที่ดูดนมแม่ เช่น ง่วงนอนผิดปกติ ไม่ยอมดูดนม หรือหายใจลำบาก จึงไม่แนะนำการให้นมบุตรระหว่างใช้ยานี้ และให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการให้นมบุตร

คำเตือนในการใช้ยา Tramadol

ยา Tramadol เป็นยาที่มีความเสี่ยงต่อการนำไปใช้ในทางที่ผิดและเสี่ยงต่อการติดยาได้ นำไปสู่การได้รับยาเกินขนาดและการเสียชีวิต ยา Tramadol อาจทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงทางระบบหายใจ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว แพทย์ควรให้คุณใช้ยาในขนาดต่ำที่สุดที่ยังมีประสิทธิภาพในการรักษา และให้ใช้ยาในระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาอย่างร้ายแรงทางระบบหายใจจะสูงขึ้นในช่วงที่เริ่มใช้ยา หรือเมื่อมีการปรับเพิ่มขนาดยา หรือเมื่อใช้ยาผิดขนาด ผิดความแรง

การรับประทานยา Tramadol ร่วมกับแอลกอฮอล์ หรือยาอื่นที่ทำให้มีอาการง่วงนอน หรือมีปัญหาในการหายใจ อาจนำไปสู่การเกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงมาก รวมถึงการเสียชีวิต นอกจากนี้ยาอื่นๆ ที่ส่งผลรบกวนการกำจัดยา Tramadol ออกจากร่างกาย อาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา Tramadol ด้วย ดังนั้นคุณต้องทราบว่ามีรายการยาบางชนิดที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับยา Tramadol ได้ และหากเกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงมากเกิดขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่ หายใจช้า หายใจตื้น หน้ามืด เวียนศีรษะผิดปกติ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง ง่วงนอนอย่างรุนแรง ตื่นนอนยาก

ให้เก็บยานี้อย่างมิดชิดในที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการขโมย การนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือการใช้ผิดวิธี ถ้ามีใครก็ตามที่กลืนยานี้เข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

ก่อนเริ่มใช้ยา Tramadol ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นต้องแจ้งแพทย์ทราบหากกำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์

ระหว่างตั้งครรภ์ ยานี้ควรใช้เฉพาะในกรณีที่ประเมินแล้วว่ามีความจำเป็นจริงๆ ซึ่งยาอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการพิการแต่กำเนิดของทารกถ้าใช้ยาในช่วง 2 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ นอกจากนี้การใช้ยา Tramadol เป็นเวลานาน หรือใช้ยาในขนาดสูงใกล้กับช่วงวันใกล้คลอด อาจเป็นอันตรายต่อทารกได้ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว ให้ใช้ยา Tramadol ในขนาดต่ำที่สุดที่ยังมีประสิทธิภาพในการรักษาโรค และใช้ในระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ทารกที่คลอดจากมารดาที่ใช้ยา Tramadol เป็นระยะเวลานาน อาจมีอาการถอนยาอย่างรุนแรง (อาจทำให้เสียชีวิต) ดังนั้นให้แจ้งแพทย์ทันทีถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติในทารกแรกเกิด เช่น ร้องไห้ไม่หยุด หายใจช้า หายใจตื้น หงุดหงิดฉุนเฉียว ตัวสั่น อาเจียน ท้องเสีย ไม่ยอมดูดนม หรือน้ำหนักตัวเพิ่มช้า

เด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี ไม่ควรใช้ยา Tramadol หรือยาที่มีส่วนประกอบของ Tramadol

เด็กอายุระหว่าง 12 – 18 ปี ไม่ควรใช้ยา Tramadol ภายหลังการผ่าตัดบางชนิด รวมถึงการผ่าตัดต่อมทอนซิล/ต่อมอะนีนอยด์

นอกจากนี้ไม่แนะนำให้ใช้ยา Tramadol ในเด็กอายุ 12 – 18 ปี ที่มีภาวะอ้วนหรือมีปัญหาในการหายใจ

เด็กบางรายอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาในการหายใจอย่างร้ายแรงได้ ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิต เช่น มีอาการหายใจช้า/หายใจตื้น จึงให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ก่อนการใช้ยานี้ในเด็ก

ใครบ้างที่ไม่ควรใช้ยา Tramadol

สภาวะต่อไปนี้ถือเป็นข้อห้ามในการใช้ยา Tramadol ดังนั้นต้องแจ้งแพทย์ทราบหากคุณมีสภาวะดังต่อไปนี้

  • ต่อมหมวกไตทำงานลดลง
  • มีอาการของการถอนแอลกอฮอล์
  • มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือทำการฆ่าตัวตาย
  • เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism)
  • ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ (Alcohol intoxication)
  • มีการใช้ยาในทางที่ผิด
  • ซึมเศร้า
  • มีภาวะกลุ่มอาการซีโรโตนิน (Serotonin syndrome) จากปฏิกิริยาระหว่างยา
  • ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการชัก
  • เป็นโรคหอบหืด
  • การทำงานของปอดลดลง
  • กระเพาะอาหารหรือลำไส้อุดตัน
  • ตับแข็ง
  • มีอาการชัก
  • มีปริมาณยาในกลุ่ม Narcotics ในร่างกายมากในระดับที่เป็นพิษ
  • เป็นมารดาที่กำลังให้นมบุตร
  • เกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาในกลุ่ม Benzodiazepine
  • มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง
  • เกิดอาการถอนยาเฉียบพลันซึ่งอันตรายถึงชีวิต
  • ติดเชื้อในระบบประสาทที่สมอง และไขสันหลัง
  • เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Lung Disease)
  • เป็นผู้ที่มีการทำงานของเอนไซม์ CYP2D6 มากผิดปกติ หรือน้อยผิดปกติ
  • มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับอันเนื่องมาจากการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ
  • ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์/ต่อมทอนซิล
  • เป็นโรคตับที่มีการทำงานของตับลดลง
  • แพ้ยา Tramadol
  • แพ้ยาในกลุ่ม Opioids-Morphine

การใช้ยา Tramadol ร่วมกับยาอื่น

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interactions) อาจเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ข้อมูลที่ระบุนี้ไม่ได้ครอบคลุมการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ดังนั้นคุณต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรทราบทุกครั้งว่าคุณกำลังรับประทานยา อาหารเสริม สมุนไพร ใดอยู่ในขณะนี้ อย่าเริ่มยา หยุดยา หรือเปลี่ยนแปลงขนาดยาต่างๆ เอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

รายการยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยา Tramadol ได้แก่:

การได้รับยา Tramadol เกินขนาด

หากมีใครก็ตามที่ได้รับยา Tramadol เกินขนาด จนทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรง เช่น หมดสติ หรือหายใจลำบาก ให้รีบเรียกรถพยาบาลทันที โทร 1669

อาการของการได้รับยาเกินขนาดอาจได้แก่ หายใจช้า หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นผิดจังหวะ โคม่า มีอาการชัก

หมายเหตุ

ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้

ยานี้ถูกสั่งให้ใช้สำหรับสภาวะโรคปัจจุบันที่คุณเป็นเท่านั้น ห้ามใช้ยานี้สำหรับโรคหรืออาการอื่น เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้ยาอื่นในการรักษาแทน

การเก็บรักษายา Tramadol

เก็บรักษายาที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดดและความชื้น เก็บยาทุกชนิดให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่เทยานี้ทิ้งในห้องน้ำหรือในท่อระบายน้ำ ให้ทิ้งผลิตภัณฑ์ยานี้อย่างเหมาะสมเมื่อยาหมดอายุหรือเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้อีก


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus, Tramadol (https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a695011.html), 15 January 2019.
ncbi, Tramadol (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK548235/), 5 December 2012.
นศภ. ธีระภัทร ตั้งพูนทรัพย์ , Tramadol ภัยร้ายที่คุณไม่รู้(https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=20).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)