กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยา Ranitidine

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยา Ranitidine

ตัวอย่างชื่อการค้าของยา Ranitidine ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Acicare, Histac, Ranidine, Ratic, Ratica, Xanidine, Zantidon, Aciloc / Aciloc 300, Ranicid, Ranid, Ranin-25, Rantac 150, Rantodine, R-Loc
โดยปัจจุบันยา Ranitidine ภายใต้ชื่อการค้า Xanidine ถูกเรียกคืนชั่วคราวเพื่อตรวจสอบ

อ่านเพิ่มเติม: ยา Ranitidine คืออะไร ทำไมถึงเลิกใช้?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Ranitidine

รานิทิดีน (ranitidine) เป็นยากลุ่ม ยายับยั้งการหลั่งกรด (gastric acid secretion inhibitor) ยาสำหรับรับประทาน ยาเม็ดประกอบด้วยรานิทิดีน ขนาด 150 และ 300 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Ranitidine

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ รานิทิดีนเข้ายับยั้งการจับของฮีสตามีนที่ตัวรับ H2 อย่างสมบูรณ์บริเวณ parietal cell ในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะสามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ แต่ยาไม่มีผลต่อการหลั่งของเปปซิน การหลั่งของเพนตะแกสตริน-สติมูเลท อินทรินซิกแฟกเตอร์ (pentagastrin-stimulated intrinsic factor) และการหลั่งของแกสตริน (gastrin)

ข้อบ่งใช้ของยา Ranitidine

ยารานิทิดีน ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาโรคกรดไหลย้อน (GERD) ในผู้ใหญ่ ขนาดรับประทาน 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือขนาด 300 มิลลิกรัม ก่อนนอน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในผู้ป่วยกรดไหลย้อนรุนแรงอาจพิจารณาให้ยาขนาด 150 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อ H. pylori ขนาดรับประทานในผู้ใหญ่ ขนาด 300 มิลลิกรัม วันละครั้งก่อนนอน หรือขนาด 150 มิลลิกรัม วันละสองครั้งโดยใช้ร่วมกับอะม็อกซิซิลลิน (amoxicillin) ขนาด 750 มิลลิกรัม และ metronidazole-antibiotic' target='_blank'>เมโทรนิดาโซล (metronidazole) ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ การรักษาการติดเชื้อด้วยยารานิทิดีนควรรักษาต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาแผล benign ที่กระเพาะอาหาร และที่ลำไส้เล็ก ขนาดรับประทานในผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มต้น 300 มิลลิกรัม วันละครั้งก่อนนอน หรือขนาด 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ ขนาดการใช้ 300 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ใช้ในผู้ป่วยที่แผลในลำไส้ ขนาดยาสำหรับ maintenance 150 มิลลิกรัม วันละครั้ง ก่อนนอน ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 300 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการหลั่งกรดมากเกินไป ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มต้น 150 มิลลิกรัม วันละ 2-3 ครั้ง อาจเพิ่มขนาดยาได้ตามความจำเป็น ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 6000 มิลลิกรัม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการอาหารไม่ย่อย ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ สำหรับบรรเทาอาการเรื้อรัง ขนาด 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ สำหรับบรรเทาอาการครั้งคราว ขนาด 75 มิลลิกรัม รับประทานซ้ำหากอาการยังไม่ดีขึ้นได้ถึง 4 ครั้งต่อวัน ระยะเวลาสูงสุดในการรับประทานต่อเนื่อง คือ 2 สัปดาห์

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาแผลในทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยากลุ่ม NSAID ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือขนาด 300 มิลลิกรัม วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 8-12 สัปดาห์ สำหรับขนาดยาเพื่อป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยากลุ่ม NSAID ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

ไม่ควรสูบบุหรี่ในระหว่างใช้ยาเนื่องจากจะลดประสิทธิภาพของยา

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Ranitidine

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Ranitidine

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติ porphyria ชนิดเฉียบพลัน
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอก เนื่องจากยาอาจทำให้การตรวจเนื้องอกในทางเดินอาหารตรวจพบได้ช้ากว่าปกติ
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยตั้งครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Ranitidine

อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย ปวดศีรษะ ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ หัวใจเต้นช้าผิดจังหวะ ผื่นแพ้ยา Steven-Johnson syndrome thrombocytopenia ตับอักเสบ ค่าการทำงานของตับผิดปกติ

ข้อมูลการใช้ยา Ranitidine ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category B คือ ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

การเก็บรักษายา Ranitidine

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดด


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Omudhome Ogbru, PharmD, drug-ranitidine (https://www.medicinenet.com/ranitidine/article.htm)
University of Illinois-Chicago, Drug Information Group, drug-ranitidine (https://www.healthline.com/health/ranitidine-oral-tablet), May 17, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม