ยาสตรี

เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาสตรี

ยาสตรี คือ ยาสมุนไพรแผนโบราณมักประกอบตามสูตรต่างๆที่บันทึกไว้ ดังจะเห็นได้จากยาสตรียี่ห้อต่างๆในปัจจุบัน ส่วนประกอบที่สำคัญของยาสตรีมักจะเป็นสมุนไพรต่างๆ ได้แก่ โกฏเชียง โกฏหัว บัว ตานเซียม กิ่งอบเชย บักดี้ และแอลกอฮอล์ ซึ่งเมื่อนำมาผสมกัน ตัวแอลกอฮอล์ก็จะสกัดเอาสารสำคัญชนิดหนึ่งออกมา เรียก phytoestrogen ยาสตรีมักจะให้สรรพคุณอยู่สองประเภท คือ 1. ประเภทบำรุงเลือด และ 2. ประเภทขับเลือด โดยแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณและข้อควรระวังที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามส่วนประกอบของยาสตรีจะประกอบด้วยกัน 3 ส่วนคือ 1. สมุนไพรออกฤทธิ์ทั่วไป 2. สมุนไพรที่ออกฤทธิ์ให้ฮอร์โมนเพศหญิง 3. แอลกอฮอล์ ดังนั้นสรรพคุณของยาสตรีแต่ละยี่ห้อก็จะแตกต่างกันออกไปตามส่วนประกอบที่ใส่มาในตำหรับของยา ซึ่งสามารถจำแนกตามสรรพคุณได้ดังต่อไปนี้

สมุนไพรและสารออกฤทธิ์ในยาสตรี

โกฐหัวบัว ชื่อสามัญ Szechuan lovage, Selinum เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ส่วนของเหง้าคือส่วนที่นำมาใช้ทำยา ซึ่งเรียกว่า “โกฐหัวบัว” เหง้ามีรสเผ็ด ขมเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ตับ และถุงน้ำดี ใช้เป็นยาฟอกเลือด แก้เลือดน้อย แก้โรคโลหิตจาง บำรุงโลหิต ใช้โกฐหัวบัวรักษาสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือมีอาการปวดประจำเดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โกฐเชียง หรือตังกุย ชื่อวิทยาศาสตร์ Angelica sinensis  ไม้ล้มลุก รากสดอวบหนา รูปทรงกระบอก แยกเป็นรากแขนงหลายราก มีสรรพคุณเป็น สมุนไพรบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียน บำรุงโลหิต รักษาโรคเลือดในระบบหัวใจและตับพร่องสำหรับสุภาพสตรีก็จะส่งผลให้ผิวพรรณดูมีเลือดฝาด มีน้ำมีนวล ขึ้น

ว่านชักมดลูกตัวเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma comosa Roxb. ตามสรรพคุณตำรายาไทยนั้น จะใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียเป็นหลัก เพราะมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ของสตรี ไม่ว่าจะเป็นอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว ซึ่งมีงานวิจัยพบว่าว่านชักมดลูกตัวเมียจะออกฤทธิ์ได้เป็นอย่างดีเพราะมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์เรียกสารชนิดนี้ว่า ไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) เป็นฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งร่างกายเราผลิตจากรังไข่ รก หรือต่อมหมวกไต โดยฮอร์โมนกลุ่มนี้มีผลโดยตรงต่อการแสดงลักษณะของเพศหญิง นับตั้งแต่การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ มีประจำเดือน ตกไข่ ตั้งท้อง/การตั้งครรภ์ ไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน

ไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen) คือสารประกอบที่ได้จากพืช พบได้ในอาหารต่างๆมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลือง มีสรรพคุณในการลดโอกาสในการเกิดโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ มะเร็งเต้านม และวัยทอง

แอลกอฮอล์ สาเหตุที่ต้องใส่เนื่องจากการใช้แอลกอฮอล์ในการสกัดเอาสารสำคัญออกจากพืช ทำให้มีรายงานพบว่ามีผู้หันมาดื่มยาสตรีแทนเหล้า ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น พิษสุรา ได้

ข้อควรระวังในการใช้ยาสตรี

ในตำรับยาสตรีบางตำรับไม่มีการผสมแอลกอฮอล์ลงไปในสูตร ส่วนมากมักจัดตนเองอยู่ในประเภทยาบำรุงเลือดก็อาจไม่ส่งผลเสียใดๆ แต่ในยาสตรีบางตำรับมีการใส่แอลกอฮอล์ลงไปผสมด้วยซึ่งอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ดังนั้น ผู้บริโภคจำเป็นต้องอ่านฉลากอย่างละเอียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำลังวางแผนจะตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ หากมีการระบุว่าสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานก็จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

เนื่องจากยาสตรีมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน แม้จะมีชื่อว่าเป็นยาสตรีเหมือนกัน ส่วนประกอบบางอย่างก็อาจเป็นอันตรายแก่ทารกได้ เช่น หัวเหล้าที่ใส่เพื่อให้มีฤทธิ์รสร้อนตามตำรับ หากสตรีมีครรภ์บริโภคเข้าไปก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อทารกและอาจทำให้แท้งได้ซึ่งทำให้คนส่วนหนึ่งเข้าใจผิดว่ายาสตรีเป็นยาขับเลือด  ดังนั้นการเลือกบริโภคจึงเป็นเรื่องที่สำคัญแม้ว่าจะมีการอวดอ้างว่าเป็นยาบำรุงมิใช่ยาขับเลือดก็อาจมีส่วนประกอบอันตรายต่อสตรีมีครรภ์ เช่น หัวเหล้าได้ จึงควรอ่านฉลากอย่างถี่ถ้วนก่อนบริโภคทุกครั้ง

แม้ว่ายาสตรีจะเป็นยาสมุนไพรแผนโบราณที่อยู่คู่สังคมไทยมานาน วางขายในร้านที่ดูน่าเชื่อถือ แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงส่วนประกอบแล้วจะพบว่ามีทั้งสรรพคุณและโทษอยู่ ดังนั้นการอ่านฉลากจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงในสตรีมีครรภ์การเฝ้าระวังก็ยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้นไปอีก เพราะอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ แม้ตัวยาเองอาจปลอดภัยแต่การบริโภคสารสำคัญบางอย่างมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น ไฟโตเอสโตรเจนหากบริโภคมากเกินไปก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด ถุงน้ำ (cyst) ที่รังไข่ หรือ ที่เต้านมได้ ดังนั้นเมื่อใช้ยาสตรีจึงควรติดตามการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของตนเองเป็นระยะๆ แม้ราคาของยาสตรีจะไม่สูงมาก คือ ตั้งแต่ หลักสิบไปจนถึงหลายพันบาท แต่ราคาในการรักษากลับสูงกว่านั้นมาก จึงฝากผู้อ่านทุกท่านก่อนจะใช้ยาใดควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง อ่านฉลากและติดตามผลอย่างละเอียดเพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Nourish Oral : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing. WebMD. (https://www.webmd.com/drugs/2/drug-171389/nourish-oral/details)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)

เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ทำอย่างไรให้ "วันนั้นของเดือน" ไม่ใช่วันทุกข์อีกต่อไป

อ่านเพิ่ม
คู่มือเตรียมพร้อมก่อนประจำเดือนมาครั้งแรก
คู่มือเตรียมพร้อมก่อนประจำเดือนมาครั้งแรก

รู้ทุกเรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับประจำเดือน ตั้งแต่สัญญาณบอกว่าประจำเดือนจะมา การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และเคลียร์คำถามที่มักพบบ่อย

อ่านเพิ่ม