ทีมเภสัชกร HD
เขียนโดย
ทีมเภสัชกร HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Indapamide (อินดาพาไมด์)

เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

Indapamide เป็นยาในกลุ่มยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาอาการบวมน้ำ และความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว กลไกการออกฤทธิ์ของยา คือ ออกฤทธิ์เพิ่มการขับออกของโซเดียม คลอไรด์ และน้ำ โดยรบกวนการขนส่งของโซเดียมไอออนผ่านท่อไต ยับยั้งการทำงานของโปรตีน KCNQ1 และ KCNE1 ซึ่งโปรตีนสองชนิดนี้เป็นโปรตีนในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง potassium channal มีบทบาทในการควบคุมสมดุลโพแทสเซียม ส่งผลต่อการปลดปล่อยสารสื่อประสาท การเต้นของหัวใจ การหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ การควบคุมของของเหลวภายในเซลล์ เชื่อว่ายา Indapamide มีฤทธิ์กระตุ้นการสังเคราะห์สารพรอสตาแกลนดิน PGE2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของหลอดเลือด

Indapamide จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย ตามการจำแนกโดยคณะกรรมการอาหารและยา มีจำหน่ายเฉพาะร้านยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งควบคุมการขายยา ต้องมีการจัดทำบัญชียาอันตราย และสำหรับบุคคลทั่วไปเภสัชกรสามารถจำหน่ายยาและให้คำแนะนำในการใช้ยาได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพฯ รูปแบบยาที่ใช้ทางจมูกที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • รูปแบบยาเม็ด ขนาด 2.5 มิลลิกรัม
  • รูปแบบยาเม็ด ชนิดออกฤทธิ์นาน (sustained release) ขนาด 1.5 มิลลิกรัม
  • รูปแบบยาเม็ดผสม ร่วมกับยา Perindopril

ข้อบ่งใช้ของยา Indapamide

โรคที่เป็นข้อบ่งใช้ของยานี้ ได้แก่

ขนาดและวิธีการใช้ยา Indapamide

Indapamide มีขนาดและวิธีการใช้ตามข้อบ่งใช้ ดังนี้

  • อาการบวมน้ำ การใช้ยาในรูปแบบยารับประทาน
    • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่
      • รูปแบบยาเม็ด ขนาดยาเริ่มต้น 2.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง สามารถเพิ่มขนาดยาเป็น 5 มิลลิกรัม วันละครั้งได้ หากใช้ยา 1 สัปดาห์แล้วการตอบสนองยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
      • รูปแบบยาเม็ด ชนิด sustained release ขนาด 1.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง
    • ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ ใช้ขนาดเดียวกันกับในผู้ใหญ่
    • ขนาดการใช้ยาในเด็ก ยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย
  • โรคความดันโลหิตสูง การใช้ยาในรูปแบบยารับประทาน
    • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่
      • รูปแบบยาเม็ด ขนาดยา 1.25-2.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง สามารถเพิ่มขนาดยาเป็น 5 มิลลิกรัม วันละครั้งได้ หากใช้ยา 4 สัปดาห์แล้วการตอบสนองยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ใช้เป็นยาเดี่ยวหรือร่วมกับยาต้านความดันโลหิตกลุ่มอื่น
      • รูปแบบยาเม็ด ชนิด sustained release ขนาด 1.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง
    • ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ ใช้ขนาดเดียวกันกับในผู้ใหญ่
    • ขนาดการใช้ยาในเด็ก ยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย

ข้อควรระวังในการใช้ Indapamide

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่แพ้ยา Indapamide และยาในกลุ่มซัลโฟนาไมด์ (sulfonamide)
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยไตวาย ระยะปัสสาวะไม่ออก
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยตับและไตบกพร่อง ระดับรุนแรง
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยกรดยูริกในกระแสเลือดสูง
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยเบาหวาน
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคลูปัส (Lupus erythematosus) หรือโรคภูมิต้านทานทำร้ายตนเอง เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถแยกสิ่งแปลกปลอมกับเซลล์ของร่างกายได้ ทำให้เซลล์ระบบภูมิคุ้มกันเข้าทำลายเซลล์ของร่างกายจนเกิดการอักเสบของอวัยวะ
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงของการใช้ Indapamide

  • ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นระรัว หน้าแดง มึนศีรษะ รู้สึกบ้านหมุน ปวดศีรษะ อ่อนแรง ง่วงซึม อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อะโนเร็กเซีย (ความผิดปกติของระบบประสาทต่อการกิน มีการจำกัดการรับประทานอาหาร กลัวการมีน้ำหนักเพิ่ม) คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะตอนกลางคืน ปัสสาวะบ่อย มองเห็นภาพไม่ชัด มีน้ำมูก ระดับอิเล็กโทรไลต์ในกระแสเลือดผิดปกติ ผื่นแดง
  • ผลข้างเคียงที่พบได้น้อย ได้แก่ ตับอ่อนอักเสบ พบกลูโคสในปัสสาวะ หลอดเลือดอักเสบที่ผิวหนัง

ข้อควรทราบอื่นๆของยา Indapamide

  • ยาชนิดสำหรับใช้ทางจมูก ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม category B ตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) ยาค่อนข้างมีควรปลอดภัยกับทารกในครรภ์
  • ไม่ใช้ยานี้ร่วมกับลิเธียม เนื่องจากยาเพิ่มระดับความเข้มข้นของลิเธียมในกระแสเลือด เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดพิษ หากมีความจำเป็นในการใช้ยาขับปัสสาวะนี้ ให้ปรับขนาดลิเธียมที่ใช้และติดตามระดับลิเธียมกระแสเลือด
  • ยานี้แนะนำให้รับประทานพร้อมหรือหลังอาหาร โดยแนะนำให้รับประทานหลังอาหารเช้า
  • ไม่แนะนำให้รับประทานยาในช่วงเย็นหรือใกล้เวลานอน เนื่องจากผลในการขับปัสสาวะของยาสามารถรบกวนการนอนของผู้ป่วยได้
  • ยานี้แนะนำให้เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสง

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Reference Medscape, Indapamide (https://reference.medscape.com/drug/indapamide-342415), April 2019.
MIMS Thailand, Indapamide (https://www.mims.com/thailand/drug/info/budesonide?mtype=generic), April 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)