เรื่องของ น้ำดื่ม และน้ำใช้ในบ้าน ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 5 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ในชุมชนเขตเมือง การใช้น้ำมักจะเป็นน้ำประปา ซึ่งสะดวกปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ชุมชนในเขตเทศบาลบางแห่ง มีปัญหาเรื่องแหล่งของน้ำประปาจะขาด ทำให้การส่งน้ำ ไปบริการชุมชนขาดแคลน หรือแหล่งน้ำผ่านเขตการเกษตรกรรม อาจจะได้รับพิษตกค้างจากการใช้ยาฆ่าแมลงของชาวนาชาวสวน ทำให้น้ำดื่มน้ำใช้ จะไม่ปลอดภัยในเขตชนบท ส่วนมากใช้น้ำบ่อที่ขุดขึ้น มีบางบ้านเท่านั้นที่สามารถเก็บน้ำฝนไว้ใช้ได้มาก

a12.gif

 น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตของคนทุกคน โดยใช้กิน เพื่อการเจริญเติบโตมีชีวิตอยู่ใช้หุงต้มอาหาร ใช้ในการชำระล้างผิวกาย ทำความสะอาด นอกจากนี้ยังใช้ในการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมแต่น้ำก็อาจเป็นอันตรายต่อชิตโดยกินน้ำที่มีเชื้อโรค และสิ่งมีพิษปะปน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แหล่งน้ำที่ได้นำมาใช้มี 3 ชนิดคือ

  1. น้ำผิวดิน เช่น แม่น้ำลำคลอง บึง หนอง และทะเล ซึ่งจะมีสิ่งสกปรกเจือปนมาก
  2. น้ำใต้ดิน อาจจะอยู่ตื้นหรือลึกลงไปจากผิวดิน ยิ่งอยู่ลึกลงไปจะยิ่งสะอาดขึ้น ถ้าตื้นอาจจะมีเชื้อโรคเจือปน หรือแร่อื่น ๆ เจือปนแล้แต่แหล่งที่กระแสน้ำใต้ดินผ่าน
  3. น้ำฝน เป็นน้ำตามธรรมชาติที่ค่อนข้างสะอาดดี หากบ้านมีหลังคาที่สะอาดดี หลังจากฝนตกใหม่นักครู่ก็ตวงใส่ถังตุ่มไว้ใช้ได้

การดูแลรักษาแหล่งน้ำและปรับปรุงให้สะอาด

แม่น้ำลำคลอง

เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาชนบทมาก ควรดูแลรักษาตามหลัก ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ไม่ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงลงไปอาบ เล่น แช่
  2. ช่วยกันเก็บสิ่งสกปรกที่ลอยมาออกทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดเน่าเหม็น จะทำให้น้ำสะอาดอยู่เสมอ
  3. ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือทิ้งของเน่าเสีย เช่น ซากสัตว์ ขี้วัว ขี้ควายลงไป
  4. การตักน้ำจากแม่น้ำลำคลอง ควรตักห่างจากฝั่งให้มากเท่าที่จำได้ จะทำให้ปลอดภัยมากขึ้น ส่วนในลำคลองควรตักเมื่อน้ำอยู่ในระยะน้ำขึ้นเต็มที่

 

น้ำในสระในหนอง และบึง ควรปฏิบัติ

  1. สร้างรั้วรอบสระน้ำที่ไม่ใหญ่โตนัก และไม่ให้คน หรือสัตว์เลี้ยงลงไปอาบเล่นในสระหนองและบึง
  2. ทำคันดินให้สูงขึ้นรอบ ๆ สระ สูงกว่า 1 ศอก เพื่อไม่ให้น้ำสกปรกไหลลงในสระได้
  3. รักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะ ควรหมั่นเก็บเอาต้นไม้ ผัก และสิ่งสกปรกออกจากสระอยู่เสมอ

บ่อน้ำ

ในชนบทที่บ้านอยู่ไม่แออัด และบริเวณไม่มาก การขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ และดื่มนั้นจะมีปัญหาในการขุดบ่อ อาจจะใช้บ่อรวมสาธารณะ การสร้างบ่อน้ำควรถือหลักปฏิบัติดังนี้

  1. ควรสำรวจหาที่ตั้งที่จะขุดบ่อก่อน โดยให้ห่างจากส้วมและแหล่งน้ำสกปรก อย่างน้อย 30 เมตร
  2. ควรอยู่เหนือ และสูงกว่าระดับของส้วม และแหล่งสกปรก และน้ำไม่ท่วมถึง
  3. มีขอบบ่อสูงจากพื้นระดับพื้นดินอย่างน้อย 60 ซม. ถึง 1 เมตร
  4. มีชานบ่อกว้างห่างขอบบ่อประมาณ 150-200 ซม. กันน้ำซึมกลับลงบ่อ
  5. วงขอบบ่อเป็นคอนกรีต และยาวงขอบด้านในและนอกให้สนิทในระยะ 1 เมตร จากขอบบ่อ ส่วนช่วงล่างที่มีน้ำไม่ต้องยาเพื่อให้น้ำซึมเข้าบ่อ
  6. มีฝาปิดให้แข็งแรงป้องกันสิ่งสกปรกปลิวตกลงไป
  7. การนำน้ำขึ้นมาใช้มี 2 วิธี
7.1 ใช้สูบมือโยก เป็นวิธีที่ดี และปลอดภัย มีฝาปิดมิดชิดดี
7.2 ใช้ภาชนะถังผูกเชือกหย่อนลงไปตัก ควรใช้ประจำบ่อ มักจะไม่มีฝาปิด จึงต้องระวังความสะอาดให้มาก

น้ำฝน

บ้านเรือนที่มีหลังคาแข็งแรง ทุกบ้านก็สามารถตวงน้ำฝนไว้ใช้ได้เป็นอย่างดี ในชนบทมักจะได้น้ำฝนที่สะอาดกว่าในเมือง หรือเมืองที่มีอุตสาหกรรมมาก ๆ ทำให้มีเขม่าควันที่เป็นพิษปะปนน้ำฝนการเก็บควรปฏิบัติดังนี้

  1. ให้ฝนตกใหม่ ๆ สักครู เพื่อชะล้างฝุ่นสกปรก แล้วค่อยรองน้ำฝนไว้ใช้
  2. เก็บในตุ่ม หรือโอ่ง มีฝาปิดมิดชิด
  3. เก็บไว้ในถังน้ำ ทำด้วยซีเมนต์ หรือถังพลาสติก, ไฟเบอร์

วิธีทำให้น้ำใส และวิธีฆ่าเชื้อโรค

  1. การกวนด้วยสารส้ม ใช้สารส้มห่อผ้าสะอาดกวนในตุ่ม หรือภาชนะที่มีอยู่ตะกอนเมื่อถูกสารส้มแล้วจะตกตะกอนเป็นแอน ทิ้งไว้ให้นอนก้น
  2. การกรองเป็นวิธีที่ดี และง่าย เพียงแต่ลงทุนเล็กน้อยจากวัสดุที่หาได้ง่ายในหมู่บ้าน มีส่วนประกอบในถังกรองดังภาพแสดง หน้าถัดไป
  3. เมื่อได้น้ำใสตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้ว นำมาทำการฆ่าเชื้อโรค โดย
3.1 การต้ม ต้มให้เดือดนาน 10-20 นาที ความร้อนจะฆ่าเชื้อหมด เป็นวิธีที่ดีที่สุด
3.2 ใส่สารคลอรีน ทั้งชนิดผง และชนิดน้ำ หาได้ตามสถานีอนามัย ในน้ำ 1 ตุ่ม (10 ปิ๊บ) ใส่คลอรีน (เข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์) ครึ่งช้อนชา ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง นำไปใช้ดื่มกินได้ จะมีกลิ่นคลอรีนเล็กน้อย ถ้าใช้ล้างภาชนะ และผัก ใช้มากครึ่งช้อนโต๊ะในน้ำ 1 ปิ๊บ
3.3 ใส่สารไอโอดีน มีชนิดน้ำความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ หยด 10-15 หยด ในน้ำ 1 ปิ๊บ (20 ลิตร)
3.4 ใส่ด่างทับทิม มีเป็นเกล็ด โดยใส่ให้พอมีน้ำสีชมพูอ่อน ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงก็ใช้ได้

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How Safe Is Your Drinking Watercancel. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/news/how-safe-your-drinking-water/)
Making Water Safe in an Emergency | Water, Sanitation, & Hygiene-related Emergencies & and Outbreaks. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/healthywater/emergency/drinking/making-water-safe.html)
Safe Drinking Water: Tap Water, Bottled Water, & Water Filters. WebMD. (https://www.webmd.com/women/safe-drinking-water)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)