กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. วรรณวนัช เสถียนธรรมมณี แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. วรรณวนัช เสถียนธรรมมณี แพทย์ทั่วไป

ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้

ยา Dopamine (โดปามีน) ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นในขณะที่หัวใจล้มเหลว ช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้

ยา Dopamine คืออะไร

ยา Dopamine (โดปามีน) เป็นหนึ่งในยาที่สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) โดยยาจะเร่งการทำงานของหัวใจ ช่วยให้ร่างกายกำจัดน้ำส่วนเกินที่เป็นผลจากความอ่อนแอของหัวใจ และบรรเทาอาการความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยหัวใจวายได้

แม้ว่ายา Dopamine จะสามารถรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้ แต่ก็มีข้อควรระวังและผลข้างเคียงที่ผู้ป่วยควรศึกษาก่อนใช้ยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้ยา Dopamine

ยา Dopamine เป็นสารตั้งต้นของนอร์อีพิเนพฟริน (Norepinephrine) ผสมในสารน้ำให้ทางหลอดเลือดดำในอัตราส่วน ยา 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 มิลลิลิตรหรือยา 2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 มิลลิลิตร ใช้สำหรับรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำที่ไม่มีอาการของภาวะช็อกจากการเสียน้ำหรือเสียเลือด (Hypovolemic shock)

แพทย์จะเพิ่มขนาดยาขึ้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งระดับความดันโลหิต หรือปริมาณปัสสาวะต่อชั่วโมงดีขึ้น โดยยา Dopamine จะออกฤทธิ์ภายใน 5-10 นาที

ยา Dopamine มีประโยชน์อย่างไร

  • ยา Dopamine ช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้น จึงทำให้หัวใจสูบเลือดที่มีออกซิเจนสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ยา Dopamine จะถูกนำมาใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวก็ต่อเมื่อการใช้ยาอื่นๆ ไม่ได้ผล ซึ่งโดปามีนจะให้ทางหลอดเลือดดำในรูปสารน้ำเท่านั้น และต้องให้ในโรงพยาบาล เพราะแพทย์ต้องติดตามผลของยาอย่างระมัดระวัง
  • ยา Dopamine มีประโยชน์อย่างยิ่งในทารกที่เกิดก่อนกำหนด และทารกที่หัวใจมีปัญหา เพราะยาจะช่วยเร่งจังหวะการเต้นของหัวใจทารกทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต
  • ยา Dopamine เป็นการรักษาขั้นตอนแรกของภาวะช็อกจากความดันโลหิตตกที่มีสาเหตุจากภาวะหัวใจล้มเหลว (เป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิต)

ยา Dopamine ทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้นได้อย่างไร

ความดันโลหิตต่ำเป็นหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยในภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งยา Dopamine จะทำงานร่วมกันกับสารสื่อประสาท และฮอร์โมนนอร์อีพิเนพฟรินช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและทำให้หลอดเลือดหดตัวจนระดับความดันโลหิตสูงขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ ยา Dopamine ยังเพิ่มการสร้างปัสสาวะของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสามารถกำจัดน้ำส่วนเกินที่อยู่ในปอด แขน และขาได้ ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น เนื่องจากน้ำส่วนเกินนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว

ผลข้างเคียงจากยา Dopamine

เมื่อเกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้ แสดงว่าร่างกายได้รับปริมาณของยา Dopamine ในเลือดมากเกินระดับที่เหมาะสม

ข้อควรระวังการใช้ยา Dopamine

  • ยา Dopamine ไม่ควรให้ร่วมกับยากลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blockers)  ซึ่งเป็นยารักษาโรคหัวใจอีกประเภทหนึ่ง เพราะจะทำให้ผลของยา Dopamine ออกฤทธิ์นานผิดปกติ และรุนแรงมากขึ้นจากปกติอีกด้วย
  • ห้ามผสมยา Dopamine รวมกับสารละลายที่เป็นด่าง เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) เพราะยา Dopamine จะเสื่อมสลายอย่างช้าๆ ในสารละลายที่เป็นด่าง
  • หากใช้ร่วมกับยากันชัก Dilantin (Phenytoin) ต้องเฝ้าอย่างระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นช้าลงจนทำให้ผู้ป่วยช็อกได้
  • ไม่ควรใช้ยา Dopamine ขนาดมากกว่า 50 ไมโครกรัม ต่อน้ำหนักตัวคนไข้ (กิโลกรัม) ต่อนาที
  • หลังจากรับยา Dopamine ทางหลอดเลือดดำแล้ว ควรตรวจเลือดเป็นประจำ

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

หากอยากรู้ว่า อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นไหน ทำงานอย่างไร ต้องไม่พลาดบทความนี้

อ่านเพิ่ม
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต

โรคไตสามารถป้องกันได้ หากรู้จักและเข้าใจอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม