กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อย่าเพิ่งละเลยจุดแดงที่ไม่เป็นอันตราย

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อย่าเพิ่งละเลยจุดแดงที่ไม่เป็นอันตราย

เมื่อคุณเข้าสู่ช่วงอายุ 30-40 ปี คุณอาจจะเริ่มสังเกตเห็นตุ่มนูนสีแดงขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย มันดูเหมือนไฝสีแดง แต่จริงๆ แล้วก้อนเหล่านี้นั้นเจริญเติบโตมาจากเส้นเลือด ไม่มีใครรู้ว่ามันเกิดจากสาเหตุอะไร แต่เชื่อว่าพันธุกรรมน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้นหากพ่อแม่ของคุณนั้นมีจุดแดงๆ เหล่านี้ คุณก็มีโอกาสที่จะมีเช่นกัน

จุดแดงๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นอันตรายดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องตัดออก แต่คุณก็ควรจะไปตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังอยู่ดีเมื่อคุณสังเกตเห็นมัน เพราะมีมะเร็งผิวหนังบางชนิดเช่น melanoma หรือ Merkel cell carcinoma ที่อาจจะมีลักษณะเป็นตุ่มสีแดงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แพทย์ผิวหนังจะทำการตรวจสอบจุดที่เกิดขึ้นและตรวจตามร่างกายว่ามีอาการอื่นที่เป็นอาการของโรคมะเร็งหรือไม่ ดังนั้นการไปพบแพทย์ผิวหนังที่ไม่ใช่แพทย์ความงามทั่วไปจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะคลินิกความงามนั้นอาจจะตัดก้อนเหล่านั้นออกแต่ไม่ยืนยันว่ามันเป็นอันตรายหรือไม่

เมื่อคุณรู้ว่าก้อนเหล่านี้นั้นเป็นเพียงเส้นเลือดที่เจริญผิดปกติ คุณอาจจะเกิดความรู้สึกว่าอยากบีบมันให้แตกด้วยตัวเอง

ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิดมาก

การบีบด้วยตัวเองนั้นจะทำให้เกิดแผลเป็น และเนื่องจากก้อนเหล่านี้เกิดจากเส้นเลือด การใช้พลาสเตอร์ปิดแผลธรรมดาอาจไม่สามารถหยุดเลือดได้และอาจทำให้เกิดอันตรายและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการให้แพทย์เป็นผู้ตัดออกแต่แรกได้

หากเป็นตุ่มเล็กๆ แพทย์ผิวหนังอาจใช้ยาชาก่อนจะใช้เครื่องที่เรียกว่า hyfrecator ซึ่งเป็นเข็มเล็กๆ ที่ส่งความร้อนและกระแสไฟฟ้าเข้าไปปิดเส้นเลือดดังกล่าว หลังการรักษาอาจจะมีอาการเจ็บเล็กน้อย

ตุ่มขนาดใหญ่อาจจะต้องใช้เลเซอร์ยิงไปที่เส้นเลือดดังกล่าวโดยเฉพาะ วิธีนี้ยังเจ็บน้อยกว่าการใช้เข็มอีกด้วย

แต่การทำเลเซอร์นั้นอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นคุณอาจจะลองถามว่าสามารถตัดออกด้วยใบมีดธรรมดาได้หรือไม่

อีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลือกได้คือการใช้ความเย็น ข้อควรระวังก็คืออุปกรณ์ที่ใช้นั้นไม่ได้มีความแม่นยำมากนักดังนั้นมันอาจจะทำให้เกิดจุดสีดำหรือขาวที่ผิวหนังได้ แพทย์อาจจะแนะนำวิธีนี้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีผิวขาวซึ่งอาจจะมองไม่เห็นความแตกต่างหากมีจุดสีขาวเพิ่มขึ้น

และหากคุณไม่ต้องการเอาออก นั่นก็เป็นเรื่องที่ทำได้เช่นกัน ขอแค่คุณรู้ไว้ว่าตุ่มเหล่านี้นั้นไม่ใช่เนื้อร้าย และคุณสามารถเลือกเอาออกได้เวลาที่คุณรู้สึกว่ามันกลายเป็นปัญหา


31 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Keratosis Pilaris: Little Bumps, Big Annoyance - Skin and Beauty Center. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/skin-and-beauty/keratosis-pilaris.aspx)
Weird Things That Happen to Your Skin as You Age. WebMD. (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/ss/slideshow-age-related-growths)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป