อาการวิงเวียนศีรษะ (Dizziness, lightheadedness)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการวิงเวียนศีรษะ (Dizziness, lightheadedness)

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อยและมักไม่ใช่สัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงใดๆ แต่ก็ควรได้รับการตรวจประเมินโดยแพทย์

คำว่า “วิงเวียนศีรษะ (dizziness)” มีความหมายแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางครั้งใช้เพื่ออธิบายความรู้สึกวิงเวียน หรือการทรงตัวมีปัญหา ในขณะที่บางคนใช้เพื่ออธิบายความรู้สึกว่าสภาพแวดล้อมของพวกเขากำลังหมุนอยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เนื่องจากอาการค่อนข้างคลุมเครือและอาจมีสาเหตุมาจากสิ่งต่างๆ มากมาย จึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาสาเหตุของอาการวิงเวียนศีรษะ

ข้อมูลต่อไปนี้อธิบายถึงสิ่งที่คุณควรทำหากมีอาการวิงเวียนศีรษะโดยไม่มีเหตุผลชัดเจน และสาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการดังกล่าว

การเข้าพบแพทย์

ให้ไปพบแพทย์หากคุณรู้สึกวิงเวียนศีรษะหรือรู้สึกทรงตัวไม่ได้ และคุณรู้สึกกังวล โดยเฉพาะถ้าคุณมีอาการอื่นๆ ด้วย เช่น เป็นลม หรือปวดศีรษะ

แพทย์จะทำการหาสาเหตุและตรวจให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้เป็นอาการเวียนศีรษะแบบ vertigo ซึ่งเป็นอาการวิงเวียนศีรษะชนิดรุนแรง ที่คุณจะรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกหมุนหรือมีการเคลื่อนไหว

แพทย์จะต้องการทราบถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้:

  • อาการวิงเวียนศีรษะเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผลชัดเจน หรือเกิดขึ้นหลังจากมีอาการป่วย
  • คุณมีอาการวิงเวียนศีรษะซ้ำหรือไม่ และถ้ามี เมื่อใดที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว
  • ระยะเวลาที่มีอาการวิงเวียนศีรษะครั้งล่าสุด

อาการวิงเวียนศีรษะบางครั้งอาจเกิดจากสภาวะของหู วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยแยกความแตกต่างระหว่างอาการวิงเวียนศีรษะที่เกี่ยวข้องกับหู และอาการวิงเวียนศีรษะที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ คือ อาการจะเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อคุณตั้งตัวตรงหรือนอนลงเท่านั้นใช่หรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการวิงเวียนศีรษะที่เกิดขึ้นเมื่อคุณตั้งตัวตรงมักไม่เกี่ยวข้องกับหู ส่วนอาการวิงเวียนศีรษะที่เกิดขึ้นเมื่อนอนหลังมักเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสที่หู ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ)

เป็นความคิดที่ดีหากคุณจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอาการวิงเวียนศีรษะ โดยการบันทึกเวลาและสถานที่ที่เกิดอาการ และนำข้อมูลบันทึกนี้ไปให้แพทย์ดูด้วย สิ่งที่คุณควรบันทึกได้แก่:

ถ้าคุณกำลังใช้ยาอื่นๆ อยู่ในขณะนี้ ให้แจ้งแพทย์ทราบด้วย เพราะยาที่คุณใช้อาจมีผลข้างเคียงคืออาการวิงเวียนศีรษะ ถ้าจำเป็นแพทย์จะพิจารณาจ่ายยาตัวอื่นให้กับคุณแทน

คุณอาจได้รับการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเพิ่มเติม

สาเหตุของอาการวิงเวียนศีรษะที่พบบ่อย

สาเหตุของอาการวิงเวียนศีรษะที่พบได้บ่อย ได้แก่:

  • หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) คือมีการติดเชื้อในหูชั้นใน ซึ่งส่งผลต่อการได้ยินและการทรงตัว และสามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะชนิดรุนแรง ที่เรียกว่า vertigo ได้
  • ไมเกรน (migraine) อาการวิงเวียนศีรษะอาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการปวดศีรษะ หรือเกิดขึ้นแม้ไม่มีอาการปวดศีรษะ
  • ความเครียดหรือวิตกกังวล โดยเฉพาะถ้าคุณมีแนวโน้มที่จะมีอาการหายใจลึก ยาว และเร็วกว่าปกติขณะพัก(hyperventilate)
  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycaemia) มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง คือมีการลดลงของความดันโลหิตกะทันหันเมื่อนั่งหรือลุกกะทันหัน ซึ่งอาการจะดีขึ้นหลังจากนอนราบลง มักพบในผู้สูงอายุ
  • การสูญเสียน้ำ (dehydration) ซึ่งอาจเกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอขณะออกกำลังกาย หรือป่วยและมีอาการอาเจียน หรือท้องเสีย
  • เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหลังไม่เพียงพอ (Vertebrobasilar insufficiency) ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดที่นำเลือดจากหัวใจไปสมองเกิดการอุดตัน

สาเหตุของอาการวิงเวียนศีรษะที่พบได้น้อย

สาเหตุของอาการวิงเวียนศีรษะที่พบได้น้อย ได้แก่

  • ป่วยเป็นโรคร้ายร้ายที่ส่งผลต่อร่างกายทั้งร่างกาย
  • การใช้ยาเสพติดหรือการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป (ทั้งการดื่มในขณะนี้ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิดในระยะยาว)
  • ยาบางชนิด เช่นยาต้านโรคซึมเศร้า หรือยาลดความดันโลหิต
  • มีปัญหาเกี่ยวกับจังหวะการเต้นของหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation คือหัวใจเต้นเร็วและผิดจังหวะ
  • พิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/dizziness-lightheadedness


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
จำปา (Champak)
จำปา (Champak)

สรรพคุณของจําปา วิธีการใช้ประโยชน์ของส่วนดอก ผล เมล็ด ราก ใบ หาคำตอบว่า จำปาช่วยบำรุงร่างกาย ต้านโรคได้จริงหรือ?

อ่านเพิ่ม