กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Diverticulitis (โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที

หากอาการเจ็บป่วยนี้ไม่ได้รับการรักษาก็อาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

ในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี โครงสร้างที่เป็นพวงและมีขนาดเล็กที่เรียกว่า diverticula นี้มักจะก่อตัวอยู่ในทางเดินอาหาร ถ้าลำไส้ diverticula เหล่านี้ติดเชื้อหรืออักเสบ อาการป่วยที่เรียกว่าถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ diverticulitis ก็จะสามารถก่อตัวขึ้นได้ โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบอาจสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยได้และหากไม่ได้รับการรักษาก็อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) มีคนที่มีลำไส้ ซึ่งกำลังพัฒนาให้กลายเป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบมากถึง 25% และครึ่งหนึ่งของคนอเมริกันจะมีการก่อตัวของลำไส้ diverticula เมื่อพวกเขามีอายุ 60 ปี

สาเหตุ 

Diverticula จะก่อตัวขึ้นเมื่อชั้นเนื้อเยื่ออ่อนภายในของลำไส้สส่งผ่านมายังภายนอกซึ่งเรียกว่า ชั้นกล้ามเนื้อ ก่อตัวเป็นเหมือนกับกระเป๋าหรือกระพุ้งเป็นพวง ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุดในตำแหน่งที่กล้ามเนื้อของลำไส้อ่อนแอที่สุด โดยเฉพาะในลำไส้ใหญ่ (sigmoid colon)

Diverticula ส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายและอาจปรากฏให้เห็นได้เวลาไปตรวจสุขภาพ เช่น การ X-rays หรือการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนล่าง colonoscopies ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการใดๆ เลยก็ตาม ยังไม่มีต้นตอที่แน่ชัดว่าเหตุใด diverticula จึงก่อตัวขึ้น ถึงแม้ว่างานวิจัยบางงานแนะนำว่าคนที่ทานอาหารไฟเบอร์ต่ำมีแนวโน้มที่จะพัฒนา diverticula มากกว่าคนที่กินอาหารมีไฟเบอร์สูงก็ตาม

การทานอาหารไฟเบอร์ต่ำตลอดอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ซึ่งในทางกลับกันแล้วสามารถทำให้ความดันในระบบทางเดินอาหารสูงขึ้นได้และเกิดการรัดของกล้ามเนื้อลำไส้ขณะที่ลำไส้มีการเคลื่อนไหวได้ เชื่อกันว่าการที่เกิดทั้งความดันและการรัดนี้จะทำให้กล้ามเนื้อลำไส้อ่อนแออย่างต่อเนื่องและกล้ามเนื้อที่อ่อนแอนี้ส่งผลให้ง่ายต่อการสร้าง diverticula การศึกษาหลายๆ งานได้โยงการสร้างพวง diverticula เหล่านี้กับ

  • โรคอ้วน
  • การบริโภคเนื้อแดง
  • มีพฤติกรรมแน่นิ่งหรือเคลื่อนไหวน้อย (Sedentary behavior)

แพทย์และนักวิจัยยังไม่แน่ใจว่า สาเหตุใดที่ทำให้ diverticula เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ แต่พวกเขาได้ระบุถึงสาเหตุที่น่าจะเป็นไปได้หลายประการ

ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดคือการที่ความดันในลำไส้ใหญ่เพิ่มสูงขึ้น โดยเกิดจากอาการท้องผูกหรือปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารอื่นๆ ซึ่งสามารถนำไปสู่การฉีกขาดของผนังของถุง diverticulum แบคทีเรียหรือสิ่งปฏิกูลหนักๆ ในอุจจาระที่อยู่ในลำไส้สามารถฝังอยู่ในถุง diverticulum ได้และเป็นเหตุให้เกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อ

เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่ทฤษฎีสุดท้ายนี้อธิบายว่าทำไมแพทย์ทั้งหลายจึงแนะนำไม่ให้คนที่มีโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (มี diverticula) กินถั่ว เมล็ดพืชต่างๆ หรือป๊อปคอร์น ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าจะเป็นตัวปิดกั้นช่องของ diverticula และจะไปจุดชนวนให้เกิดการอักเสบของถุงผนังลำไส้ใหญ่ได้

อย่างไรก็ตาม การวิจัยยังไม่เคยพิสูจน์ให้เห็นว่าการทานอาหารเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาให้เกิดโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบจริงหรือไม่ ดังนั้นแพทย์จึงไม่ได้เตือนคนไข้ให้เลิกกินอาหารดังกล่าวอีกแล้ว ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากอาหารซึ่งสามารถเพิ่มแนวโน้มในการเกิดโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ ได้แก่

  • อายุ
  • ระดับของเซโรโทนิน ในสมองลดลง
  • พันธุกรรม
  • โรคอ้วน
  • ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • การสูบบุหรี่

ยาหลายตัวก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ ได้แก่

  • สเตอรอยด์
  • โอปิแอต (Opiates)
  • ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)

อาการและการวินิจฉัยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

ความเจ็บปวดเป็นอาการของโรคทางระบบย่อยอาหารที่พบได้บ่อยที่สุด

ถ้าคุณเป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ คุณอาจสังเกตได้ถึงสัญญาณหรืออาการ ดังต่อไปนี้

ถ้าคุณเคยมีอาการเหล่านี้แล้วล่ะก็ คุณควรจะไปปรึกษากับแพทย์ คนที่เป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยการพักผ่อน การทานยาแอนติไบโอติกส์ และอาหารน้ำใส อย่างไรก็ตาม การปล่อยอาการเหล่านี้ไปโดยไม่ได้รักษาสามารถส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งบางอย่างนั้นอันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว

อาการเจ็บถุงผนังลำไส้ใหญ่

อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการเจ็บแปลบในช่องท้องด้านซ้ายล่าง ซึ่งสอดคล้องกับตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (แต่ก็มีบางเคสที่จะเจ็บบริเวณช่องท้องด้านขวาล่าง) อาการเจ็บอาจเกิดขึ้นฉับพลันและรุนแรงหรืออาการอาจหนักขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาการเจ็บยังอาจเป็นๆ หายๆ ได้อีกด้วย ซึ่งระดับความเจ็บที่เกิดจากโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อและขึ้นอยู่กับว่าเชื้อนั้นแพร่ลามไปยังส่วนอื่นของร่างกายหรือไม่

เลือดออกที่ลำไส้ใหญ่

คนที่มีถุงโป่งอาจสังเกตเห็นเลือดที่อุจจาระเพราะมีเลือดออกทางทวารหนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดแดงเล็กๆจำนวนหนึ่งหรือมากกว่าในถุงโป่งที่ลำไส้ถูกกัดกร่อนและมีเลือดออกไหลเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ประมาณ 50% ของคนที่มีเลือดออกที่ถุงโป่งของลำไส้ใหญ่จะเห็นว่าอุจจาระเป็นสีแดงเข้มหรือสีแดงอ่อน ซึ่งส่วนมากแล้วอาการนี้ไม่ได้สร้างความเจ็บแต่อย่างใดและสามารถหายเองได้

อย่างไรก็ตาม เพราะเลือดที่ออกทางทวารหนักสามารถบ่งบอกถึงความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยได้ เช่นเดียวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือการมีเลือดออกภายใน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นคุณคงต้องไปหาหมอในทันทีเพื่อหาสาเหตุของอาการ ในบางเคส การมีเลือดออกในถุงโป่งที่ลำไส้ใหญ่อาจรุนแรงเป็นอย่างมาก ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า diverticular hemorrhage

อาการที่รุนแรงขึ้นของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

อาการดังต่อไปนี้อาจเป็นอาการที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ ประกอบด้วย

  • มีไข้มากกว่า 100 องศาฟาเรนไฮ (38 องศาเซลเซียส)
  • อาการปวดท้องรุนแรง
  • กลืนของเหลวไม่ได้
  • ความดันโลหิตต่ำ

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคถุงผนังลำไส้อักเสบนี้อาจไม่สัมพันธ์กับโรคสักเท่าไหร่ แต่ภาวะดังกล่าวอาจรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งถ้าคุณเป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบและมีอาการดังกล่าว คุณควรไปตรวจสุขภาพกับแพทย์แล้วล่ะ

การวินิจฉัยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ แพทย์จะทำการ

  • รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาทั้งหมดของคุณ รวมทั้งสุขภาพก่อนมีอาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบและปัจจัยเสี่ยง
  • ตรวจช่องท้องเพื่อเช็คว่ามีอาการปวดหรือไม่
  • ตรวจทวารหนักเพื่อเช็คว่ามีเลือดออกทางทวารหนักหรือไม่
  • ตรวจเลือดเพื่อเช็คเซลล์เม็ดเลือดขาวและพิจารณาว่าคุณติดเชื้อหรือไม่
  • สั่งให้มีการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อให้ได้ภาพลำไส้ใหญ่และพิจารณาว่ามีถุงโป่งลำไส้ใหญ่หรือไม่และถ้ามีถุงโป่งนั้นเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อหรือไม่

การตรวจที่ใช้เพื่อวินิจฉัยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ คือ

  • CT สแกน – จะใช้ทั้งการเอ็กซเรย์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อฉายภาพลำไส้ใหญ่ให้เป็นภาพสามมิติ ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบมากที่สุด
  • สวนแป้งแบเรียม – เป็นการตรวจแบบเอ็กซเรย์อีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นของเหลวที่มีส่วนประกอบของแบเรียมถูกฉีดเข้าไปในลำไส้ใหญ่ตรงส่วนที่เป็นชั้นของเยื่อบุลำไส้ซึ่งจะช่วยให้สามารถจับภาพของลำไส้ใหญ่ได้ชัดเจน
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) – จะใช้ท่อที่ยาวและยืดหยุ่นได้แทรกตัวเข้าไปทางทวารหนัก โดยจะมีกล้องถ่ายวีดิโอติดอยู่ที่ปลายของท่อ กล้องจะช่วยให้แพทย์เห็นภายในของลำไส้ใหญ่และสามารถพิจารณาว่ามีถุงโป่งอยู่ในลำไส้ใหญ่หรือไม่และถ้ามีแล้วมันอักเสบหรือติดเชื้อหรือไม่
  • การเอ็กซเรย์ช่องท้อง – การอัลตราซาวนด์และการตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) สามารถนำมาใช้วินิจฉัยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบได้ถึงแม้จะไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากราคาแพงก็ตาม

การรักษาโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

คนที่เป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดทุกเคส

ถ้าคุณเป็นคนสุขภาพดีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อคุณเกิดติดเชื้อหรือมีการอักเสบอาการของคุณจะไม่รุนแรง แพทย์มีแนวโน้มที่จะรักษาโดยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด การรักษาตัวที่บ้านเพื่อรักษาอาการถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบของคุณ มีดังต่อไปนี้

ยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้างที่นิยมใช้ ได้แก่

ยาบรรเทาอาการปวดที่ขายทั่วไป (OTC) ที่ใช้ในการรักษาโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ ได้แก่ ยาอะเซตามีโนเฟ่น (Tylenol) หรือยาพาราเซตามอล ยารักษาอาการปวดที่มีฤทธิ์แรงกว่านี้จะไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากจะไปเพิ่มความดันในลำไส้ใหญ่ได้ จากการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวนี้ อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบจะดีขึ้นภายใน 48 ถึง 72 ชั่วโมง แพทย์อาจกำหนดวันนัดเพื่อติดตามผลหลายครั้งเพื่อประเมินอาการป่วยของคุณ

ถ้าคุณมีอาการปวดมากขึ้น เป็นไข้ หรือไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรือของเหลวอื่นๆ ได้ คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของการเกิดอาการท้องผูกจากโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ ได้ แพทย์อาจแนะนำให้คุณรักษาในโรงพยาบาลถ้าคุณมีคุณลักษณะหรืออาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอายุมากกว่า 85 ปี
  • ไม่สามารถทานของเหลวได้
  • ยังมีอาการป่วยอื่นๆ อยู่
  • อาการอักเสบหรือการติดเชื้อของคุณรุนแรงเป็นพิเศษ

อาหารสำหรับคนที่เป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

เมื่อคุณได้รับการรักษาแล้ว หมออาจแนะนำให้คุณปรับคืนการรับประทานอาหารที่เป็นของแข็งอย่างค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบส่วนใหญ่ถูกกำหนดให้ทานอาหารไฟเบอร์สูง หมอบางคนอาจแนะนำให้ทานอาหารเสริมอื่นๆ ด้วย เช่น กลูตามิน (กรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ช่วยในการย่อยอาหาร) น้ำมันปลา (กรดไขมัน โอเมก้า3สูง) เมล็ดแฟล็กซ์หรือโพรไบโอติกส์ (ที่ช่วยในการรักษาสุขภาพในลำไส้) คุณควรปรึกษากับแพทย์ก่อนจะเพิ่มอาหารเสริมใหม่ๆ ในอาหารของคุณเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบหรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ

การผ่าตัดรักษาโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

คนที่เป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีที่ไม่ใช่การผ่าตัดได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ประมาณ 15-30% ของผู้ป่วยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเนื่องจากพวกเขาไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ อาการป่วยของพวกเขามีความซับซ้อนเพราะปัจจัยอื่นๆ หรือพวกเขามีอาการอักเสบมาแล้วหลายครั้ง

การผ่าตัดที่ตัดเอาส่วนที่ติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารออกสามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แพทย์อาจให้คุณพิจารณาการผ่าตัดในกรณีที่

  • คุณมีอาการโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบเฉียบพลันมาแล้วสองครั้งหรือมากกว่าซึ่งรักษาหายแล้วโดยไม่ได้ผ่าตัด
  • คุณเคยมีอาการโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบเพียงครั้งเดียวซึ่งต้องรักษาในโรงพยาบาลและคุณมีอายุน้อยกว่า 40 ปี
  • คุณมีอาการถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบครั้งหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ฝี เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ลำไส้อุดตัน หรือการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ
  • เป็นไปได้ว่าอาจมีมะเร็งในลำไส้ใหญ่

ถ้าคุณและแพทย์ของคุณตัดสินใจว่าการผ่าตัดเป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุดแล้ว กระบวนการดังต่อไปนี้อาจถูกพิจารณา

  • การตัดลำไส้ออก (colectomy)
  • สายสวนหรือสายระบาย (Percutaneous catheter)
  • โคลอสโตมี (Colostomy)

ในการตัดลำไส้ออกหรือ colectomy นั้น ศัลยแพทย์จะเอาส่วนของลำไส้ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากการอักเสบออกและเชื่อมต่อส่วนของลำไส้ที่เหลือใหม่ให้คุณ มีไม่กี่กรณีที่ลำไส้ใหญ่ถูกตัดออกทั้งหมด กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า total colectomy ตามธรรมเนียมแล้ว ศัลยแพทย์จะทำการตัดลำไส้ออดและทำการ colectomy โดยทำแผลเป็นแผลเดียวและแนวตั้งในช่องท้องผู้ป่วย

อย่างไรก็ตาม ศัลยแพทย์ในปัจจุบันยังดำเนินการที่เรียกว่า (การผ่าตัดผ่านกล้อง laparoscopic surgery) ซึ่งเป็นวิธีที่จะมีแผลเล็กๆ มากมายในช่องท้อง ปกติจะอยู่ใกล้กับส่วนล่างของพุง เครื่องมือและท่อส่องเรียกว่า laparoscope จะถูกใส่เข้าไปในช่องท้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการผ่าตัด

จะผ่าตัดผ่านกล้องหรือผ่าตัดแบบเปิดดี ?

การศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าการผ่าตัดผ่านกล้องอาจให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นต่อผู้ป่วยในระยะสั้นและระยะยาวมากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแบบเดิม เวลาในการพักฟื้นและการอยู่โรงพยาบาลสำหรับกระบวนการนี้อาจส้นกว่าด้วย โดยสามารถให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติหลังการผ่าตัดได้เร็วกว่า คุณควรคุยกับแพทย์ของคุณทั้งเรื่องประโยชน์และความเสี่ยงของกระบวนการเหล่านี้ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะผ่าตัดแบบใด

รังสีแพทย์ร่วมรักษา (interventional radiologist) จะใช้สายระบาย (percutaneous catheter) (ผ่านผิวหนัง) เพื่อระบายน้ำที่ติดเชื้อและ diverticula ที่เป็นฝีหนอง กระบวนการนี้ไม่เกี่ยวกับการตัดส่วนของลำไส้ออกแต่อย่างใด วิธี colostomy มักจะมาพร้อมกับการตัดลำไส้ออกหรือวิธี colectomy ถ้าลำไส้ของคุณอักเสบอย่างรุนแรงและอาจไม่มีการเชื่อมต่อส่วนของลำไส้ที่เหลือใหม่หลังจากตัดส่วนที่ติดเชื้อออก

ถ้าเป็นกรณีดังกล่าว ศัลยแพทย์ของคุณจะทำการเปิดผนังช่องท้องของคุณ (เรียกว่า colostomy) และเชื่อมต่อลำไส้เข้ากับส่วนที่เปิดนี้ ถุงที่ถูกตัดออกจะถูกแนบไว้กับด้านนอกของโพรงเพื่อเก็บอุจจาระจนกว่าการผ่าตัดเอาลำไส้ออกจะสามารถดำเนินการได้ ในบางกรณี การผ่าตัดออกไม่สามารถทำได้เนื่องจากต้องตัดเอาส่วนของลำไส้ขนาดใหญ่ออก กรณีเหล่านี้จะใช้วิธี colostomy เท่านั้น

ภาวะแทรกซ้อนจากถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis)

หากไม่ได้รับการรักษา ถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) สามารถนำไปสู่ภาวะอันตรายถึงชีวิตได้

ประมาณหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) พบภาะวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและบางครั้งเป็นอันตรายถึงชีวิต หากคุณเป็นถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) และมีอาการเหล่านี้ คุณอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้

  • ไข้สูงกว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส)
  • อาการปวดท้องรุนแรง หรือเป็นมากขึ้น
  • ดื่มน้ำได้น้อย
  • ความดันโลหิตต่ำ

ตัวอย่างภาวะแทรกซ้อนที่พบในถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) ได้แก่

  • ฝีหนอง
  • รูทะลุผ่าน/ฝีคัณฑสูตร (fistula)
  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis)
  •  เลือดออกทางทวารหนัก
  •  ภาวะลำไส้อุดกั้น

ผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) และฝีหนอง (Abscesses)

ฝีหนอง คือ บริเวณที่มีการสะสมของเซลล์เม็ดเลือดขาว และแบคทีเรีย ซึ่งสร้างอยู่ในร่างกาย เรียกโดยรวมว่าหนอง ฝีหนองมักจะมีอาการบวมและอักเสบร่วมด้วย ทำให้มีอาการไม่สบายท้อง หรือปวดท้องรุนแรงได้ ฝีหนองสามารถเกิดขึ้นที่บริเวณอื่นได้ มีต้นกำเนิดมาจากการติดเชื้อที่ถุงผนังลำไส้ใหญ่ลามลงไปที่บริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ช่วงเชิงกราน หรือเยื่อยึดติดลำไส้ซึ่งทำหน้าที่ยึดลำไส้กับบริเวณด้านหลังของช่องท้อง

มีผู้ป่วยถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) แค่ประมาณ 15% เท่านั้นที่กลายเป็นฝีหนอง ฝีหนองขนาดเล็กบางส่วน (เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2 เซนติเมตร) อาจหายเองได้ จากการได้รับยาฆ่าเชื้อ ฝีหนองที่มีขนาดใหญ่อาจต้องนำออกด้วยการใช้เครื่องมือท่อพลาสติกขนาดเล็กเจาะผ่านทางชั้นผิวหนัง แพทย์ของคุณอาจแนะนำการผ่าตัดเปิดรูที่บริเวณผิวหนัง เรียกว่า สโตมา (Stoma) ซึ่งจะใช้เป็นทางระบายหนองได้

ถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) และเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis)

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) คือ ภาวะที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง (Peritoneum) ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางคล้ายผ้าไหม วางตัวอยู่ในช่องท้อง เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) ที่พบร่วมกับถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) เกิดขึ้นเมื่อการติดเชื้อจากถุงผนังลำไส้ใหญ่ลุกลามออกไป ผ่านทางรูทะลุที่ผนังลำไส้ไปสู่ช่องท้อง

อาการที่พบได้แก่

  • ปวดท้องรุนแรง
  • ไข้หนาวสั่น
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • เรอ

เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) สามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้ ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) จึงเป็นอันตรายต่อชีวิต และต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วน ผู้ป่วยถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) ที่มีเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) ร่วมด้วย จึงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดโดยเร่งด่วน เพื่อนำลำไส้ใหญ่ส่วนที่ติดเชื้อออก ซึ่งอาจจำเป็นต้องผ่าตัดครั้งที่สอง เพื่อนำลำไส้ส่วนที่ยังดีอยู่มาเชื่อมต่อกัน

ถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) และรูทะลุผ่าน (Fistula)

รูทะลุผ่าน (Fistula) เป็นทางผ่านผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างอวัยวะที่มีช่องว่างสองอวัยวะ เช่น ลำไส้ใหญ่ กับกระเพาะปัสสาวะ หรือระหว่างอวัยวะ กับผนังด้านในของร่างกาย รูทะลุผ่าน (Fistula) ที่พบในถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) เกิดในกรณีที่ถุงผนังลำไส้ใหญ่นั้นอยู่ใกล้ หรือสัมผัสกับอวัยวะข้างเคียง หากถุงผนังลำไส้ใหญ่แตกออก การติดเชื้อจะลุกลามไปสู่อวัยวะอื่น ๆ เกิดเป็นทางผ่านเชื่อมต่อระหว่างสองอวัยวะ

รูทะลุผ่าน (Fistula) พบได้บ่อยในเพศชาย อย่างไรก็ตาม ในเพศหญิงที่เคยผ่าตัดตัดมดลูกออก จะมีความเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากมดลูกที่ทำหน้าที่กั้นอยู่ระหว่างลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะถูกนำออก รูทะลุผ่าน (Fistula) ที่พบในถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) มักเกิดระหว่างลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะ และสามารถนำไปสู่การติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะ หรือทางเดินปัสสาวะได้ 

รูทะลุผ่าน (Fistula) สามารถเกิดระหว่างอวัยวะอื่น ๆ ได้เช่น

เลือดออกที่ถุงผนังลำไส้ใหญ่ (Diverticular bleeding)

เลือดออกที่ถุงผนังลำไส้ใหญ่ (Diverticular bleeding) เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดขนาดเล็กที่อยู่ภายในถุงผนังลำไส้ใหญ่เกิดการแตกออก ทำให้มีเลือดไหลซึมออกมาสู่ลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยที่มีเลือดออกที่ถุงผนังลำไส้ใหญ่จะสังเกตว่ามีเลือดสด หรือเลือดสีน้ำตาลอมแดงปนติดมากับอุจจาระ ในกรณีส่วนใหญ่ ภาวะนี้มักหายได้เอง อย่างไรก็ตาม

ภาวะเลือดออกทางทวารหนักสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น ดังนั้น หากคุณประสบกับภาวะแทรกซ้อนนี้ คุณควรรีบพบแพทย์ ในบางกรณีภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ยาก เช่น เลือดออกที่ถุงผนังลำไส้ใหญ่รุนแรง (Diverticular hemorrhaging) ที่มักพบในผู้สูงอายุ สามารถทำให้เกิดอาการอ่อนแรง หรือวิงเวียนศีรษะ และพบเลือดปริมาณมากในอุจจาระได้ ในบางกรณี ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องได้รับเลือด เช่นเดียวกับการผ่าตัดนำลำไส้ใหญ่ส่วนที่มีเลือดออกออก

ลำไส้อุดกั้น (Bowel obstruction) และถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis)

การอักเสบของถุงผนังลำไส้ใหญ่สามารถทำให้ช่องว่างในลำไส้แคบลงได้ ทำให้สิ่งที่จะถูกกำจัดออกนอกร่างกายเคลื่อนที่ได้ยาก การแคบลงนี้ เรียกอีกอย่างว่า การตีบแคบ (stricture) หากการตีบแคบ (stricture) นี้ เป็นผลมาจากการอักเสบ การตีบแคบ (stricture) จะหายไปเองได้ เมื่อการอักเสบหายไป อย่างไรก็ตาม การตีบแคบ (stricture) อาจเป็นผลมาจากการเป็นถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบติดต่อกัน เมื่อเวลาผ่านไป

การอักเสบของถุงผนังลำไส้ใหญ่จะนำไปสู่การเกิดแผลเป็นในลำไส้ ทำให้ทางเดินอาหารแคบลง ผลที่ได้คือ จะเกิดการตีบแคบที่ไม่เกี่ยวกับการอักเสบได้ อาจต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อแก้ไข หากลำไส้มีการถูกกั้นโดยสมบูรณ์จากแผลเป็นที่เกิดขึ้น ภาวะนี้เรียกว่า ทางเดินอาหารหรือลำไส้อุดกั้น (intestinal blockage or bowel obstruction) ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นอันตรายถึงชีวิต และเช่นเดียวกัน สามารถนำไปสู่ภาวะลำไส้ฉีกขาดหรือเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ (Peritonitis) ภาวะที่ลำไส้อุดกั้นโดยสมบูรณ์ต้องอาศัยการผ่าตัดฉุกเฉิน ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้จะมีอาการปวดท้องที่รุนแรงมาก มีอาการคลื่นไส้ และไม่สามารถผายลม หรือมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้

กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome; IBS) และถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis)

มีรายงานการศึกษาในปี 2013 ถูกเผยแพร่ใน The Journal Clinical Gastroenterology and Hepatology มีสาระสำคัญว่า ผู้ป่วยถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) อาจมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) ได้


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tim Newman, Everything you need to know about diverticulitis (https://www.medicalnewstoday.com/articles/152995.php), January 9, 2018
nhs.uk, Diverticular disease and diverticulitis (https://www.nhs.uk/conditions/diverticular-disease-and-diverticulitis/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
การทำงานของ Diverticula คืออะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้ามีอาการคันที่บริเวณรูทวารบ่อย อยากทราบว่ามีสาเหตุจากอะไรบ้างคะ ตกขาวมีสีขาวๆเป้นก้อนๆ บางก้เป้นสีใสๆเหลวๆ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สวัสดีค่ะ ถ่ายออกมาแล้ว มีเลือดสีแดงสดปนมาด้วย ออกค่อนข้างเยอะ แต่ไม่มีลิ่มเลือดนะคะ เป็นประมาณ 1 สัปดาห์แล้ว มีความเสี่ยงเป็นอะไรได้บ้างคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)