กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 16 นาที
โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ (Diverticular disease) และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (diverticulitis) คือภาวะระบบย่อยอาหารที่ส่งผลต่อลำไส้ใหญ่ (colon)

ในกรณีของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ (Diverticular disease) จะเกิดถุงหรือกระเปาะขนาดเล็ก (diverticula) ขึ้นบนผนังเยื่อบุลำไส้ ส่วนโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (diverticulitis) คือภาวะที่ถุงเหล่านั้นเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อขึ้น

อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่มีดังนี้: ปวดท้องน้อย รู้สึกท้องอืด

กระนั้น ผู้ป่วยภาวะนี้ส่วนมากจะไม่มีอาการใด ๆ (เรียกภาวะไม่มีอาการจากโรคนี้ว่า diverticulosis)

อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบจะมีความรุนแรงมากกว่า ดังนี้: มีอาการปวดท้องรุนแรง โดยเฉพาะทางด้านซ้าย มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ท้องร่วงหรือมีการเคลื่อนตัวของลำไส้ใหญ่บ่อยครั้ง

ภาวะ Diverticulosis โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

Diverticula

“Diverticula” คือคำศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้อธิบายถึงถุงหรืออาการบวมขนาดเล็กที่เกิดขึ้นข้างลำไส้ใหญ่

Diverticula เป็นภาวะที่พบบ่อยและเกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้น สาเหตุการเกิดภาวะนี้คาดกันว่าเป็นเพราะลำไส้ใหญ่จะอ่อนแอลงตามอายุ และแรงกดจากอุจจาระแข็ง ๆ ที่เคลื่อนตัวผ่านลำไส้ทำให้ลำไส้มีถุงนี้เบ่งออกมา

คาดกันว่ามีผู้ที่มีภาวะ Diverticula ตอนอายุ 40 ปีประมาณ 5% และอย่างน้อยผู้คน 50% จะมีภาวะนี้เมื่อมีอายุถึง 80 ปี

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ (Diverticular disease)

ผู้คน 1 ใน 4 ที่มีภาวะ Diverticula จะเริ่มมีอาการต่าง ๆ อย่างปวดท้องขึ้นมา

หากมีอาการจากภาวะ Diverticula จะเรียกโรคนี้ว่าโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ (Diverticular disease)

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis)

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (diverticulitis) คือภาวะติดเชื้อที่เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปติดอยู่ภายในถุง Diverticula จนทำให้เกิดอาการรุนแรงต่าง ๆ ตามมา

 โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่นฝีเกิดขึ้นข้างลำไส้ เป็นต้น

การรักษาโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

อาหารกากใยสูงสามารถบรรเทาอาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ได้ และคุณก็สามารถใช้ยาพาราเซตตามอลบรรเทาอาการปวดลงได้ แต่สำหรับยาแก้ปวดประเภทอื่น ๆ เช่นแอสไพรินหรืออิบูโพรเฟนนั้นจะไม่แนะนำให้คุณใช้เป็นระยะเวลานาน ๆ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ และควรปรึกษาแพทย์หากว่าคุณใช้ยาพาราเซตตามอลไม่ได้ผล

สำหรับโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดไม่รุนแรงสามารถรักษาได้เองที่บ้านด้วยยาปฏิชีวนะที่จัดจ่ายโดยแพทย์ แต่กรณีที่เป็นรุนแรงจะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อน

การผ่าตัดกำจัดส่วนของลำไส้ที่เกิดภาวะจะดำเนินการกับผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคร้ายแรง แต่ก็นับว่าเกิดเช่นนี้ได้ยากมาก

ใครได้รับผลกระทบจากโรคนี้บ้าง?

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่เป็นภาวะระบบย่อยอาหารที่พบได้มากที่สุดอย่างหนึ่ง ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต่างมีความเสี่ยงต่อโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบเท่า ๆ กัน แต่ภาวะนี้ก็มักจะเกิดขึ้นกับผู้ชายอายุน้อยมากกว่าผู้หญิง (ต่ำกว่า 50 ปี)

โดยทั่วไปแล้ว อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปเสียมากกว่า

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่มักถูกเรียกว่าเป็น “โรคตะวันตก” เพราะคนในประเทศแถบยุโรปและอเมริกาเหนือจะมีอัตราพบโรคนี้สูงที่สุด และหาได้ยากตามประเทศแถบเอเชียและแอฟริกา

คาดกันว่าสาเหตุการเกิดโรคเป็นเพราะปัจจัยด้านพันธุกรรมและอาหารรวมกัน ซึ่งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่าชาวตะวันตกจะทานกากใยอาหารน้อยกว่าคนเอเชียนั่นเอง

ผู้ที่มีอายุ 50-70 ปีที่ทานกากใยอาหารสูง (25g ต่อวัน) จะมีโอกาสเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบต่ำกว่า 40% เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีช่วงอายุเดียวกันแต่ทานกากใยอาหารน้อย

อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบมีทั้งอาการปวดท้อง ท้องอืด และกิจลักษณะการเคลื่อนตัวของลำไส้ที่เปลี่ยนไปจากเดิม

Diverticulosis

หากมีการพบ diverticula ระหว่างการตรวจส่องกล้องหรือการสแกน CT ด้วยเหตุผลอื่น (colonoscopy) แต่คุณไม่เคยประสบกับอาการปวดท้องหรือท้องร่วงซ้ำซาก จะมีโอกาส 70-80% ที่คุณจะไม่มีอาการที่กล่าวมาเลย

ภาวะ diverticula เป็นภาวะที่พบได้บ่อยกับผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป และเป็นภาวะที่ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งแต่อย่างใด คาดกันว่าการทานอาหารกากใยสูงจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการต่าง ๆ ขึ้นมา

อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่

อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่คืออาการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ ในท้องน้อย มักจะเป็นตำแหน่งล่างซ้ายมือ

ความเจ็บปวดมักจะรุนแรงขึ้นขณะหรือหลังจากรับประทานอาหาร ซึ่งจะบรรเทาลงได้ด้วยการถ่ายหนักและผายลม

อาการระยะยาวของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่มีดังนี้: กิจจะลักษณะการเคลื่อนตัวของลำไส้เปลี่ยนแปลงไป เช่นมีอาการท้องผูกหรือท้องร่วง หรือมีท้องผูกหลายครั้งซึ่งตามด้วยท้องร่วงต่อ หรือมีการถ่ายหนักตอนเช้ามีลักษณะเหมือนขี้กระต่าย (เป็นเม็ด ๆ ) ท้องอืด

อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นคือมีเลือดสีม่วงคล้ำออกจากทวารหนัก ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากมีอาการปวดท้องคล้ายกับปวดจากท้องร่วง และมักเป็นอาการที่ต้องนำไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที กระนั้นก็ยังนับว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ไม่ทำให้น้ำหนักลด ดังนั้นหากคุณเริ่มมีน้ำหนักตัวลดลง พยายามตรวจสอบว่ามีเลือดปนอุจจาระของคุณหรือมีการเคลื่อนตัวของลำไส้เปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ หากมีให้รีบเข้าพบแพทย์ในทันที

อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

อาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบจะมีอาการเหมือนกับโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ แต่ความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบจะเกิดขึ้นรุนแรงและต่อเนื่องกว่า และมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่คุณประสบกับอาการอื่น ๆ ของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ และมักจะเกิดขึ้นยาวนานหนึ่งหรือสองวัน

อาการอื่น ๆ ของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบมีดังนี้: มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป รู้สึกเหน็ดเหนื่อยและไม่สบายเนื้อสบายตัว รู้สึกคลื่นไส้หรืออาเจียน

ความเจ็บปวดมักเกิดขึ้นใต้สะดือ ก่อนจะลามไปยังด้านซ้ายมือของหน้าท้อง

สำหรับชาวเอเชีย อาการปวดอาจเคลื่อนไปยังทางขวามือของหน้าท้อง เพราะว่าชาวเอเชียตะวันออกมักจะมี diverticula เกิดขึ้นบนตำแหน่งของลำไส้ที่ต่างจากชาวตะวันตกด้วยเหตุผลด้านพันธุกรรม

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ควรติดต่อแพทย์ทันทีที่คุณคาดว่าคุณมีอาการจากโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

หากคุณมีอาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ และเคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้มาก่อน คุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เนื่องจากอาการจากโรคนี้สามารถรักษาได้เองที่บ้าน

หากคุณยังไม่เคยถูกวินิจฉัยมาก่อน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อดำเนินการวินิจฉัยภาวะอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายคลึงกัน เช่น แผลในกระเพาะอาหาร (stomach ulcer) โรคตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis) cystitis' target='_blank'>โรคถุงน้ำดีอักเสบ (cholecystitis) มะเร็งลำไส้ กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome - IBS)

สาเหตุของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่เกิดจากการอักเสบของถุงขนาดเล็กภายในลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า diverticula และหากถุงนี้เกิดติดเชื้อ จะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

สาเหตุการเกิด diverticula ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับการไม่ได้รับกากใยอาหารเพียงพอ

กากใยอาหารทำให้อุจจาระของคุณอ่อนและมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้ลำไส้ใหญ่สร้างแรงดันน้อยลงในการผลักของเสียออกจากร่างกาย

แรงกดที่มีมากเกินกับการที่อุจจาระมีขนาดเล็กเกินจะทำให้เกิดจุดอ่อนแอบนเยื่อบุภายนอกของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะทำให้ชั้นภายใน (mucosa) ต้องบีบตัวผ่านจุดอ่อนแอเหล่านั้นจนสร้าง diverticula ขึ้นมา

แม้จะยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่สามารถยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างกากใยอาหารกับ diverticula ได้ แต่โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบต่างก็พบได้มากในประเทศแถบตะวันตกที่ซึ่งคนส่วนมากไม่นิยมทานกากใยอาหารกัน

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่

ยังไม่มีหลักฐานว่าเหตุใดผู้ที่มีภาวะ diverticula 1 ใน 4 ถุงเริ่มมีอาการของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบขึ้นมา ซึ่งหากจะกล่าวง่าย ๆ ว่าโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่เป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบที่มีระดับความรุนแรงต่ำก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่อย่างใด อีกทั้งอาการของโรคนี้ก็คล้ายกับกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome - IBS) อย่างมากอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เหมือนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่มีดังนี้: การสูบบุหรี่ การที่มีน้ำหนักร่างกายมาก หรือภาวะอ้วน (obese) ประวัติท้องผูก การใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs - NSAID) การที่มีญาติใกล้เคียงเป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะหากญาติเหล่านั้นเป็นโรคนี้ก่อนอายุ 50 ปี

กระนั้นสาเหตุการเกิดโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ขึ้นก็ยังคงนับว่าไม่ชัดเจนอยู่ดี

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบเกิดจากการติดเชื้อของถุง diverticula หนึ่งถุงขึ้นไป

คาดกันว่าการติดเชื้อเริ่มจากการที่มีเศษอุจจาระแข็ง ๆ หรืออาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์เข้าไปติดอยู่ในถุงนั้น ๆ จนทำให้แบคทีเรียเพิ่มจำนวนขึ้นในถุงและลุกลามออกไปจนกระตุ้นให้เกิดอาการของภาวะติดเชื้อต่อคนไข้

การวินิจฉัยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่ทำการวินิจฉัยได้ยากจากการสังเกตอาการเพียงอย่างเดียว เนื่องจากว่ามีภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกัน เช่นกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน เป็นต้น

ขั้นตอนแรกแพทย์จะแนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อกำจัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาวะอื่น ๆ อย่างโรคแพ้กลูเตน (coeliac disease) หรือมะเร็งลำไส้

ในบางกรณีคุณอาจได้รับการรักษาโรค IBS กับโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่พร้อมกันก็ได้

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่

เพื่อให้แพทย์มั่นใจว่าคุณไม่ได้เป็นภาวะร้ายแรงอื่น ๆ แพทย์จะส่งคุณไปรับการสอดกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ที่ซึ่งเป็นการสอดท่อยาวที่ยืดหยุ่นเข้าไปทางทวารหนักและนำขึ้นไปยังลำไส้ใหญ่ ซึ่งก่อนจะเริ่มกระบวนการ คุณจะได้รับยาระบายเพื่อกำจัดของเสียออกจากลำไส้ให้หมด

การส่องกล้องมักจะไม่สร้างความเจ็บปวดนอกจากความไม่สบายตัวเล็กน้อย คุณอาจได้รับยาแก้ปวดหรือยาระงับประสาทก่อนกระบวนการเพื่อช่วยให้คุณผ่อนคลายมากขึ้นตามความจำเป็น

CT pneumocolon หรือการตรวจลำไส้ เทคนิคมองหาภาวะ diverticula อีกอย่างคือการสแกนคอมพิวเตอร์ (computerized tomography - CT scan) โดย CT จะเป็นการใช้รังสีเอกซเรย์กับคอมพิวเตอร์สร้างภาพภายในร่างกายออกมา

เช่นเดียวกับการสอดกล้องส่องลำไส้ใหญ่ คุณจะได้รับยาระบายเพื่อกำจัดของเสียในลำไส้ก่อนเข้ารับการสแกน

ต่างจากการสแกน CT ตามปรกติ การสแกนลำไส้ใหญ่จะเป็นการสอดท่อที่มีปั๊มลมเข้าไปในทวารหนัก โดยการถ่ายภาพจะดำเนินการด้วยการให้คุณนอนคว่ำและสลับไปนอนหงาย

คุณอาจต้องได้รับการฉีดสารทึบรังสี (contrast dye) ก่อนการสแกน แต่ในบางกรณีก็อาจจะไม่จำเป็นก็ได้

การวินิจฉัยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

หากคุณมีประวัติสุขภาพเป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่มาก่อน แพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบได้จากการสอบถามอาการและการตรวจร่างกายของคุณ อาจมีการตรวจเลือดขึ้นเพื่อสังเกตจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่จะสูงขึ้นเมื่อร่างกายติดเชื้อ หากคุณมีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะทำการรักษาอาการต่าง ๆ ที่บ้าน และคุณควรจะฟื้นตัวดีภายใน 4 วัน

การทดสอบเพิ่มเติมจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่มาก่อน

หากคุณรู้สึกไม่สู้ดี แพทย์จะจัดการตรวจเลือดและสืบหาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ และเพื่อมองหาภาวะสุขภาพอื่น ๆ เช่นนิ่วถุงน้ำดี (gallstones) หรือไส้เลื่อน (hernia) เป็นต้น

อาจมีการสแกนอัลตราซาวด์หรือ CT สแกนตามความจำเป็น

การสแกน CT จะใช้กับกรณีที่อาการของคุณมีความรุนแรงเป็นพิเศษ เพื่อมองหาว่าคุณมีภาวะแทรกซ้อนอย่างเกิดการฉีกขาดหรือมีฝีหรือไม่

การรักษาโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

ตัวเลือกที่ใช้รักษาโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่กับโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของคุณ

การรักษาโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ส่วนมากจะสามารถรักษาได้เองที่บ้าน โดยมักเป็นการใช้ยาแก้ปวดทั่วไปอย่างพาราเซตตามอลบรรเทาอาการ

ยาแก้ปวดประเภทต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) อย่างแอสไพรินและอิบูโพรเฟนเป็นยาที่ไม่แนะนำเนื่องจากอาจทำให้ปวดท้อง และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกภายในขึ้น

การทานอาหารกากใยสูงเป็นขั้นตอนรักษาแรกเริ่ม ผู้ป่วยบางคนที่ทำเช่นนี้อาจสังเกตว่าอาการต่าง ๆ ดีขึ้นหลังจากผ่านไปไม่กี่วัน แต่ก็อาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะรู้สึกฟื้นตัวจากโรคโดยสมบูรณ์

หากคุณมีอาการท้องผูก คุณสามารถใช้ยาระบายชนิดที่ทำให้อุจจาระเกาะตัวมากขึ้น (bulk-forming laxative) ซึ่งจะทำให้เกิดลมและท้องอืด อีกทั้งการดื่มน้ำมาก ๆ ก็สามารถช่วยป้องกันการอุดตันภายในระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย

ภาวะเลือดออกจากทวารหนักต่อเนื่องหรืออย่างหนักจะเกิดกับผู้ป่วยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ประมาณ  1 จาก 20 คน และเป็นภาวะที่เกิดขึ้นหากหลอดเลือดภายในลำไส้ใหญ่เกิดอ่อนแอลงจากการมี diverticula ภาวะเลือดออกนี้มักจะไม่เจ็บปวด แต่หากคนไข้เสียเลือดมากก็จะกลายเป็นเรื่องร้ายแรงที่ต้องเข้ารับการถ่ายเลือดรักษาทันที

สัญญาณที่บ่งชี้ว่าคุณประสบกับภาวะเลือดออกอย่างหนัก (นอกจากปริมาณของเลือด) มีดังนี้: รู้สึกวิงเวียน สับสน ผิวซีด หายใจลำบาก

หากคุณคาดว่าตนเอง (หรือผู้ที่อยู่ในความดูแลของคุณ) ประสบกับภาวะเลือดออกอย่างหนัก ให้ไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

การรักษาโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

การรักษาที่บ้าน

โรคถุงผนังลำไส้อักเสบชนิดไม่รุนแรงสามารถรักษาได้เองที่บ้าน โดยแพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะมาให้คุณใช้ร่วมกับยาพาราเซตตามอล โดยสิ่งสำคัญคือการทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามกำหนดแม้จะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม

ยาปฏิชีวนะบางประเภทที่ใช้รักษาโรคถุงผนังลำไส้อักเสบอาจมีผลข้างเคียงกับผู้ป่วยบางราย เช่นอาเจียน และท้องร่วง

แพทย์อาจแนะนำให้คุณทานอาหารเหลวไปจนกว่าอาการจะดีขึ้น เพราะว่าการให้ลำไส้ย่อยอาหารแข็งจะทำให้อาการต่าง ๆ ทรุดลง โดยคุณสามารถค่อย ๆ เพิ่มอาหารแข็งเข้าไปได้ภายในช่วงเวลา 2 ถึง 3 วันถัดมา

ระหว่างช่วงพักฟื้น 3 ถึง 4 วัน คุณควรทานอาหารที่มีกากใยอาหารต่ำ ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณอุจจาระในลำไส้ใหญ่และเพื่อลดอาการอักเสบลง

การรักษาที่โรงพยาบาล

หากคุณมีอาการจากโรคถุงผนังลำไส้อักเสบรุนแรง คุณจำต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะหากว่า: อาการเจ็บปวดของคุณไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยาพาราเซตตามอล อาการเจ็บปวดของคุณมีมากจนไม่อาจดื่มน้ำได้ คุณไม่สามารถทานยาปฏิชีวนะเข้าปากได้ คุณมีสุขภาพโดยรวมอ่อนแอ คุณมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ แพทย์คาดการณ์ว่าคุณมีภาวะแทรกซ้อนจากโรค อาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังจากได้รับการรักษาไปแล้ว 2 วัน (ที่บ้าน)

หากคุณพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล คุณจะได้รับยาปฏิชีวนะแบบฉีด และได้รับน้ำเข้าเส้นเลือดผ่านตัวหยดยา (ท่อที่เชื่อมเข้าสู่เส้นเลือด) โดยผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 วัน

การผ่าตัด

ในอดีต การผ่าตัดจะมีเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคถุงผนังลำไส้อักเสบที่ประสบกับอาการสองครั้ง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

แต่การผ่าตัดไม่ได้เป็นวิธีการรักษาอีกแล้วเนื่องจากการศึกษาพบว่ากรณีส่วนมากผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดที่ร้ายแรงจนมากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับหลังการผ่าตัด (คาดกันว่าเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด 1 จาก 100 คน)

อย่างไรก็ตามก็มีข้อยกเว้นอยู่ เช่น: หากคุณมีประวัติสุขภาพเคยเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงจากโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ หากคุณมีอาการของโรคถุงผนังลำไส้ตั้งแต่อายุน้อย (คาดว่ายิ่งคุณอยู่ร่วมกับโรคถุงผนังลำไส้นานเท่าไร จะยิ่งมีโอกาสต่อภาวะแทรกซ้อนร้างแรงมากขึ้น) หากคุณมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีความอ่อนไหวต่อการติดเชื้อมาก

หากแพทย์นำการผ่าตัดมาพิจารณา ทั้งทีมรักษาจะทำการปรึกษาหารือเรื่องประโยชน์และความเสี่ยงกันก่อน

ในกรณีหายาก โรคถุงผนังลำไส้อักเสบที่เกิดอาการรุนแรงจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดฉุกเฉินเท่านั้น ซึ่งก็คือการเกิดรูฉีกบนลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ กระนั้นก็นับว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย แต่หากเกิดขึ้นจะทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง

การผ่าตัดลำไส้ใหญ่

การผ่าตัดรักษาโรคถุงผนังลำไส้อักเสบด้วยการนำส่วนของลำไส้ใหญ่ที่เป็นโรคออก (Colectomy) มีอยู่สองหัตถการดังนี้:

การผ่าตัดลำไส้ใหญ่แบบเปิด (open colectomy): ที่ซึ่งศัลยแพทย์จะทำการกรีดเข้าช่องท้องของคุณขนาดใหญ่ และนำส่วนของลำไส้ใหญ่ออกมา

การผ่าตัดลำไส้ใหญ่แบบรูกุญแจ (laparoscopic colectomy): ที่ซึ่งศัลยแพทย์ทำการเจาะรูขนาดเล็กบนหน้าท้องของคุณ ก่อนใช้เครื่องมือผ่าตัดพิเศษที่นำทางได้ด้วยกล้องนำลำไส้ใหญ่ออก

การผ่าตัดลำไส้ใหญ่แบบเปิดและการผ่าตัดลำไส้ใหญ่แบบรูกุญแจมีประสิทธิผลเทียบเท่ากัน และมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่คล้ายกัน แต่ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดลำไส้ใหญ่แบบรูกุญแจมักจะฟื้นตัวเร็วกว่าและมีความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่า

การผ่าตัดฉุกเฉินที่ดำเนินการกับลำไส้ที่ฉีกขาดมักจะดำเนินการด้วยการผ่าตัดแบบเปิด และอาจต้องทำการสร้างสโตม่า (stoma) ขึ้นมา

การผ่าตัดสโตม่า

ในบางกรณี ศัลยแพทย์อาจตัดสินใจปล่อยให้ลำไส้ใหญ่ของคุณฟื้นตัวเองด้วยการผ่าแยกเส้นทางของเสีย

ในกรณีเช่นนี้ การผ่าตัดสโตม่า (stoma surgery) จะนำมาพิจารณาเพื่อเปิดช่องทางเดินของเสียออกจากร่างกายใหม่โดยที่ไม่ใช้ลำไส้ใหญ่ทั้งส่วน โดยจะมีการติดถุงเข้าที่ผิวหนังของคุณเพื่อให้อุจจาระไหลเก็บในถุงนั้น

การผ่าตัดสโตม่าเป็นหัตถการที่ศัลยแพทย์สร้างรูขึ้นบนช่องท้อง ซึ่งช่องดังกล่าวจะเรียกว่าสโตม่า (stoma) และมีหัตถการสองวิธีที่สามารถดำเนินการได้:

ไอลีออสโตมี (ileostomy): เป็นการสร้างสโตม่าขึ้นมาบนด้านขวามือของหน้าท้อง ลำไส้เล็กของคุณจะถูกแยกออกจากลำไส้ใหญ่ และเชื่อมออกมาข้างนอกเป็นสโตม่า ซึ่งแพทย์จะทำการผนึกลำไส้ใหญ่ไว้ คุณจำต้องติดตั้งถุงกับสโตม่าเพื่อทำการเก็บกักของเสียที่ออกมา (อุจจาระ)

โคลอสโตมี (colostomy): เป็นการสร้างสโตม่าออกมานอกช่องที่ท้องน้อย และส่วนของลำไส้ใหญ่จะถูกนำออกมาก่อนติดเข้ากับสโตม่า เช่นเดียวกับวิธีไอลีออสโตมี คุณจำต้องติดถุงไว้รองรับของเสียเช่นกัน

กรณีส่วนมาก สโตม่าจะเป็นเพียงการทำชั่วคราว และจะถูกปลดออกเมื่อลำไส้ใหญ่ของคุณฟื้นตัวกลับมาจากการผ่าตัดแล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่คุณประสบก่อนเข้ารับการผ่าตัด หากเป็นหัตถกรรมเร่งด่วน คุณจำต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าอวัยวะจะฟื้นตัว

หากต้องทำการตัดลำไส้ใหญ่ออกขนาดใหญ่เนื่องจากการลุกลามของโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ หรืคุณมีภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้การผ่าตัดมีความเสี่ยงสูง คุณอาจจำต้องเข้ารับการผ่าตัดไอลีออสโตมี หรือโคลอสโตมีแบบถาวรแทน

ผลลัพธ์จากการผ่าตัด

โดยทั่วไป การผ่าตัดชนิดที่ไม่เร่งด่วนมักจะประสบความสำเร็จ แต่ก็อาจไม่สามารถรักษาให้หายโดยสมบูรณ์ได้ทุกกรณี คาดกันว่าจะผู้ป่วยในจำนวนนี้ 1 จาก 12 คนที่มีอาการของโรคถุงผนังลำไส้และโรคถุงผนังลำไส้อักเสบกลับมา

สำหรับกรณีผ่าตัดเร่งด่วนหรือฉุกเฉินนั้น อัตราความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยขณะที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคถุงผนังลำไส้อักเสบเกิดขึ้นกับผู้ป่วยภาวะนี้ 1 ใน 5 คน โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี

ตัวอย่างภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวพันกับโรคถุงผนังลำไส้อักเสบมีดังต่อไปนี้

ภาวะเลือดออก

ผู้ป่วยโรคถุงผนังลำไส้หรือโรคถุงผนังลำไส้อักเสบประมาณ 15% จะประสบกับภาวะเลือดออก ซึ่งผู้ป่วยมากกว่า 70-80% จะไม่มีความเจ็บปวดและใช้เวลาไม่นานหายไปเอง

อย่างไรก็ตามหากภาวะเลือดออกไม่หาย ผู้ป่วยต้องเข้ารับการถ่ายเลือด (blood transfusion) แบบฉุกเฉิน โดยอาจต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วนหากมีอาการเลือดออกมาก และหากรุนแรงมากขึ้น คุณต้องเข้าพักตัวที่โรงพยาบาลเท่านั้น

ปัญหาการขับถ่าย

โรคถุงผนังลำไส้อักเสบสามารถทำให้ส่วนของลำไส้ที่สัมผัสกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบขึ้นได้ ซึ่งนั่นจะเกิดปัญหากับระบบปัสสาวะขึ้นมา อย่างเช่น: ความเจ็บปวดขณะปัสสาวะ (dysuria) รู้สึกอยากปัสสาวะบ่อยกว่าปรกติ กรณีหายากอาจมีอากาศเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ

ฝี

ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงผนังลำไส้อักเสบคือเกิดฝีภายนอกลำไส้ใหญ่ โดยฝีคือตุ่มหรือก้อนเนื้อเยื่อที่เต็มไปหนอง ฝีบนลำไส้สามารถรักษาได้ด้วยเทคนิคที่เรียกว่าการระบายฝีผ่านผิวหนัง (percutaneous abscess drainage - PAD)

ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาด้วยรังสี (radiologist) จะใช้การสแกนอัลตราซาวด์ หรือ CT เพื่อชี้ตำแหน่งของฝีก่อนจะแทงเข็มขนาดเล็กที่เชื่อมกับท่อที่ลากผ่านผิวหนังหน้าท้องเข้าไปในฝี ท่อดังกล่าวจะดูดหนองออกจากฝี ซึ่งกระบวนการ PAD จะต้องดำเนินการโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่กับคนไข้เสียก่อน

ขึ้นอยู่กับขนาดของฝี กระบวนการอาจจำต้องดำเนินการหลายครั้งก่อนที่จะสามารถดูดหนองออกทั้งหมด ซึ่งหากฝีมีขนาดน้อยกว่า 4cm แพทย์จะสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

ฝีฟิสทูลา

ฝีฟิสทูลา (Fistula) คือภาวะแทรกซ้อนทั่วไปของโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โดยฟิสทูลาคืออุโมงค์ที่ผิดปรกติที่เชื่อมอวัยวะร่างกายสองส่วนเข้าด้วยกัน เช่นลำไส้กับผนังช่องท้องหรือกระเพาะปัสสาวะ

หากเนื้อเยื่อติดเชื้อสัมผัสเข้าด้วยกัน จะทำให้เนื้อเยื่อทั้งสองติดเข้าหากัน และหลังจากการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อ ฟิสทูลาจะสามารถก่อตัวขึ้นมาได้ ซึ่งจะนับเป็นภาวะอันตรายเพราะจะทำให้เชื้อแบคทีเรียภายในลำไส้ใหญ่เข้าไปสู่อวัยวะอื่นของร่างกายจนทำให้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ เช่นการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ (cystitis)

ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

กรณีหายาก การติดเชื้อที่ถุงในลำไส้ใหญ่ก็สามารถฉีกออกจนทำให้การติดเชื้อแพร่กระจายไปตามเยื่อบุช่องท้อง การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องจะเรียกว่าภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis)

ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบเป็นภาวะอันตรายถึงชีวิต และจำต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเร่งด่วน การผ่าตัดดำเนินการเพื่อดูดหนองออก และจำเป็นต้องดำเนินการด้วยการผ่าตัดคอโลสโตมี (colostomy)

ภาวะลำไส้อุดตัน

หากการติดเชื้อได้ทำลายลำไส้ใหญ่ของคุณจนเป็นแผลร้ายแรง ลำไส้จะเกิดการอุดตันบางส่วนหรือทั้งหมดได้ ซึ่งการอุดตันแบบทั้งหมดของลำไส้ใหญ่เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เพราะว่าเนื้อเยื่อของลำไส้ใหญ่จะเริ่มผุพังและแตกออกจนกลายเป็นภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบในที่สุด

การอุดตันบางส่วนของลำไส้ใหญ่ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉิน แต่ก็ควรต้องเข้ารับการรักษาอยู่ดี หากปล่อยทิ้งไว้ ภาวะนี้จะส่งผลต่อความสามารถในการย่อยอาหารและทำให้คุณมีความเจ็บปวดรุนแรง

การอุดตันที่ลำไส้ใหญ่จากโรคถุงผนังลำไส้เป็นภาวะหายากมาก ซึ่งภาวะสุขภาพอื่น ๆ อย่างมะเร็งยังจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า จึงเป็นสาเหตุที่คุณต้องให้แพทย์ตรวจสอบอาการของคุณ

ในบางกรณี การอุดตันของลำไส้สามารถกำจัดออกได้ด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ตามหากการอุดตันนั้นส่งผลเป็นวงกว้าง อาจต้องดำเนินการคอโลสโตมีชนิดถาวรหรือชั่วคราวขึ้นตามความจำเป็น

การป้องกันโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่และโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

การทานอาหารกากใยสูงจะช่วยป้องกันการเกิดโรคถุงผนังลำไส้อักเสบและโรคถุงผนังลำไส้ และยังสามารถบรรเทาอาการต่าง ๆ จากโรคทั้งสองได้

อาหารของคุณควรเป็นอาหารที่มีสารอาหารสมดุล และมีสัดส่วนของผลไม้และผักอย่างน้อย 5 ส่วนต่อวันรวมไปถึงธัญพืชรวม ผู้ใหญ่ควรทานอาหารกากใยสูง 18g ถึง 30g ต่อวันขึ้นอยู่กับความสูงและน้ำหนัก แพทย์จะสามารถกำหนดเป้าหมายน้ำหนักกับส่วนสูงของคนไข้แต่ละคนได้

หากคุณเริ่มประสบกับโรคถุงผนังลำไส้ แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณไม่ทานถั่ว ข้าวโพด และเมล็ดพืชเพื่อเลี่ยงการฉีกขาดของถุงในลำไส้ที่อาจทำให้เกิดโรคถุงผนังลำไส้อักเสบขึ้นมา บางคนสังเกตว่าพวกเขามีอาการขึ้นเมื่อทานอาหารเหล่านั้น อีกทั้งแพทย์ยังคงแนะนำให้คุณทาน Probiotics แม้จะไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่าอาหารประเภทนี้ได้ผลจริงหรือไม่

แหล่งของกากใยอาหาร

แหล่งของกากใยอาหารมีดังนี้: ผลไม้ ผัก ถั่ว ธัญญาหาร: แต่ควรอ่านปริมาณสารอาหารของซีเรียลแต่ละยี่ห้อเสียก่อน อาหารจำพวกแป้ง: เช่นขนมปัง ข้าว และเส้นพาสต้า

เมื่อคุณทานกากใยอาหารครบตามกำหนดแล้ว ควรพยายามทานกากใยให้มากเท่านั้นไปตลอดชีวิตเท่าที่คุณจะทำได้

ผลไม้สด

แหล่งของกากใยอาหารที่ดีคือผลไม้สด ซึ่งมีตัวอย่างผลไม้ดังนี้: อะโวคาโด: ผลอะโวคาโดขนาดกลางจะมีกากใยอาหาร 4.9g ลูกแพร์ (พร้อมเปลือก): ผลแพร์ขนาดกลางจะมีกากใยอาหาร 3.7g ส้ม: ส้มขนาดกลางจะมีกากใยอาหาร 2.7g แอปเปิ้ล: แอปเปิ้ลขนาดกลางจะมีกากใยอาหาร 2g ราสเบอร์รี่: ราสเบอร์รี่ 2 กำมือจะมีกากใยอาหาร 2g กล้วย: กล้วยขนาดกลางจะมีกากใยอาหาร 1.7g น้ำมะเขือเทศ: หนึ่งแก้วเล็ก (200ml) จะมีกากใยอาหาร 1.2g

ผลไม้ตากแห้ง

แหล่งของกากใยจากผลไม้ตากแห้งที่ดีมีดังนี้: ลูกพรุน: 3 เม็ดจะมีกากใยอาหาร 4.6g แอปริคอท: 3 ลูกจะมีกากใยอาหาร 4.6g

ผัก

แหล่งของกากใยจากผักมีดังนี้: 

 ถั่วอบ: ครึ่งกระป๋อง (200g) จะมีกากใยอาหาร 7.4g 

 ถั่วแดงต้ม: 3 ช้อนชาจะมีกากใยอาหาร 5.4g 

 ถั่วต้ม: 3 ช้อนชาจะมีกากใยอาหาร 3.6g 

 ถั่วฝรั่งเศสต้ม: 4 ช้อนชาจะมีกากใยอาหาร 3.3g 

 กะหล่ำดาวต้ม: 8 ลูกจะมีกากใยอาหาร 3.6g 

 มันฝรั่ง: ขนาดกลางจะมีกากใยอาหาร 2.4g 

 spring greens: 4 ช้อนชาจะมีกากใยอาหาร 2.1g 

 แครอทต้ม/ฝาน: 3 ช้อนชาจะมีกากใยอาหาร 2g

ถั่ว

แหล่งของกากใยอาหารจากถั่วมีดังนี้: อัลมอนด์: 20 เม็ดจะมีกากใยอาหาร 2.4g ถั่วลิสง: 1 ช้อนชาจะมีกากใยอาหาร 1.6g ถั่วรวม: 1 ช้อนชาจะมีกากใยอาหาร 1.5g ถั่วบราซิล: 10 เม็ดจะมีกากใยอาหาร 1.4g

ธัญญาหารเช้า/ ซีเรียล

แหล่งของกากใยอาหารจากซีเรียลมีดังนี้: 

 All-Bran): 1 ชามขนาดกลางจะมีกากใยอาหาร 9.8g 

 Shredded Wheat:  2 ชิ้นจะมีกากใยอาหาร 4.3g 

 Bran Flakes: 1 ชามขนาดกลางจะมีกากใยอาหาร 3.9g

Weetabix: 2 ชิ้นจะมีกากใยอาหาร 3.6g 

 muesli (ที่ไม่เติมน้ำตาล): 1 ชามขนาดกลางจะมีกากใยอาหาร 3.4g 

 ข้าวต้มนม: 1 ชามขนาดกลางจะมีกากใยอาหาร 2.3g

อาหารจำพวกแป้ง

แหล่งของกากใยอาหารจากอาหารจำพวกแป้งมีดังนี้: 

 ขนมปังกรอบ: 4 ชิ้นจะมีกากใยอาหาร 4.2g 

 ขนมปังธัญพืชรวม: 1 ชิ้น (75g) 

จะมีกากใยอาหาร 3.9g 

 พาสต้า: 1 ชามขนาดกลาง (200g) จะมีกากใยอาหาร 3.8g 

 naan bread: 1 ชิ้นจะมีกากใยอาหาร 3.2g 

 ขนมปังสีน้ำตาล: 2 แผ่นจะมีกากใยอาหาร 2.5g

อาหารเสริมไฟเบอร์: มักอยู่ในรูปของยาผงผสมกับน้ำที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา บ้างก็ใส่สารเพิ่มความหวานด้วย โดยการทานอาหารเสริมประเภทนี้หนึ่งช้อนชาจะมีกากใยอาหาร 2.5g ซึ่งหากคุณต้องการใช้ในระยะยาว ควรแจ้งให้แพทย์เป็นผู้จัดจ่ายให้จะดีที่สุด


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diverticular Disease: Epidemiology and Pathophysiology of Diverticular Disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2780269/)
Diverticular Disease & Bleeding: Causes, Symptoms, and Treatments. WebMD. (https://www.webmd.com/digestive-disorders/diverticular-disease)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชนิดของมะเร็งลำไส้
ชนิดของมะเร็งลำไส้

มะเร็งลำไส้ชนิดต่าง ๆ

อ่านเพิ่ม
มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4
มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

อ่านเพิ่ม
ฉันควรรับประทานอาหารอย่างไรหลังจากการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก
ฉันควรรับประทานอาหารอย่างไรหลังจากการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก

การเปลี่ยนแปลงอาหารเล็กๆ น้อยๆ หลังการผ่าตัดทำทวารเทียมจะช่วยให้ร่างกายของคุณปรับตัวได้

อ่านเพิ่ม