ไทฟอยด์

เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ไทฟอยด์

ไทฟอยด์ หรือไข้ไทฟอยด์ เป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต โดยเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซาโมเนลลา (Salmonella typhi.) ซึ่งองค์กรควบคุมโรค หรือ CDC (Center for Disease Control) พบว่า 21.5 ล้านคนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเป็นโรคไทฟอยด์ในแต่ละปี

เนื้อหา โรคไทฟอยด์

  • สาเหตุ
  • ปัจจัยเสี่ยง
  • อาการ
  • การวินิจฉัย
  • การรักษา
  • โรคแทรกซ้อน
  • การป้องกัน

สาเหตุ

ไทฟอยด์ หรือไข้ไทฟอยด์ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซาโมเนลลา (Salmonella typhi.) แพร่กระจายได้ง่ายในแหล่งน้ำปนเปื้อน หรืออาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยแบคทีเรียจะอยู่ในร่างกายบริเวณลำไส้และกระแสเลือด และส่งต่อไปยังอุจจาระและปัสสาวะ ดังนั้นการแพร่กระจายของโรคจึงเกิดจากสิ่งปฏิกูลเหล่านี้จากผู้ป่วยปะปนลงในแหล่งน้ำดื่ม หรืออาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการ

อาการของโรคจะเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อประมาณ 1-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ระยะฟักตัวของเชื้อประมาณ 7-14 วัน โดยอาการของโรคมีดังนี้

การวินิจฉัย

วินิจฉัยโดยการตรวจร่างกาย เพื่อหาอาการของโรค ทั้งนี้ต้องดูประวัติการใช้ยา ประวัติการเป็นโรค ประวัติการเดินทางของผู้ป่วยด้วย เพื่อประเมินการติดเชื้อ

ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count; CBC) หากเป็นโรคจะมีค่านี้ขึ้นสูง โดยปริมาณเม็ดเลือดขาว (WBC) จะสูง

  • การเพาะเชื้อ จะนำเลือดมาเพาะหาเชื่อแบคทีเรีย โดยจะทำตั้งแต่ช่วงแรกของการเริ่มเป็นโรค
  • การทดสอบด้วยวิธีอีไลซา (ELISA) เป็นการวินิจฉัยโรคโดยนำปัสสาวะผู้ป่วยมาตรวจสอบ เพื่อดูแบคทีเรียที่ก่อโรค
  • การตรวจโดยการใช้แอนติบอดี (Fluorescent antibody) วิธีนี้จะใช้สารใดก็ได้ที่มีความจำเพาะเจาะจงกับแบคทีเรียชนิดนี้มาทดสอบ
  • ปริมาณเกล็ดเลือด ผู้ป่วยจะมีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ
  • การเพาะเชื้อโดยใช้อุจจาระ เพื่อเป็นการตรวจหาเชื้อในอุจจาระ

การรักษา

ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น  ciprofloxacin หรือ ceftriaxone แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งเชื้อมีการดื้อต่อยาดังนั้นจึงต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง และควรดื่มน้ำสะอาดมากๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

โรคแทรกซ้อน

  • ไตวาย
  • เลือดออกในทางเดินอาหารอย่างรุนแรง
  • ลำไส้ทะลุ
  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบ

การป้องกัน

  • รักษาความสะอาดและรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • เตรียมอาหารด้วยวิธีที่ถูกสุขอนามัย
  • รับประทานอาหารที่ร้อนและปรุงสุกใหม่ๆ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานผักหรือผลไม้ดิบ และดื่มน้ำที่สะอาด
  • รักษาความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องครัว
  • หากต้องเดินทางไปในที่ที่มีความเสี่ยงของโรคควรรับวัคซีนก่อนที่จะเดินทาง

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Global Infectious Diseases Summer Program. Harvard T.H. Chan School of Public Health. (https://www.hsph.harvard.edu/immunology-and-infectious-diseases/summer-courses/)
Typhoid fever in paediatric patients in Quetta, Balochistan, Pakistan. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3817751/)
Typhoid: Symptoms, treatment, causes, and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/156859)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)