โรค ที่เกิดจากการขาดโภชนาการ ที่พบบ่อยในประเทศไทย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรค ที่เกิดจากการขาดโภชนาการ ที่พบบ่อยในประเทศไทย

1. ทุพโภชนาการ (Malnutrition)

ส่วนใหญ่เป็นการขาดสารอาหารมีเฉพาะบางกลุ่มที่มีการได้สารอาหารเกิน การขาดสารอาหาร มักพบในทารกที่ไม่ได้รับประทานนมมารดา และเด็กวัยก่อนเรียนแก้ไขได้โดยส่งเสริมให้เลี้ยงทารกด้วยนมมารดาและให้อาหารเสริมอย่างถูกต้องตามวัย

2. โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

 พบในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เพราะต้องเสียโลหิตเป็นประจำทุกเดือน สตรีระยะตั้งครรภ์และระยะสร้างน้ำนม และยังพบในทารกและเด็กก่อนวัยเรียนเนื่องจากรับประทานอาหารไม่พอ ร่วมกับการมีพยาธิปากขอ ทำให้เสียโลหิตเป็นประจำ แก้ไขโดยการแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเป็นจำนวนมาก เช่น ตับ, เลือด, ผักเขียวเข้ม และอาจเพิ่มธาตุเหล็กในอาหารที่บริโภคเป็นประจำวัน เช่น มีการเพิ่มธาตุเหล็กเข้าในน้ำปลา หรืออาจต้องใช้ในรูปของยา ซึ่งธาตุเหล็กในรูปของยาอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ถ้ารับประทานมากเกินไป โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคอิสาน ที่มีประชากรส่วนหนึ่งโลหิตจางจากโรคกรรมพันธุ์ เช่น ทัลลัสซีเมีย (Thallassemia)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. การขาดวิตามิน เอ

 มักพบเป็นเด็กที่ขาดโปรตีนและแคลอรี่มากเนื่องจากวิตามินเอต้องใช้โปรตีนเป็นตัวพาไปยังอวัยวะต่าง ๆ วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ถ้าบริโภคไขมันต่ำอาจเกิดการขาดวิตามินเอได้ อาการในระยะแรกคือการปรับตามองในที่มืดได้ช้ากว่าปกติ ต่อไปมีเยื่อบุตาขาวเสีย แล้ลามไปถึงตาดำอาจทำให้แก้วตาทะลุและตาบอดได้ แก้ไขโดยส่งเสริมให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูงเช่น ไข่แดง, ตับ, พืชผักสีเหลือง เช่น ฟักทอง, มะละกอสุก, มะม่วงสุก, หรือผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักตำลึง เป็นต้น

4. โรคเหน็บชาจากการขาดวิตามินบี 1



 

 มักพบในกลุ่มที่รับประทานข้าวที่สีขัดจนขาว และอีกกลุ่มในคนที่งดอาหารเนื้อสัตว์ เช่น สตรีหลังคลอดตามชนบท ที่ยึดถือประเพณีอยู่ไฟ ซึ่งมีผลต่อเนื่องถึงทารกที่รับประทานนมแม่ด้วย ทารกจะบวม, หายใจหอบ, และอาจถึงหัวใจวายได้ อาการในผู้ใหญ่มักมีการชามือ-เท้า อ่อนแรง และอาจมีหัวใจวายได้

 นอกจากนี้ยังพบในกลุ่มคนที่ชอบรับประทานปลาร้าดิบ, หมากพลู, น้ำชา, ใบเมี่ยง ซึ่งมีสารทำลายวิตามินบี 1 ภาวะที่ต้องการวิตามินบี 1 เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ พวกทำงานหนัก, ภาวะไข้ โรคติดเชื้อ, ต่อธัยรอยด์เป็นพิษ, ผู้ป่วยโรคตับแข็งและพวกดื่มสุราเรื้อรัง

 แก้ไขป้องกันได้โดย ให้หุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ ให้ข้าวซ้อมมือ ลดปริมาณน้ำในการหุงต้มอาหาร เช่น หุงข้าวแบบเช็ดน้ำ จะสูญเสียวิตามินบี 1 ประมาณ 85% ถ้าไม่เช็ดน้ำจะสูญเสียวิตามินบี 1 ประมาณ 50% การแช่ข้าวเหนียวค้างคืน แล้วเทน้ำทิ้งแล้วนึ่งนั้น จะสูญเสียวิตามินบี 1 ประมาณ 60% ทำปลาร้าให้สุกก่อนรับประทาน, เลิกดื่มเหล้า, เลิกหรือรับประทานเมี่ยง, ชา ให้น้อยลง และควรรับประทานอาหารพวกที่มีวิตามินบี 1 เช่น เนื้อหมู, เนื้อวัว, ถั่วเหลือง

5. โรคปากนกกระจอกจากการขาดวิตามินบี 2

 อาการแสดงคือ เป็นแผลที่มุมปากทั้ง 2 ช้าง ริมฝีปากเจ่อบวม และแตกเป็นรอยถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่จะทำให้รับประทานอาหารไม่ได้เป็นผลให้ขาดอาหารอื่น ๆ ตามมา

 โรคนี้มักพบในเด็กนักเรียนตามชนบทช่วงปลายฤดูแล้ง เนื่องจากขาดผักใบเขียวเข้ม ส่วนเนื้อสัตว์ และนมที่มีวิตามินบี 2 อยู่มาก เด็กกลุ่มนี้มักได้รับประทานน้อยอยู่แล้ว

6. โรคคอพอกจากการขาดไอโอดีน

 ปัจจุบันนี้พบน้อยลง เพราะมีการเติมไอโอดีนในเกลือที่ส่งไปขายตามชนบทโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสาน รวมทั้งมีเกลืออนามัยขององค์การเภสัชกรรมด้วย



 

 อาการคือ ต่อมธัยรอยด์ที่คอโต ถ้าโตมากจะกดทับหลอดลมทำให้หายใจไม่สะดวกและถ้ามารดาเป็นระหว่างตั้งครรภ์ทารกที่คลอดออกมาอาจมีลักษณะปัญญาอ่อน, เป็นใบ้,หูหนวก

7. โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

จากการขาดธาตุฟอสฟอรัส พบมากในเด็กวัยก่อนเรียนทางภาคเหนือและภาคอีสาน โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย ศาสตราจารย์นายแพทย์อารี วัลยะเสวี และคณะได้ศึกษาพบว่า การให้ข้าย้ำตั้งแต่หลังคลอด 3-70 วัน ทำให้ทารกได้โปรตีนน้อย จึงได้รับฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นส่วนประกอบในโปรตีนน้อยด้วย และผักพื้นบ้านหลายชนิด มีสารอีอกซาเลทอยู่เป็นจำนวนมาก ภาวะที่มีฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ ไม่สามารถที่จะป้องกันการจับตัวเป็นผลึกของอ๊อกซาเลท จึงทำให้เกิดนิ่ในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The nutrition and health transition in Thailand. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12027283)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย

รับประทานวิตามินเพื่อการชะลอวัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม