ความแตกต่างของโยคะประเภทต่างๆ และประโยชน์ที่ร่างกายได้รับ

เผยแพร่ครั้งแรก 8 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความแตกต่างของโยคะประเภทต่างๆ และประโยชน์ที่ร่างกายได้รับ

อยากมีหุ่นดีแบบฟิตแอนด์เฟิร์ม ไม่จำเป็นที่จะต้องออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอและเล่นเวทเทรนนิ่งอย่างเดียวเสมอไป การเล่นโยคะก็สามารถช่วยให้มีหุ่นดีได้เหมือนกัน และยังเป็นการเสริมสร้างสมาธิที่ดีอีกด้วย ในปัจจุบันนี้เราจึงเห็นดารา นักร้อง และนักกีฬาจำนวนมากที่หุ่นดี มักใช้เวลาไปกับการเล่นโยคะชนิดต่าง ๆ อยู่เสมอ และการที่แต่ละคนเลือกเล่นโยคะที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า โยคะมีทั้งหมดกี่ประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่งเราก็ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโยคะต่าง ๆ มาไว้ในบทความนี้แล้ว

1. บิครัมโยคะ หรือโยคะร้อน (Bikram Yoga)

โยคะร้อน เป็นประเภทของโยคะที่คนทั่วไปมักจะรู้จักมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีคนเข้าใจผิดในชื่อของมันมาก บางคนก็เข้าใจว่าโยคะร้อน คือการเล่นในห้องซาวน่า หรือห้องที่มีอุณหภูมิสูงเพื่อเป็นการรีดไขมันออกจากร่างกาย ในส่วนนี้เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องเพียงครึ่งเดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในส่วนที่ถูกต้องคือ การเล่นบิครัมโยคะ หรือโยคะร้อน เป็นการฝึกโยคะในห้องที่มีอุณหภูมิสูง (ประมาณ 36-37 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับร่างกาย) เพื่อให้ร่างกายสามารถยืดตัวได้มากกว่าเดิม และยังช่วยให้เกิดการกระชับของร่างกาย พร้อมกับทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตได้เป็นอย่างดี การเล่นโยคะร้อน สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเหยียดกล้ามเนื้อ รวมถึงต้องการปรับบุคลิกภาพให้ดีขึ้น แต่อาจจะต้องระมัดระวังในเรื่องของความแข็งแรงของร่างกาย เพราะการอยู่ในห้องที่มีความร้อนนาน ๆ อาจเสี่ยงต่อการหน้ามืดและเป็นลมง่าย แต่ถ้าหากเล่นได้ เพียง 90 นาทีก็จะสามารถเผาผลาญพลังงานได้สูงถึง 600 กิโลแคลอรี่เลยทีเดียว

2. อัษฎางค์โยคะ (Ashtanga Yoga)

อัษฎางค์โยคะ เป็นโยคะประเภทหนึ่งที่อาศัยการเล่นท่ายากเป็นหลัก ท่าที่สามารถพบเห็นได้บ่อย ๆ ก็คือการเอาแขนค้ำพื้นไว้แล้วเอาขาชี้ฟ้า รวมถึงการเอาขามาพาดคอที่คนทั่วไปไม่สามารถทำได้โดยง่ายนัก ตามหลักของการเล่นอัษฎางค์โยคะ จะเป็นการประสานกระบวนการของร่างกายเข้ากับลมหายใจ และการกำหนดจุดของสายตา

การฝึกโยคะประเภทนี้ จะไม่มีท่าฝึกมาก มีเพียง 4 ท่าหลักที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากท่าหลักเพียงเล็กน้อย สำหรับท่าที่ใช้ในการฝึกโยคะประเภทนี้ทั้ง 4 ท่า มีชื่อว่า Primary Asana ,Intermediate Asana, Advanced A Asana, Advanced B Asana โดยจะเป็นการฝึกตั้งแต่ระดับต้นไปจนถึงระดับยากที่สุด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อในร่างกาย ต้องการลดน้ำหนักและขับของเสียในร่างกาย เป็นต้น ผู้ที่จะฝึกอัษฎางค์โยคะได้ จะต้องมีทักษะในการเล่นโยคะมานานพอสมควร

3. หฐโยคะ (Hatha Yoga)

คำว่า "หฐ" มาจากคำ 2 คำที่ผสมกัน หะ มาจาก พลังเย็น ส่วน ฐะ มาจากพลังลบ เมื่อนำมาร่วมกันก็หมายถึงการควบคุมจิตใจและร่างกายให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้เกิดความสมดุลของพลังบวก (พลังร้อน) และพลังลบ (พลังเย็น) สำหรับท่าฝึกจะเน้นไปที่ความยืดหยุ่นของร่างกาย พร้อมกับการฝึกลมปราณ เพื่อให้บรรลุไปสู่ความสำเร็จ การฝึกลมปราณ หรือการควบคุมลมหายใจ จะเริ่มเมื่อใกล้หมดชั่วโมงฝึกโดยในระดับการฝึกก็จะมีการแบ่งเป็นระดับขั้นเหมือนกับอัษฎางค์โยคะ สำหรับผู้ที่ฝึกได้ในระดับสูงสุด ผู้ฝึกจะสามารถเข้าฌาณเพื่อให้จิตใจกล้าแกร่งขึ้นได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกความอดทน และค้นหาภายในจิตใจของตัวเอง

4. หยิน โยคะ (Yin Yoga)

หยิน โยคะ มีจุดเด่นอยู่ที่เรื่องของความนิ่ง ความนิ่งในที่นี้ ก็คือการทำท่าฝึกแล้วค้างทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที ซึ่งก็ถือว่านานมากพอสมควร การค้างท่าทิ้งไว้ในระยะเวลานานขนาดนี้ จะช่วยให้ร่างกายมีการยืดเหยียดได้อย่างดีที่สุด จึงช่วยให้เส้นเอ็น กระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ มีการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ในระหว่างการฝึก การเปลี่ยนท่าก่อนที่จะมีการค้างท่านั้น จะต้องทำไปอย่างเนิบช้า เพื่อเป็นการฝึกสมาธิและป้องกันการบาดเจ็บ การฝึกหยิน โยคะ เหมาะสำหรับผู้ที่ใจร้อน (ขั้นหนัก) และต้องการที่จะบำบัดปัญหานี้ด้วยตัวเอง ในช่วงแรก ๆ คุณอาจจะรู้สึกหงุดหงิดและไม่ค่อยจะอดทนกับทุกสิ่งอย่างที่ช้าจนน่าอึดอัด แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปและคุณสามารถปรับตัวได้ ความสงบที่แท้จริงที่อยู่ภายในตัวของคุณจะค่อย ๆ เผยออกมาให้เห็นเอง

5. โยคะธรรมดา (Gentle Yoga)

เป็นโยคะสำหรับผู้เริ่มต้น มือใหม่ที่อยากหัดเล่นโยคะ รวมถึงผู้สูงอายุที่มีความประสงค์จะออกกำลังกาย ในการฝึกนั้นจะเริ่มตั้งแต่ท่าพื้นฐาน ได้แก่ ท่าเบา ๆ การปรับระดับลมหาย การเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้มีการปรับตัว สำหรับประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกโยคะธรรมดา ก็คือการรักษาอาการปวดที่เกิดตามข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะผู้เป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ถ้าหากฝึกไปเรื่อย ๆ จะรู้สึกว่าสุขภาพดีขึ้น และทำกิจกรรมต่างๆ  ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

การเล่นโยคะเป็นสิ่งที่ดี และเหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย ควรหาเวลาในการฝึกโยคะอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป จะช่วยให้ร่างกายของคุณมีการทำงานที่ดีขึ้น และจะส่งผลให้คุณสามารถออกกำลังกายในรูปแบบอื่น ๆ ได้ดีกว่าเดิมนั่นเอง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Which Style of Yoga Is Best for You?. WebMD. (https://www.webmd.com/balance/guide/which-style-of-yoga-is-best-for-you#1)
Most Popular Types of Yoga Explained. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/types-of-yoga-cheat-sheet-3566894)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป