รู้เท่าทันผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
รู้เท่าทันผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

หลายท่านคงคุ้นหูหรือคุ้นตากับรายการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต วิทยุชุมชน หรือโทรทัศน์ ที่มีการกล่าวอ้างว่าช่วยรักษาโรคได้หลากหลาย ทั้งมะเร็ง เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ แต่ความเป็นจริงแล้ว เป็นเช่นนั้นจริงหรือ

กฎหมายเกี่ยวกับอาหารเสริมเป็นอย่างไร?

ตามกฎหมายนั้น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานเสริมจากอาหารหลัก สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารบางอย่างเพียงพอ แต่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยาค่ะ จึงไม่สามารถใช้ป้องกันหรือรักษาโรค รวมถึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายหรือระบบการทำงานภายในร่างกายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ยา ต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์ได้แน่ชัดแล้วว่า สามารถใช้วินิจฉัย รักษา บำบัด บรรเทา หรือป้องกัน โรคและความเจ็บป่วยได้

หากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น ๆ สามารถทำได้ตามที่ผู้ขายโฆษณา ก็ย่อมผ่านการพิสูจน์ประสิทธิภาพและสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ยาได้

จะทำอย่างไรให้ร่างกายแข็งแรงโดยไม่พึ่งอาหารเสริม?

อันที่จริง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายนะคะ ถ้ารับประทานสารอาหารจากอาหารหลักได้ไม่ครบถ้วน การรับประทานเพิ่มจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ แต่ไม่ควรถูกหลอกจากสรรพคุณที่เกินจริง และต่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนแล้วจากอาหารหลักและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ก็ยังต้องดูแลสุขภาพด้วยวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วยอยู่ดีนะคะ ได้แก่ การออกกำลังกาย การลดความเครียด การพักผ่อนที่เพียงพอ ฯลฯ เพราะหนทางสู่การมีสุขภาพดี ไม่มีทางลัดหรอกค่ะ

 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
webmd.com, Dietary supplements (https://www.webmd.com/vitamins/index)
medlineplus.gov, Dietary supplements (https://medlineplus.gov/dietarysupplements.html)
nia.nih.gov, Dietary supplements (https://www.nia.nih.gov/health/dietary-supplements)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)