มีอาหารใดที่จะช่วยควบคุมโรคเกาท์เทียมได้หรือไม่?

อาหารที่ช่วยลดโรคเกาท์สามารถช่วยโรคเกาท์เทียมได้หรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
มีอาหารใดที่จะช่วยควบคุมโรคเกาท์เทียมได้หรือไม่?

คำถาม : มีอาหารแบบใดที่สามารถช่วยควบคุมโรคเกาท์เทียมหรือไม่?

“ฉันเพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกาท์เทียม และเคยได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเกาท์ เช่น อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นต้น แต่ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวกับโรคเกาท์เทียมและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในโรคนี้เลย ฉันควรจะทำตัวอย่างไรบ้าง และมีอาหารประเภทใดเป็นพิเศษ ที่จะช่วยในคนที่เป็นโรคเกาท์เทียมได้บ้าง?”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคเกาท์เทียม กับ โรคเกาท์ มีชื่อที่คล้ายกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีผู้ป่วยเข้าใจว่าทั้ง 2 โรคนี้มีความเหมือนกัน

ผู้ป่วยโรคเกาท์จำนวนหนึ่ง อาจเคยได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มี Purine สูง แล้วในผู้ป่วยโรคเกาท์เทียมล่ะ? การหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทสามารถช่วยผู้ป่วยโรคเกาท์เทียมได้หรือไม่?

คำตอบ : เราได้ทำการสอบถามผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้อ นายแพทย์ Scott J. Zashin และนี่คือคำตอบของเขา

“โรคเกาท์เทียม เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกชื่อ Calcium Pyrophosphate Dehydrate (CPPD) ยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคเกาท์เทียมในปัจจุบัน แต่พบว่าอาจมีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมในบางครอบครัว โรคนี้อาจเกิดขึ้นหลังจากเป็นโรคข้อเสื่อมได้ และพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ”

“ ที่น่าสนใจก็คือโ รคเกาท์เทียมสามารถพบร่วมกับภาวะอื่น ๆ เช่นการมีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (hypothyroidism) การผลิตเหล็กที่มากเกินไป (hemochromatosis) และความผิดปกติเกี่ยวกับการควบคุมระดับแคลเซียม (hyperparathyroidism)  ตรงข้ามกับโรคเกาท์ ที่เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของผลึก (เกิดจากการสร้างผลึกยูริกที่มากเกินไป หรือการขับกรดยูริกออกลดลง) ไม่มีอาหารประเภทใดที่สามารถช่วยควบคุมการกำเริบของโรคเกาท์เทียมได้

ผู้ป่วยอาจมีอาการกำเริบเป็นช่วง ๆ หรือมีอาการปวดข้อตลอดเวลาคล้ายกับในโรคข้ออักเสบรูห์มาติก (Rheumatoid Arthritis) และเมื่อเวลาผ่านไป การสะสมของผลึกดังกล่าวอาจทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมตามมา การรักษาโรคนี้จะเป็นการรักษาขณะที่มีอาการด้วยยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID), Corticosteroids และยา Colchicine และอาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการฉีดสเตียรอยด์ หากไม่มีภาวะติดเชื้อ

อาจมีการให้ NSAID หรือ Colchicines รับประทานเป็นประจำ หากมีการกำเริบบ่อยครั้ง และในผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อตลอดเวลา คล้ายกับในโรคข้ออักเสบรูห์มาติก ก็พบว่าการให้ Methotrexate มีประโยชน์ในการรักษา”


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gout or Pseudogout. Arthritis Foundation. (https://www.arthritis.org/diseases/more-about/gout-or-pseudogout)
Pseudogout - Symptoms and Treatment. American Academy of Family Physicians. (https://familydoctor.org/condition/pseudogout/)
By the way, doctor: Is taking calcium a problem if you have pseudogout?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/By-the-way-doctor-Is-taking-calcium-a-problem-if-you-have-pseudogout)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 ข้อที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์เทียม (Pseudogout)
10 ข้อที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์เทียม (Pseudogout)

โรคเกาต์เทียมแตกต่างจากโรคเกาต์อย่างไร เกิดจากสาเหตุเดียวกันใช่หรือไม่

อ่านเพิ่ม