กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Valium (ตัวยา Diazepam)

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • Diazepam เป็นยาชื่อสามัญของยายี่ห้อ Valium ใช้รักษาอาการทางจิตเวชได้หลายอย่าง เช่น ภาวะวิตกกังวลผิดปกติ โรคตื่นตระหนก โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคนอนไม่หลับ นอกจากนี้ยังใช้รักษาอาการถอนเหล้า เช่น มือสั่น นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียนได้
  • ยา Diazepam มักถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเช่นเดียวกับการรักษาโรค เพราะสามารถเพิ่มความรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้ร่าเริงมากขึ้น เหมือนฤทธิ์ของยาเสพติด
  • หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา Diazepam เพราะยาสามารถกระจายตัวผ่าน้ำนมได้ และอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
  • ยา Diazepam สามารถทำปฏิกิริยาต่อยาอีกหลายชนิดจนทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่างๆ ได้ เช่น ยาแก้ไอ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยารักษาโรคหัวใจ ยาต้านไวรัส และยายังออกฤทธิ์ทำให้ง่วงได้ จึงไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือใช้เครื่องจักรหลังรับประทานยาตัว Diazepam
  • การรับประทานยา Diazepam ผิดวิธีจะทำให้เกิดความผิดปกติหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น อาการชัก ประสาทหลอน สับสน ความดันโลหิตต่ำ หายใจลำบาก คุณจึงควรปรึกษาแพทย์หากเจ็บป่วย เพื่อให้แพทย์จ่ายยาที่เหมาะสมให้ (ดูแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับภาวะเครียดได้ที่นี่)

Diazepam เป็นชื่อสามัญของยายี่ห้อ Valium เป็นยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์เพื่อรักษาอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น 

  • ภาวะวิตกกังวลผิดปกติ (Anxiety disorders ) 
  • โรควิตกกังวลชนิดทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder: GAD)  
  • โรคตื่นตระหนก (Panic disorder
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder: OCD
  • โรคนอนไม่หลับ (Insomnia
  • ภาวะชัก (adjunct in seizures) 
  • ยาช่วยทำให้หลับสำหรับการผ่าตัดเล็ก (Anaesth premed)

นอกจากนี้ Diazepam อาจใช้เพื่อรักษาอาการถอนเหล้า (Delirium tremens) ซึ่งผู้ดื่มจะมีอาการข้างเคียงจากการไม่ได้ดื่มสุราติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น มือสั่น นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน ประสาทหลอน และซึมลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ ยา Diazepam ยังสามารถรักษาอาการกล้ามเนื้อเกร็งกระตุก (Muscle spasms) จากการบาดเจ็บ การอักเสบ หรือความผิดปกติของเส้นประสาท และแพทย์อาจใช้ยานี้พร้อมกับยาอื่นๆ เพื่อรักษาอาการชักด้วย

รู้จักยา Diazepam

Diazepam เป็นกลุ่มยาที่เรียกว่า "เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines)" ที่ทำงานโดยเพิ่มประสิทธิภาพของ GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยลดการเคลื่อนไหวของสัญญาณประสาทในสมอง

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติชื่อการค้า Valium สำหรับ Diazepam ในปี 1963 ภายใต้ บริษัท โรช (Roche) จำกัด ซึ่งในปี 1985 หลังจากนั้น องค์การอาหารและยาก็ได้อนุมัติให้บริษัทยาหลายแห่งจำหน่ายยา Diazepam ในชื่อการค้าต่างๆ เพิ่มขึ้น 

กลุ่มยา Benzodiazepines เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น และถูกใช้กันอย่างกว้างขวาง จากข้อมูลตามรายงานใน The New York Times และวารสารอื่นๆ พบว่า แพทย์ในสหรัฐอเมริกาได้ออกใบสั่งยานี้มากกว่า 50 ล้านใบต่อปี

การใช้ยา Diazepam ในทางที่ผิด

สำหรับ Valium เป็นยาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกาในช่วงปี 1970 จึงทำให้มีการใช้ยานี้ผิดๆ โดยใช้ Diazepam ร่วมกับยาแก้ปวดที่สกัดจากฝิ่น และ ได้กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา  

มีจำนวนคนที่เข้ารับการรักษาเนื่องจากการใช้ยาผิดๆ นี้เพิ่มขึ้นเกือบ 57% ในช่วงปี 2000-2010 ตามข้อมูลของ The Substance Abuse and Mental Health Services Administration (SAMHSA)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การใช้ยา Valium และยาอื่นๆ ในกลุ่ม Diazepam มีแนวโน้มการใช้ยาในทางที่ผิดค่อนข้างมาก เนื่องจากยาเหล่านี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของยาแก้ปวดที่สกัดจากฝิ่น อีกทั้งเพิ่มความรู้สึกร่าเริงและผ่อนคลายสูง เหมือนกับฤทธิ์ของยาเสพติด

ผู้ติดยาเสพติดชนิดโคเคนยังสามารถใช้ยากลุ่ม Diazepam เพื่อบรรเทาผลข้างเคียงที่ไม่สบายตัวได้ เช่น หงุดหงิด กระวนกระวายใจ 

และการใช้ยากลุ่ม Diazepam ในทางที่ผิดอีกแบบก็คือ ใช้ยาเหล่านี้เพื่อกระตุ้นผลของแอลกอฮอล์ในร่างกาย และบรรเทาอาการเมาเมื่อหยุดดื่มแอลกอฮอล์

คนกลุ่มที่ใช้ยากลุ่ม Diazepam ในทางที่ผิด มักเรียกชื่อยาในชื่อต่างๆ กัน เช่น Benzos, Downers, Nerve pills, Tranks

Diazepam สามารถสร้างภาวะดื้อยาได้หากใช้เป็นเวลานาน ซึ่งถ้าหยุดรับประทานยากะทันหันหลังจากรับประทานเป็นเวลานาน คุณอาจมีอาการถอนยาได้ เช่น อาการวิตกกังวล หงุดหงิด และนอนหลับยาก 

ดังนั้นยา Diazepam เหมาะสำหรับการใช้งานระยะสั้นมากกว่า เนื่องจากอาจสร้างนิสัยติดยา จึงไม่แนะนำให้ใช้นานกว่า 4 เดือน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการติดยาเสพติดหรือติดเหล้าในอดีตคุณอาจมีความเสี่ยงที่จะติด Diazepam มากขึ้น และการดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้ผลข้างเคียงรุนแรงขึ้นด้วย

การใช้ Diazepam ในสุนัข และแมว

มีการใช้ Diazepam ในสุนัขแมว และสัตว์อื่นๆ เพื่อรักษา ภาวะวิตกกังวล  ภาวะชักหรือ ภาวะเบื่ออาหาร นอกจากนี้ ยังใช้เป็นยากดประสาทก่อนทำการผ่าตัดหรือวิธีการอื่นๆ ซึ่งจะใช้ภายใต้คำแนะนำของสัตวแพทย์เท่านั้น

การใช้ Diazepam ในหญิงตั้งครรภ์ และเด็ก

Diazepam ไม่ปลอดภัยที่จะใช้ในภาวะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาในการคลอดได้ รวมถึงอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และเกิดอาการถอนยาในทารกแรกเกิด

และเนื่องจาก Diazepam สามารถกระจายตัวผ่านน้ำนม ผู้หญิงที่ต้องรับประทานยาดังกล่าวจึงไม่ควรให้นมบุตรในช่วงเวลานั้นๆ และที่สำคัญ คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนที่จะรับประทานยานี้ หากอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ด้วย 

และสำหรับการใช้ Diazepam ในเด็ก ให้ใช้ยานี้ตามข้อบ่งชี้ โดยคำนวณตามช่วงอายุ น้ำหนัก และโรคที่เด็กต้องรักษา

คำเตือนสำหรับการใช้ Diazepam

Valium มีผลข้างเคียงค่อนข้างเยอะ คุณต้องแจ้งแพทย์ทุกครั้งหากมีอาการแพ้ยาใด ๆ รวมถึงยา Diazepam ที่มีชื่อทางการค้าอื่นๆ ด้วย เช่น Xanax, Librium, Klonopin, Dalmane และ Ativan Valium เพราะตัวยาสามารถเกิดปฏิกิริยากับยาหลายชนิดได้ 

คุณปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา หากมีภาวะโรคดังนี้:

  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis)
  • โรคต้อหินแบบเฉียบพลัน (Acute angle closure glaucoma )
  • โรคปอดรุนแรง (Severe or acute respiratory insufficiency)
  • โรคตับ (Severe hepatic impairment)
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnoea syndrome)
  • อายุ 65 ปีขึ้นไป
  • เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน (ยาแบบรับประทาน)

ผลข้างเคียงของยา Diazepam

ผลข้างเคียงที่พบมากของ Diazepam คือ ง่วงซึม อ่อนเพลียกล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินเซ (Ataxia) และคุณควรแจ้งแพทย์หากมีผลข้างเคียงที่ผิดปกติอื่นๆ ดังนี้

นอกจเหนือจากอาการด้านบน ยังมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงของ Diazepam อีก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เสมอ และควรปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการเหล่านี้ ได้แก่

  • อ่อนเพลียหรือง่วงนอนมาก
  • หายใจหรือกลืนกินลำบาก
  • เป็นลม
  • อาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปากหรือลิ้น
  • ภาวะซึมเศร้ารุนแรง
  • โกรธ หรือ ตื่นเต้นง่าย
  • อาการประสาทหลอน 
  • มีความเชื่อผิดๆ (เชื่อสิ่งที่ไม่เป็นความจริง)
  • ปัสสาวะขัดรุนแรง

ปฏิกิริยาของ Diazepam (Valium) กับยาอื่น

Diazepam สามารถเกิดปฏิกิริยากับยา อาหารเสริม หรือยาเสพติดที่คุณรับประทานประจำ จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียดทุกครั้ง ปฏิกิริยาของ Diazepam (Valium) กับยาอื่นที่อาจทำให้เกิดปัญหา ได้แก่

  • ยาต้านไวรัส เช่น Amprenavir, Ritonavir
  • ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ยาใช้ในภาวะซึมเศร้า เช่น Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) 
  • ยาสำหรับรักษาอาการเจ็บป่วยทางจิตอย่างรุนแรง เช่น Phenothiazines 
  • ยาที่ใช้รักษาภาวะวิตกกังวล ได้แก่ Fluoxetine (Prozac)
  • ยาช่วยให้หลับชนิดอื่น (Sedatives)
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น Tizanidine, Baclofen
  • ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น Isoniazid, Erythromycin, Rifampicin, Disulfiram
  • ยาแก้ไอ และแก้หวัดที่มีส่วนประกอบของยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine)
  • ยาแก้ปวดชนิดเสพติด (Narcotic pain medications and barbiturates)
  • ยารักษาภาวะกรดไหลย้อน ได้แก่ cimetidine และ omeprazole
  • ยาที่ใช้ในการรักษาเชื้อรา ได้แก่ ketoconazole (Nizoral)
  • ยาที่ใช้ในการรักษาโรคพาร์คินสัน ได้แก่ Levodopa (Larodopa, Sinemet)
  • ยาต้านการชัก ได้แก่ Valproic acid (Depakene) และ Phenytoin (Dilantin)
  • ยารักษาโรคหัวใจ เช่น Digoxin (Lanoxin) และ Metoprolol (Lopressor, Toprol XL)
  • ยาขยายหลอดลม เช่น Theophylline

นอกจากนี้ Diazepam จะทำให้คุณรู้สึกง่วง และส่งผลต่อการตัดสินใจของคุณจึงไม่ควรขับรถ หรือใช้เครื่องจักร  

ขนาดยาที่ใช้รักษาของ Diazepam (Valium)

Valium มีจำหน่ายในลักษณะเม็ด, แคปซูลชนิดค่อยๆ ปล่อยตัวยา (Sustain release) และชนิดน้ำ โดยแคปซูลชนิดค่อยๆ ปล่อยตัวยา (Sustain release) ต้องรับประทานทั้งแคปซูล ไม่ควรบด หรือทำให้แตกก่อนรับประทาน 

คุณสามารถรับประทาน Valium ได้ทั้งท้องว่าง หรือพร้อมอาหาร 

ขนาดยารักษา

  • บรรเทาอาการหยุดแอลกอฮอล์แบบเฉียบพลันขนาดยาปกติ คือ 10 มก. 3-4 ครั้งต่อวันใน 24 ชั่วโมงแรก และลดเหลือ 5 มิลลิกรัม 3-4 ครั้งต่อวัน หรือตามเหมาะสม
  • บรรเทาอาการวิตกกังวลผิดปกติ ในขนาดผู้ใหญ่ คือ 2 มิลลิกรัม - 10 มิลลิกรัม เป็นเวลา 1-3 ครั้งต่อวัน (มากสุดไม่เกิน 30 มก./วัน)
  • บรรเทาอาการกล้ามเนื้อเกร็ง คือ 2 มิลลิกรัม -15 มิลลิกรัม เป็นเวลา 3-4 ครั้งต่อวัน
  • ใช้เป็นยาเสริม รักษาภาวะชัก คือ 2 มิลลิกรัม - 6 มิลลิกรัม เป็นเวลา 2 - 4 ครั้งต่อวัน

แนะนำให้ใช้ยาปริมาณต่ำในผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจ เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะทางเดินหายใจไม่ทำงาน 

นอกจากนี้ ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้พิการ แนะนำให้เริ่มรักษาในปริมาณยาต่ำที่สุดที่ได้ผลรักษา เพื่อป้องกันการเกิดอาการข้างเคียงต่างๆ เช่น อาการเดินเซ  ภาวะกดประสาทมากเกินไป(ง่วงนอนมากไป) หรืออาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ ที่เกิดจากการกดระบบประสาทส่วนกลาง 

ผู้ป่วยที่ไวต่อภาวะระบบประสาทส่วนกลางถูกกด จะมีแนวโน้มที่จะพบอาการข้างเคียงมากกว่าบุคคลอื่นๆ ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรระมัดระวังในการออกกำลังกาย หรือเมื่อต้องทำงานที่ต้องเตรียมพร้อมทั้งด้านจิตใจ และและการประสานงานทางร่างกาย

การใช้ Valium เกินขนาด

การใช้ยาเกินขนาดของ Valium อาจไปกดระบบประสาทส่วนกลางมากไป  อาการแสดงมีดังนี้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังไม่ควรหยุดรับประทานยาด้วยตัวคุณเอง เพราะจะทำให้เกิดอาการถอนยา ดังนี้

  • อาการสั่น
  • ตะคริว
  • อาเจียน
  • เหงื่อออก
  • ปวดหัว
  • วิตกกังวล
  • สับสน
  • ปัญหาการนอนหลับ
  • ประสาทหลอน
  • ชัก

กรณีที่คุณลืมรับประทานยา Valium ให้รับประทานยาเม็ดที่ลืมรับประทานทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้เวลาสำหรับการรับประทานยาครั้งถัดไป ก็ให้ข้ามเม็ดที่ลืมไปเลย ไม่ต้องรับประทานเพิ่มเป็น 2 เม็ดเพื่อชดเชยมื้อที่ลืมรับประทานยาไป

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องอาจมีผลถึงชีวิตได้ รวมถึงการใช้ร่วมกับยาอื่นๆ ที่กดระบบประสาทส่วนกลาง การได้รับยาเกินขนาด คุณจึงควรปรึกษาแพทย์ และรับประทานยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น 

ดูแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับภาวะเครียด เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tracger SM, Haug MT. Reduction of diazepam serum half life and reversal of coma by activated charcoal in a patient with several liver disease. Clin Toxicol 1986
Nicholas E. Calcaterra and James C. Barrow, Classics in Chemical Neuroscience: Diazepam (Valium) (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p... February 2014

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)