ไดอะเฟรม–อุปกรณ์เพื่อการคุมกำเนิด Diaphragm

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไดอะเฟรม–อุปกรณ์เพื่อการคุมกำเนิด Diaphragm

ก่อนที่เราจะตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ เราจำเป็นต้องรู้จักวิธีการป้องกันตัวเอง ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับไดอะเฟรม มาดูกันว่าการคุมกำเนิดวิธีนี้จะเหมาะสำหรับคุณหรือไม่และจะมีวิธีใช้งานอย่างไร

ไดอะเฟรมคืออะไร

ไดอะแฟรมเป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายชามรูปโดมที่ทำจากยางที่มีความยืดหยุ่นและบางเมื่อใช้จะถูกใส่ไว้บริเวณปากมดลูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไดอะเฟรมทำงานอย่างไร

ไดอะเฟรมจะป้องกันไม่ให้ตัวอสุจิเข้าไปยังมดลูกโดยจะทำหน้าที่ปิดกั้นปากมดลูกไว้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด สารฆ่าเชื้ออสุจิจึงถูกใส่ลงไปในถ้วยไดอะเฟรมและขอบของอุปกรณ์ก่อนการใส่เข้าไปบริเวณปากมดลูกด้วย

ผู้ใช้จะต้องใส่อุปกรณ์ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 6 ชั่วโมง และต้องคอยเติมสารฆ่าเชื้ออสุจิทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังต้องคอยเติมหากมีเพศสัมพันธ์หลังจากใส่อุปกรณ์ไปแล้วเกินกว่า 3 ชม. เมื่อมี

เพศสัมพันธ์เสร็จแล้วจะต้องใส่อุปกรณ์ทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชม.แต่รวมกันแล้วทั้งก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์จะต้องใส่อุปกรณ์ไม่เกิน 24 ชั่วโมง เมื่อถอดอุปกรณ์ให้สอดนิ้วมือเข้าไปในช่องคลอดแล้วจึงดึงอุปกรณ์ออก

เมื่อใช้เสร็จแล้ว และล้างให้สะอาดด้วยสบู่ ล้างด้วยน้ำสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง และเก็บไว้ในกล่องให้เรียบร้อยทุกครั้ง อุปกรณ์จะต้องไม่เปรอะเปื้อนจากแป้งฝุ่นและจะต้องไม่ใช้ร่วมกันกับสารล่อลื่นที่มีส่วนประกอบของน้ำมันเป็นหลัก เช่น มิเนอรัลออยล์ เจลปิโตรเลียม หรือเบบี้ออยล์ เพราะสารเหล่านี้อาจส่งผลทำให้ยางฉีกขาดหรือแตกได้ นอกจากนี้พวกครีมทาช่องคลอด เช่น ยาทาฆ่าเชื้อ ก็สามารถทำให้ยางเสียหายได้

ควรเปลี่ยนไดอะแฟรมชุดใหม่ทุก 2 ปี และควรตรวจสอบอุปกรณ์และยางว่ามีรอยฉีกขาด แตก หรือเสียหายหรือไม่ หากมีรอยแตกควรเปลี่ยนอุปกรณ์ชุดใหม่ทันที

ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด

จากสถิติพบว่า คู่รักที่มีการใช้ไดอะเฟรมในระยะเวลา 1 ปี ประมาณ 16 จาก 100 คู่รักมีโอกาสตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งโอกาสในการตั้งครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อย่างการใช้ไดอะเฟรมสิ่งสำคัญที่สุดคือคุณต้องเลือกขนาดของอุปกรณ์ที่เหมาะสมและต้องใช้ทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ร่วมกับการใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ไดอะเฟรมไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์จะต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมกับการใช้ไดอะเฟรมเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งการคุมกำเนิดแบบงดมีเพศสัมพันธ์ (Abstinence) เป็นวิธีการเดียวที่จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ไดอะเฟรม

หญิงสาวส่วนใหญ่ที่ใช้ไดอะเฟรมไม่มีปัญหาหรือเกิดผลข้างเคียงใดๆ จากการใช้ แต่อาจมีบางรายที่มีผลข้างเคียงจากการใช้อุปกรณ์ ดังนี้

  • สารฆ่าเชื้ออสุจิอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณช่องคลอดหรือผิวโดยรอบและอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้
  • การปล่อยอุปกรณ์ทิ้งไว้ในช่องคลอดนานเกินไปอาจส่งผลให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ มีตกขาวผิดปกติ หรืออาจเกิดการติดเชื้อได้ในที่สุด
  • วัสดุที่นำมาใช้ผลิตไดอะเฟรมอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอาการระคายเคืองหรือแพ้ได้ ซึ่งพบได้น้อยมาก
  • การใช้ไดอะแฟรมอาจทำให้เกิดอาการเช่นเดียวกับอาการของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • อาจทำให้เกิดอาการท็อกซิกช็อก (Toxic shock syndrome) ซึ่งเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก

ไดอะเฟรมเหมาะกับใคร

เด็กสาวที่สามารถรับผิดชอบต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์สามารถเลือกใช้ไดอะเฟรมเพื่อการคุมกำเนิด และเมื่อเลือกใช้ไดอะเฟรม สารฆ่าเชื้ออสุจิก็จะต้องถูกใช้ควบคู่กันกับอุปกรณ์ด้วย

ไดอะแฟรมไม่เหมาะสำหรับสาวๆ ที่รู้สึกอึดอัดหรือไม่สบายใจกับการที่ต้องมีสิ่งใดอยู่ในช่องคลอด และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ นอกจากนี้ไม่แนะนำให้ใช้อุปกรณ์หากผู้ใช้มีรอบเดือน

แล้วจะหามาใช้ได้อย่างไร

ก่อนการใช้ แพทย์จะทำการตรวจวัดขนาดของปากมดลูกและแนะนำขนาดของไดอะเฟรมที่เหมาะสมกับคุณโดยการตรวจภายใน จากนั้นแพทย์จะสอนวิธีการใช้อุปกรณ์ทั้งการใส่ การถอด และการบำรุงรักษา ซึ่งการใช้อุปกรณ์ขนาดที่ไม่เหมาะสมหรือไม่พอดีอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ได้

ระหว่างการตรวจสุขภาพประจำปี แพทย์จะตรวจเช็คว่าคุณยังคงใช้ไดอะแฟรมขนาดเดิมอยู่หรือไม่ เนื่องจากไดอะแฟรมอาจไม่พอดีหากสาวๆ มีน้ำหนักเพิ่มหรือลดลงมากกว่า 4 – 5 กก. มีบุตร มีการแท้งบุตร หรือใช้อุปกรณ์ตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์และเมื่อมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ต้องเปลี่ยนขนาดของอุปกรณ์ หากมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังที่กล่าวมา คุณจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อวัดขนาดและเปลี่ยนอุปกรณ์ชุดใหม่ ซึ่งไม่ควรรอจนกว่าจะถึงช่วงเวลาการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป

ไดอะเฟรมมีราคาแพงไหม

ไดอะเฟรมมีราคาอยู่ที่ประมาณ 450 – 2,500 บาท และจะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ชุดใหม่ทุก 2 ปี ซึ่งราคาดังกล่าวยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการพบแพทย์ พบว่าแผนประกันสุขภาพของหลายบริษัทมีการครอบคลุม

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุมกำเนิดด้วย ไม่เพียงเท่านี้การเข้ารับบริการตามโรงพยาบาลรัฐหรือศูนย์อนามัยของรัฐอาจมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง นอกจากนี้สารฆ่าเชื้ออสุจิจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 35 – 50 บาทต่อการใช้งาน 1 ครั้ง

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/contraception-diaphragm.html


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Contraceptive diaphragm or cap. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/contraceptive-diaphragm-or-cap/)
Diaphragm birth control: Use, advantages, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/295727)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?

เลือดออกอาจไม่ได้หมายความว่า "คุณคือคนแรกของเธอ" แต่อาจร้ายแรงยิ่งกว่านั้น หาสาเหตุ และวิธีแก้ไขก่อนจะรุนแรงไปกว่านี้

อ่านเพิ่ม
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)

อาการ ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและอื่น ๆ

อ่านเพิ่ม