รับประทานยาคุมไดแอนย้อนศร …ทำไงดี?

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 16 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

 

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาคุมกำเนิดยี่ห้อไดแอน (Diane-35) 1 แผงจะมี

เม็ดยา 21 เม็ด

ซึ่งแต่ละเม็ดจะประกอบด้วยตัวยา Cyproterone acetate 2 มิลลิกรัม + Ethinylestradiol 0.035 มิลลิกรัม เท่ากันทุกเม็ด

 

วิธีใช้คือรับประทานตามลูกศรโดยเรียงลำดับตามวัน เช่น สมมติว่าเริ่มรับประทานวันจันทร์ ก็สามารถจะเริ่มที่ตำแหน่งที่วงไว้ตำแหน่งที่ 1, 2 หรือ 3 ก็ได้ค่ะ จากนั้นก็รับประทานต่อตามที่ลูกศรชี้ได้เลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

ถ้ารับประทานย้อนศร จะเป็นอะไรไหม?

ไม่มีปัญหาค่า... เนื่องจากยาทุกเม็ดมีตัวยาในปริมาณเท่ากัน

จะรับประทานย้อนศรต่อไปเรื่อย ๆ จนหมดแผงเลยก็ได้ค่ะ แต่อาจทำให้สับสนและตรวจสอบการรับประทานยาในแต่ละวันต่อไปได้ยากสักหน่อย

 

 

ถ้ากลัวจะสับสน... ทำอย่างนี้ก็ได้ค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

สมมติว่าเมื่อวานเป็นวันจันทร์ รับประทานยาในตำแหน่งนี้เป็นเม็ดแรกไป

 

วันนี้เป็นวันอังคาร ควรจะต้องรับประทานยาในตำแหน่งนี้...

 

แต่ถึงเวลาจริง กลับไปแกะยาในตำแหน่งนี้มารับประทาน

 

พรุ่งนี้ซึ่งเป็นวันพุธ ก็รับประทานในตำแหน่งนี้ค่ะ

แล้วต่อไปก็วนตามลูกศรไปเรื่อย ๆ

ยาเม็ดสุดท้ายของแผง ก็จะเหลือเป็นเม็ดวันอังคารที่เราข้ามไปนั่นเองค่ะ แม้จะไม่ตรงกับวันจริง(ซึ่งจะเป็นวันอาทิตย์) ก็ไม่เป็นไรค่ะ ...โนสนโนแคร์... รับประทานยาเม็ดนั้นซะ! แค่นี้ก็หมดแผงแบบไม่มีปัญหาแล้วค่ะ

 

อ้อ! ยาคุมไดแอนจะมีเฉพาะเม็ดยาฮอร์โมนนะคะ

ไม่มีเม็ดยาหลอก

เมื่อรับประทานหมดแผงแล้วต้องเว้น 7 วัน

จึงค่อยรับประทานยาคุมแผงใหม่ต่อไปค่ะ

 

คำถามจากผู้ป่วยท่านอื่นเกี่ยวกับรับประทานยาคุมไดแอนย้อนศร

กินยาหมดแผง3วันแล้ว ทำไม. เลือดยังไม่มาค่ะ อ้อ เพิ่งลองซื้อมากินแผงแรก

คำตอบ

หากมีการใช้ยาคุมไดแอนถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก
ประจำเดือนมักจะมาหลังยาหมด 2-3 วัน
ดังนั้น อาจจะมีประจำเดือนในวันนี้หรือพรุ่งนี้ก็ได้ค่ะ

แต่ถ้าเว้นว่างครบ 7 วันแล้ว ยังไม่มีประจำเดือน
ลองอ่านแนวทางแก้ไขจากบทความนี้นะคะ
“กินยาคุมหมดแผงแล้ว แต่ประจำเดือนยังไม่มา…ทำไงดี?!?“

 

อยากทราบว่า เป็นประจำเดือนวันพฤหัสบดี วันแรก แล้วไปกินยาคุม วันพุธแถวล่าง วันแรกของแผง จะเป็นอะไรไหมค่ะ สามารถคุมกำเนิดได้รึป่าวค่ะ

คำตอบ: ไม่เข้าใจคำถามนะคะว่าสรุปแล้ว… “กินยาวันพฤหัสแต่แกะเม็ดวันพุธมาใช้”
หรือ “แกะยาถูกเม็ด แต่มาเริ่มกินวันพุธต่อมา” กันแน่???
..
ถ้าคุณกระต่าย เริ่มกิน “ยาคุมแผงแรก” ภายใน 5 วันแรกที่มีประจำเดือน
เช่นนี้จะมีผลในการคุมกำเนิดตั้งแต่เม็ดแรกที่กินค่ะ
..
ยาคุมไดแอน จะมียา 21 เม็ด ซึ่งเป็นเม็ดยาฮอร์โมนทั้งหมด เท่ากันทุกเม็ด
ดังนั้น จะแกะเม็ดไหนมากินก็มีประสิทธิภาพไม่ต่างกันค่ะ
เพียงแต่ถ้าแกะได้ตรงวัน จะช่วยให้ตรวจสอบง่ายว่าลืมกินยาหรือเปล่า
..
ถ้ามีประจำเดือนวันพฤหัส แล้วกินยาคุมในวันนั้นเลย เพียงแต่แกะมาใช้ผิดเม็ด
…อันนี้ไม่มีปัญหาค่ะ
แต่ให้ระวังว่าต่อไปอาจสับสนและลืมกินยา เพราะแกะมาไม่ตรงวันจึงตรวจสอบยาก
ถ้าต้องการแก้ไขโดยกินให้ตรงวัน สามารถทำตามที่แนะนำในบทความเลยนะคะ
..
และเมื่อหมดแผงนี้แล้ว ให้เว้น 7 วันค่ะ แล้วค่อยเริ่มกินยาคุมแผงต่อไป
ในแผงต่อ ๆ ไป ไม่ต้องสนใจแล้วนะคะว่ามีประจำเดือนวันไหน
ยาคุมแบบ 21 เม็ด เมื่อหมดแผงแล้ว แค่เว้นว่างครบ 7 วันก็ต่อแผงใหม่เลยค่ะ

 

กินยาไดแอนอยู่ค่ะ ลืมกินไป1วัน ของ6เม็ดสุดท้ายของแผง ช่วงนี้มีอะไรกับสามีด้วย ตอนนี้ยาหมดแล้ว ผ่านไป4วันละ ปะจำเดือนยังไม่มาเลย มีโอกาสท้องไหมค่ะ?

คำตอบ: คุณออนไม่ได้บอกว่าแก้ไขอย่างไรเมื่อลืมกินยาคุม
จึงไม่ทราบว่าแก้ไขได้ถูกต้องหรือไม่
เพราะถ้าแก้ไขได้ถูกต้อง โอกาสตั้งครรภ์ก็น้อยค่ะ
..
โอกาสตั้งครรภ์ขณะที่ใช้ยาคุมชนิดนี้ มีตั้งแต่ 0.3 – 9 %
หากกินได้ถูกต้อง ตรงเวลา สม่ำเสมอ ตัวเลขก็ต่ำ
แต่ถ้าไม่… ตัวเลขก็จะสูงขึ้นนั่นเอง
..
ลองอ่านเพิ่มเติมจากบทความเหล่านี้เพื่อให้ทราบวิธีแก้ไขนะคะ
1. ลืมกินยาคุม…ทำไงดี
2. กินยาคุมหมดแผงแล้ว แต่ประจำเดือนยังไม่มา ทำไงดี

 

ถ้ากินยาคุมจนเกือบหมดแพงแร้ว แร้วยาคุม9 เม็ดของอาทิตที่3 หายไปจะทำไงคร้า รึซื้อยามากินให้ครบ แร้วรอ 7 วันเริ่มกินแพงใหม่ในวันที่8 ด้ายมั้ยคร้า แร้วในวันที่กินยาแพงใหม่ จะมีโอกาสท้องรึป่าวคร้า รึจะทำไงดี

คำตอบ: อ่านไม่เข้าใจเลยค่ะ กรุณาเรียบเรียงคำถามใหม่ด้วยนะคะ
..
หรือถือแผงยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไปที่ร้านยาใกล้บ้าน
เพื่อขอคำปรึกษาจากเภสัชกรประจำร้านก็ได้ค่ะ
น่าจะสื่อสารให้เข้าใจกันได้ง่าย และได้คำตอบเร็วกว่าค่ะ

 

กินยาคุมก่อนประจำเดือนมา มีผลอะไรไหมค่ะ

คำตอบ: มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์มั้ยคะ
เช่น มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันก่อนจะเริ่มใช้ยา
ถ้ามี… ไม่ควรใช้ไดแอนก่อนประจำเดือนมาค่ะ เพราะ…
1. ป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีแล้วไม่ได้ เพราะไดแอนไม่ใช่ยาคุมฉุกเฉิน
2. หากมีการตั้งครรภ์ขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันนั้นแล้ว
ต่อให้ใช้ไดแอน ก็ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร การตั้งครรภ์นั้นจะยังคงอยู่
แต่อาจเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเกิดความพิการ
…………
ถ้าไม่มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์
เช่น ตั้งแต่ประจำเดือนมาครั้งล่าสุดจนถึงปัจจุบัน ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์เลย
หากต้องการเริ่มใช้ไดแอนก่อนประจำเดือนมา ก็สามารถทำได้ แต่…
1. ต้องมีการกินยาต่อเนื่องกันครบ 7 วันก่อน จึงจะมีผลคุมกำเนิดได้
ดังนั้น ใน 7 วันแรกที่เริ่มใช้ไดแอน หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ ต้องใช้ถุงยางร่วมด้วย
2. ประจำเดือนอาจถูกเลื่อนออกไป ไม่มาตามกำหนดเดิม
โดยเฉพาะ ถ้ากินก่อนวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมานานกว่า 7 วัน
โดยจะมีประจำเดือนอีกที หลังกินไดแอนหมดแผงไปแล้ว 2-3 วันค่ะ

 

ต้องกินยาหลังประจำเดือนมากี่ชั่วโมงคับหรือต้องกินยาทันทีที่ประจำเดือนมาคับ

คำตอบ: กินในวันที่มีประจำเดือนมา (วันแรก หรืออย่างช้าไม่เกินวันที่ 5 ที่มีประจำเดือน)
แนะนำให้กิน “ก่อนนอน” เพื่อลดอาการคลื่นไส้อันเป็นผลข้างเคียงจากยา
แต่ควรเป็นเวลาเดิมในแต่ละวันค่ะ เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
……..
สมมติว่าประจำเดือนมาในช่วงกลางวันนะคะ ก็รอกินยาคุมก่อนนอนในวันนั้น
ให้เลือกเวลาที่สะดวกที่จะกินได้ทุกวัน (เพราะควรต้องกินยาตรงเวลาสม่ำเสมอ)
และใกล้เคียงกับเวลานอนจริง ๆ (เพื่อลดอาการคลื่นไส้ที่อาจเกิดจากยา)
เช่น ถ้ากินยาคุมเวลา 3 ทุ่ม แม้วันต่อ ๆ ไปอาจนอนเร็วหรือช้ากว่าเวลาเดิม
ก็ให้กินยาในเวลาเดิม หรือใกล้เคียงเวลาเดิมที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Health and Drug Alerts: Diane-35 (cyproterone acetate): safety concerns. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC143555/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป