การฟอกเลือด

เผยแพร่ครั้งแรก 26 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 13 นาที
การฟอกเลือด

การฟอกเลือดคือกระบวนการกำจัดของเสียและของเหลวส่วนเกินจากเลือด ซึ่งเป็นกระบวนการที่จัดขึ้นทดแทนการทำงานของไต โดยการฟอกเลือดมักเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนการไหลเวียนเลือดเข้าไปสู่เครื่องจักรที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำความสะอาดเลือดโดยเฉพาะ

ทำไมจึงต้องเข้ารับการฟอกเลือด?

หากไตของคุณไม่สามารถทำงานได้อย่างปรกติ ยกตัวอย่างเช่นคุณเป็นโรคไตเรื้อรัง (ไตล้มเหลว) ของเสียและของเหลวในร่างกายจะเริ่มสะสมเข้าด้วยกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากปล่อยเอาไว้โดยไม่ทำการรักษาจะทำให้เกิดภาวะที่ไม่ดีขึ้นหลายอย่างและอาจถึงชีวิตได้ โดยการฟอกเลือดจะเป็นการกรองสารตกค้างและของเหลวที่ไม่จำเป็นออกจากเลือดเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาทั้งหลาย

ต้องเข้ารับการฟอกเลือดนานเพียงใด?

ขึ้นอยู่กับกรณี ปัญหาไตล้มเหลวอาจเป็นภาวะชั่วคราว ซึ่งการฟอกเลือดจะหยุดลงก็ต่อเมื่อไตของคุณฟื้นตัวกลับมาแล้ว

แต่ส่วนมากผู้ที่มีต้องเข้ารับการปลูกถ่ายไตใหม่จะไม่สามารถดำเนินการผ่าตัดเปลี่ยนไตได้ทันที ทำให้ต้องทำการฟอกเลือดจนกว่าจะมีผู้บริจาคไตที่ยังใช้ได้เข้ามา

หากคุณไม่สามารถทำการปลูกถ่ายไตได้ อย่างการที่สุขภาพของคุณไม่ดีพอจะเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ คุณต้องทำการฟอกเลือดไปตลอดชีวิต

เกิดอะไรขึ้นระหว่างการฟอกเลือด?

การฟอกเลือดมีอยู่ 2 ประเภทดังนี้

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นการฟอกไตที่พบได้มากและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดระหว่างกระบวนการจะมีการแทงท่อที่ปลายติดเข็มไว้ที่แขนของคุณ เลือดจะไหลผ่านท่อเข้าไปยังเครื่องกรอง และเครื่องกรองจะปล่อยเลือดสะอาดกลับเข้าไปในร่างกายผ่านท่ออีกเส้นหนึ่ง วิธีการนี้มักดำเนินการ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยแต่ละครั้งจะมีระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การไตทางช่องท้อง

การไตทางช่องท้องจะใช้เยื่อบุช่องท้องของคุณเป็นตัวกรองแทนการใช้เครื่องจักรภายนอกร่างกาย โดยเยื่อบุช่องท้องดังกล่าวมีหลอดเลือดเล็ก ๆ หลายพันหลอดเรียงอยู่ จึงเปรียบได้ราวกับเป็นเครื่องกรองตามธรรมชาติ

ก่อนการรักษาจะมีการกรีดช่องใกล้กับสะดือของคุณเพื่อทำการสอดท่อล้างไตเข้าไปยังรอยที่กรีดซึ่งจะลงไปยังโพรงช่องท้องของคุณ ท่อดังกล่าวจะถูกปล่อยให้ติดท้องของคุณอย่างนั้นถาวร

ของเหลวจะถูกปั๊มเข้าไปยังโพรงช่องท้องผ่านท่อล้างไต โดยเลือดจะไหลผ่านหลอดเลือดภายในโพรงช่องท้องทำให้ของเสียและของเหลวส่วนเกินถูกแยกออกจากเลือดเข้าไปผสมกับน้ำยาล้างไต หลังจากผ่านไปไม่กี่ชั่วโมง สารที่ใช้จะถูกดูดออกใส่ถุงและใส่ของเหลวใหม่ลงไปแทน

การสับเปลี่ยนของเหลวมักใช้เวลาประมาณ 30 – 40 นาที และมักต้องทำซ้ำ ๆ ประมาณ 4 ครั้งภายใน 1 วัน กระบวนการนี้สามารถทำโดยเครื่องจักรระหว่างที่คุณนอนหลับได้

การฟอกเลือดประเภทไหนที่ดีที่สุด?

กรณีส่วนมาก คุณสามารถเลือกใช้วิธีฟอกเลือดใดก็ได้ตามความต้องการ สองกรรมวิธีนี้มักส่งผลกับทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งสองก็มีข้อเสียที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น:

  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต้องให้คุณทำการรักษา 4 ครั้งภายในหนึ่งอาทิตย์ แต่ละครั้งจะใช้เวลานานกว่า และต้องทำในโรงพยาบาลเท่านั้น
  • การฟอกไตทางช่องท้องสามารถทำได้ตามบ้านเรือนและสามารถดำเนินการระหว่างที่คุณนอนหลับได้ แต่ต้องทำทุกวัน

ถ้าคุณสามารถเลือกวิธีการฟอกเลือดได้ตามความต้องการ ทีมรักษาของคุณจะชี้แจงข้อดีข้อเสียของแต่ละกระบวนการก่อนการตัดสินใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลข้างเคียงจากการฟอกเลือด

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งและผิวหนังคัน ส่วนการฟอกไตทางช่องท้องจะมีความเสี่ยงทำให้ผู้ฟอกไตเป็นโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ (การติดเชื้อที่เยื่อบุผิวชั้นบาง ๆ ที่ล้อมรอบช่องท้อง)

และทั้งสองกระบวนการยังทำให้ผู้รับการฟอกเลือดรู้สึกอ่อนล้าอีกด้วย

ชีวิตที่ต้องอยู่กับการฟอกเลือด

ผู้ป่วยหลายรายที่ต้องทำการฟอกเลือดนับว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยสามารถ:

  • ทำงานหรือศึกษาเล่าเรียนต่อไปได้
  • ขับรถได้
  • ว่ายน้ำได้
  • ไปพักร้อนได้

ส่วนมากมักใช้ชีวิตอยู่กับการฟอกเลือดได้หลายปี แม้ว่าจะปัญหาด้านการทำงานของไตที่ส่งผลต่อร่างกายก็ตาม

แต่โชคไม่ดีที่หลายคนเสียชีวิตขณะที่ต้องรับการฟอกเลือดหากไม่ได้รับการปลูกถ่ายไต โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ บางคนที่เริ่มการฟอกเลือดในช่วงอายุ 20 ปีปลาย ๆ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้นาน 20 ปีหรือมากกว่านั้น แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 75 อาจมีชีวิตต่อไปได้เพียง 2 ถึง 3 ปีเท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตามนั้น ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ อัตราการรอดชีวิตของผู้ที่เข้ารับการฟอกเลือดได้เพิ่มสูงขึ้น และคาดว่าจะยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต

แนวทางดำเนินการฟอกเลือด

การฟอกเลือดมีอยู่ 2 ประเภทคือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการฟอกไตทางช่องท้อง

  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจะเป็นกรรมวิธีแยกเลือดเข้าไปยังเครื่องจักรภายนอกร่างกาย ซึ่งจะทำการกรองเลือดก่อนฉีดกลับเข้าร่างกาย
  • ส่วนการฟอกไตทางช่องท้องจะเป็นการปั๊มของเหลวล้างไตเข้าไปยังโพรงช่องท้องเพื่อทำการชะล้างของเสียออกจากเลือดผ่านทางหลอดเลือดที่เรียงตัวอยู่ภายในช่องท้อง

รายละเอียดการรักษาทั้งสองจะถูกอธิบายได้ในหัวข้อต่อ ๆ ไป:

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

การเตรียมการรักษา

ก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม คุณต้องถูกติดตั้งหลอดเลือดเทียมที่แขน ซึ่งเรียกว่าการผ่าตัดทำเส้นล้างไต (AV fistula) ซึ่งหลอดเลือดดังกล่าวจะเชื่อมหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงเข้าด้วยกัน

การเชื่อมหลอดเลือดทั้งสองเข้าด้วยกันทำให้หลอดเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้นและแข็งแรงขึ้น ทำให้แพทย์สามารถใช้เครื่องจักรส่งถ่ายเลือดไปมาได้

การผ่าตัด AV fistula มักดำเนินการล่วงหน้าการฟอกเลือดครั้งแรก 4 ถึง 8 อาทิตย์ เพื่อให้เนื้อเยื่อและผิวหนังรอบเส้นล้างไตฟื้นฟูตัวเองก่อน

หากหลอดเลือดของคุณมีขนาดแคบเกินไปที่จะต่อ AV fistula จะมีกระบวนการอีกอย่างที่เรียกว่า AV graft โดยจะเป็นการปลูกถ่ายท่อสังเคราะห์เพื่อเชื่อมหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงแทนหากเป็นกรณีเร่งด่วนหรือฉุกเฉิน คุณอาจถูกต่อท่อจากลำคอแทน ซึ่งก็คือการสอดท่อขนาดเล็กไปยังเส้นเลือดใหญ่ที่คอ

กระบวนการของการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ผู้ป่วยส่วนมากต้องเข้ารับการฟอกเลือดวิธีนี้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในแต่ละครั้งจะมีกระบวนการยาวนานประมาณ 4 ชั่วโมง คุณสามารถดำเนินการวิธีนี้ที่บ้านได้หากคุณมีอุปกรณ์และฝึกฝนมาเพียงพอแล้ว

แพทย์จะแทงเข็ม 2 ตัวเข้าไปยัง AV fistula (หรือ AV graft) และติดเทปกาวให้อยู่กับที่ โดยเข็มตัวใดตัวหนึ่งจะมีหน้าที่ค่อย ๆ ดูดเลือดออกไปยังเครื่องฟอกเลือด

เครื่องฟอกเลือดจะเป็นอุปกรณ์ที่มาแทนชุดเยื่อบุผิวที่ทำหน้าที่เป็นตัวกรองในร่างกายของคุณ โดยจะมีการใช้สารล้างไตเข้ามาช่วยกระบวนการด้วย

เยื่อบุกรองจะคัดแยกของเสียออกจากเลือดของคุณ ซึ่งจะถูกไหลไปผสมอยู่ในสารล้างไต หลังจากนั้นสารล้างไตจะถูกสูบออกจากเครื่องฟอกเลือด และเลือดที่ผ่านการกรองแล้วจะถูกฉีดกลับเข้าร่างกายของคุณผ่านเข็มที่สอง

ระหว่างกระบวนการฟอกเลือดคุณต้องนอนราบอยู่บนเตียง โดยคุณสามารถอ่านหนังสือ ฟังเพลง ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือนอนหลับไปเลยก็ได้

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมไม่สร้างอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้และเวียนศีรษะหรือมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งระหว่างกระบวนการได้ ซึ่งภาวะเหล่านี้เกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงกะทันหันของระดับเลือดในร่างกายนั่นเอง

หลังจากการกรองเลือด เข็มจะดึงออกจากแขนและแพทย์จะติดผ้าปิดแผลเพื่อป้องกันเลือดไหลแก่คุณ ถ้าคุณทำการรักษาที่โรงพยาบาลคุณก็สามารถกลับบ้านได้หลังเสร็จสิ้นกระบวนการ

ข้อจำกัดทางของเหลวและอาหาร

ถ้าคุณต้องทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม คุณจะถูกจำกัดปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่สามารถทานเข้าไปได้

เนื่องมาจากเครื่องกรองเลือดภายใน 4 ชั่วโมงไม่สามารถขจัดของเหลวส่วนเกินในปริมาณมากได้ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากับร่างกายที่ซึ่งของเหลวในเลือดเกิดการสะสมในเลือด เนื้อเยื่อ และปอด

ปริมาณของของเหลวที่คุณสามารถดื่มได้จะขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายและน้ำหนักของคุณ โดยคนส่วนมากจะได้รับอนุญาตให้ดื่มน้ำได้เพียง 1,000-1,500ml ต่อวันเท่านั้น

คุณยังต้องระมัดระวังการรับประทานอาหารของคุณอีกเช่นกัน เนื่องจากเป็นการป้องกันการสะสมปริมาณมากเกินไปของเกลือแร่อย่างโซเดียม (เกลือ) โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสที่มักจะถูกกรองจากไตของคุณ

คุณจะถูกส่งตัวไปพบนักโภชนาการเพื่อให้พวกเขาวางแผนการกินแก่คุณ โดยแผนการรับประทานอาหารนั้นจะแตกต่างกันไปตามกรณีบุคคล ซึ่งมักจะเป็นการแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีสารโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูง และลดปริมาณเกลือที่คุณทานเข้าไป เป็นต้น

การฟอกไตทางช่องท้อง

การฟอกไตทางช่องท้องจะมีสองประเภทดังนี้:

  • การฟอกไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (CAPD): เป็นกระบวนการกรองเลือดหลาย ๆ ครั้งภายในหนึ่งวัน
  • การฟอกไตทางช่องท้องแบบอัตโนมัติ (APD): เป็นกระบวนการกรองเลือดที่ใช้เครื่องกรองในช่วงกลางคืนหรือระหว่างที่คุณนอนหลับอยู่

การเตรียมการรักษา

ก่อนการฟอกไตทั้งสองวิธีนี้ จะมีการเปิดช่องในหน้าท้องของคุณเพื่อทำให้สารล้างไตเข้าไปยังช่องภายในท้องของคุณได้

โดยมักจะทำการกรีดเปิดช่องใต้สะดือของคุณ และมีการสอดท่อบาง ๆ ที่เรียกว่าสายล้างไตเข้าไปยังรอยกรีดนั้น และจะปล่อยไว้ให้แผลเปิดรักษาตัวเองก่อนเริ่มการฟอกไตไม่กี่อาทิตย์

สายล้างจะถูกติดคาหน้าท้องของคุณถาวร ทำให้ช่วงแรก ๆ จะสร้างความรำคาญแก่ผู้ป่วยบ้าง ซึ่งหากยังไม่สามารถทำความเคยชินกับท่อดังกล่าวได้ แพทย์อาจจะถอดท่อที่หน้าท้องคุณออกและเปลี่ยนไปใช้วิธีการฟอกเลือดผ่านเครื่องไตเทียมแทน

การฟอกไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง

อุปกรณ์ที่ใช้ดำเนินการ CAPD ประกอบด้วย:

  • ถุงบรรจุสารล้างไต
  • ถุงเปล่าเพื่อบรรจุของเสียที่ล้างออกมา
  • ชุดท่อและคลิปหนีบเพื่อติดถุงทั้งสองเข้ากับท่อล้าง
  • เสาแขวนถุงทั้งสอง

ในตอนแรก ถุงที่บรรจุสารล้างไตถูกติดด้วยสายท่อที่เชื่อมเข้าไปในช่องท้องของคุณ ซึ่งทำให้สารดังกล่าวไหลเข้าไปในโพรงช่องท้องและถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่กี่ชั่วโมง

ในขณะที่สารล้างไตอยู่ภายในช่องท้องของคุณ ของเสียและของเหลวส่วนเกินในเลือดจะถูกกรองออกจากเลือดและผสมเข้ากับสารล้างไต

หลังจากผ่านไปไม่กี่ชั่วโมง ของเหลวเก่าจะถูกดูดออกใส่ถุงเปล่าที่เตรียมไว้และจะมีการฉีดสารใหม่เข้าไปในโพรงช่องท้องแทน ซึ่งจะถูกปล่อยไว้เช่นนั้นจนกว่าจะถึงกระบวนการครั้งหน้า กระบวนการแลกเปลี่ยนของเหลวนี้มักใช้เวลาประมาณ 30 – 40 นาทีจนกว่าจะสิ้นสุด

การสับเปลี่ยนของเหลวนี้ไม่สร้างความเจ็บปวดใด ๆ แต่คุณอาจรู้สึกได้ว่ามีของเหลวเติมเข้าช่องท้องของคุณ ซึ่งทำให้รู้สึกแปลก ๆ หรือไม่สบายเนื้อสบายตัวเล็กน้อยในตอนแรก ซึ่งตัวคุณจะค่อย ๆ ชินจนไม่รู้สึกไปเอง

ผู้คนที่รับการกรองแบบ CAPD ต้องดำเนินการเช่นนี้ประมาณ 4 ครั้งต่อวัน โดยหลังจากเสร็จการรักษาทุกครั้งถุงบรรจุที่เชื่อมอยู่อีกฝากของสายล้างต้องถูกปิดผนึกทุกครั้ง

การฟอกไตทางช่องท้องอัตโนมัติ

การฟอกไตทางช่องท้องแบบอัตโนมัติ (APD) คล้ายกับ CAPD เว้นแต่เครื่องจักรที่ใช้จะควบคุมการสับเปลี่ยนของเหลวขณะที่คุณนอนหลับ

ต้องทำการติดถุงบรรจุสารล้างไตกับเครื่อง APD ก่อนเข้านอน และขณะที่คุณนอนหลับ เครื่องจักรจะทำการแลกเปลี่ยนของเหลวหลายครั้งด้วยตนเอง

โดยคุณต้องนอนติดกับเครื่อง APD เป็นเวลา 8 – 10 ชั่วโมง โดยในตอนท้ายของการรักษา สารล้างไตบางส่วนจะถูกปล่อยทิ้งไว้ช่องท้องของคุณ โดยจะทำการดูดออกระหว่างการรักษาครั้งต่อไป

ระหว่างดำเนินการสามารถหยุดการสับถ่ายของเหลวได้ชั่วคราวหากคุณต้องการลุกออกไปห้องน้ำกลางดึก

ผู้ป่วยที่ใช้วิธี APD บางคนกังวลว่าอาจเกิดเหตุการณ์ไฟดับหรือปัญหาทางเทคนิคโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว ซึ่งหากพลาดกระบวนการนี้ไปหนึ่งคืนก็มักจะไม่เป็นไร ตราบใดที่คุณดำเนินการรักษาต่อจากคราวก่อนภายใน 24 ชั่วโมง โดยคุณจะได้รับเบอร์โทรศัพท์ติดต่อฉุกเฉินที่ใช้การได้ 24 ชั่วโมง เผื่อประสบกับปัญหาทางเทคนิค

ข้อจำกัดทางของเหลวและอาหาร

ถ้าคุณต้องทำการฟอกไตทางช่องท้อง จะมีข้อจำกัดด้านการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มน้อยกว่าการกรองเลือดผ่านเครื่องไตเทียมเนื่องมาจากกระบวนการนี้มักดำเนินการบ่อยครั้งกว่า

อย่างไรก็ตามคุณก็อาจถูกแนะนำให้จำกัดปริมาณของเหลวที่ดื่มเข้าไป กับเปลี่ยนการรับประทานอาหารของคุณตามความสมควรที่ทางนักโภชนาการแนะนำอยู่ดี

การฟอกเลือดและการตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ระหว่างที่ต้องเข้ารับการฟอกเลือดมักก่อให้เกิดอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์ แต่บางครั้งก็สามารถทำการตั้งครรภ์จนคลอดสำเร็จก็ได้ โดยผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และต้องเข้าฟอกเลือดจะถูกจับตาดูระหว่างการฟอกเลือดอย่างใกล้ชิดกว่าปกติ และอาจต้องทำการฟอกเลือดบ่อยครั้งและมีระยะเวลานานมากกว่าปรกติ ถ้าคุณกำลังพิจารณาว่าจะมีลูก ควรทำการปรึกษาแพทย์ของคุณก่อน

อุปกรณ์ฟอกเลือด

ถ้าคุณเลือกที่จะทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่บ้านหรือการฟอกไตทางช่องท้อง คุณต้องเตรียมทั้งอุปกรณ์และสิ่งที่ต้องใช้ให้เหมือนกับการดำเนินการฟอกไตตามโรงพยาบาล และคุณจะได้รับการชี้แจงถึงแนวทางจัดหาอุปกรณ์ทุกชิ้น และฝึกกระบวนการต่าง ๆ ให้ดำเนินการฟอกได้ด้วยตัวคุณเอง

ต้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทุกชิ้นเอาไว้ล่วงหน้าเผื่อกรณีฉุกเฉิน หรืออย่างกรณีสุดวิสัย อย่างเช่นกรณีที่ไม่สามารถออกไปซื้อถุงบรรจุน้ำล้างไตเนื่องจากสภาพอากาศได้ เป็นต้น โดยแพทย์และพยาบาลของคุณแนะนำให้สำรองอุปกรณ์ทุกชิ้นไว้เผื่อไว้สำหรับหนึ่งอาทิตย์

คุณควรทำการแจ้งหน่วยงานจ่ายไฟฟ้าว่าบ้านของคุณต้องติดตั้งเครื่องฟอกเลือดหรือมีเครื่องฟอกไตอัตโนมัติ เพื่อที่จะให้พวกเขาจัดการจ่ายไฟสำรองให้แก่คุณในกรณีที่เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง

ข้อดีและข้อเสียของการฟอกเลือดทั้งสอง

หากคุณต้องเข้ารับการฟอกเลือด ส่วนมากแล้วแพทย์จะเสนอแนวทางการฟอกให้คุณเลือก สำหรับผู้คนส่วนมาก การฟอกเลือดทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน ทำให้คุณสามารถเลือกได้ว่าต้องการรับการฟอกเลือดวิธีใด แต่ก็มีบางกรณีที่แพทย์จะทำการเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดให้ ยกตัวอย่างเช่น แพทย์จะเลือกใช้กรรมวิธีฟอกไตทางช่องท้องกับ:

  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี
  • ผู้ที่ยังคงมีการทำงานของไตจำกัดอยู่
  • ผู้ใหญ่ที่ไม่มีภาวะสุขภาพร้ายแรงอะไร อย่างเช่นโรคหัวใจ หรือมะเร็ง
  • และ เลือกใช้วิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินการฟอกไตทางช่องท้องได้ด้วยตนเอง อย่างผู้ที่มีความพิการทางสายตา หรือผู้ที่มีภาวะสุขภาพย่ำแย่ เป็นต้น

การตัดสินใจเลือกกระบวนการรักษาของคุณจะไม่ใช่การตัดสินใจเด็ดขาด เพราะอาจมีโอกาสที่คุณอาจต้องเปลี่ยนไปรักษาอีกวิธีการแทน โดยคุณสามารถอ่านและเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการฟอกเลือดแต่ละชนิดได้ดังต่อไปนี้:

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ข้อดีที่โดดเด่นที่สุดของการฟอกเลือดผ่านเครื่องไตเทียมคือคุณสามารถทำการฟอกเลือดได้ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ กระบวนการนี้ส่วนมากมักใช้เครื่องกรองเลือดเพียง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยแต่ละครั้งจะมีระยะเวลา 4 ชั่วโมง โดยคุณต้องทำการวางแผนชีวิตในวันที่ต้องทำการฟอกเลือดให้ดี การฟอกแต่ละครั้งมักดำเนินการตามคลินิกฟอกเลือด หรือคุณสามารถทำการฟอกเลือดเองได้ที่บ้านก็ได้ถ้ามีทุกอย่างพร้อม

ถ้าคุณต้องเดินทางออกนอกประเทศ คุณต้องจัดหาศูนย์ฟอกเลือด ณ ประเทศแห่งนั้นล่วงหน้า โดยต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์นั้น ๆ ก่อนเพื่อให้พวกเขาสามารถจัดเตรียมอุปกรณ์ฟอกเลือดต่าง ๆ ให้คุณได้เมื่อไปถึงที่หมายแล้ว

ข้อเสียของการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียมคือข้อจำกัดด้านอาหารและปริมาณของเหลวที่สามารถปริโภคได้ ผู้ป่วยที่ต้องรับการฟอกเลือดแบบนี้หลายคนถูกแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท และถูกจำกัดการดื่มน้ำไม่ให้มากกว่าสองแก้วต่อวัน

การฟอกไตทางช่องท้อง

ข้อดีที่แตกต่างจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมคือ การฟอกเลือดผ่านช่องท้องนี้ไม่จำเป็นต้องไปยังสถานพยาบาลเพื่อทำการฟอกเลือดบ่อย ๆ โดยผู้ป่วยสามารถดำเนินการได้เองที่บ้าน และไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย

อุปกรณ์ที่ใช้กับการฟอกเลือดทางช่องท้องสามารถพกพาได้สะดวกกว่า ทำให้คุณสามารถนำติดตัวไปต่างแดนได้อย่างอิสระมากกว่า

อีกทั้งการฟอกไตรูปแบบนี้ยังมีข้อจำกัดด้านการรับประทานอาหารที่น้อยกว่าข้างต้นมาก ๆ สำหรับข้อเสียของการฟอกไตผ่านช่องท้องคือต้องดำเนินการทุก ๆ วัน อีกทั้งท่อที่สอดติดอยู่ที่ท้องของคุณตลอดเวลาทำให้คุณรู้สึกรำคาญบ้าง แม้จะทำการปกปิดมันได้ด้วยการใส่เสื้อผ้าก็ตาม

ข้อเสียอีกประการคือคุณจะมีความเสี่ยงเป็นโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งในกรณีที่หายาก เยื่อบุช่องท้องของคุณจะค่อย ๆ หนาขึ้นและมีแผลเกิดขึ้นมา บางคนอาจต้องเปลี่ยนไปใช้กรรมวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแทนหลังจากใช้กรรมวิธีนี้ไม่กี่ปี เพื่อป้องกันภาวะนี้ไม่ให้เกิดขึ้น

ข้อเสียสุดท้ายคือการฟอกไตทางช่องท้องนี้จะมีการใช้สารล้างไตที่ทำให้ระดับโปรตีนตกลง จนทำให้ผู้รับการฟอกขาดพลังงานและขาดสารอาหารได้ อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงเป็นเรื่องน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

การฟอกไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องและแบบอัตโนมัติ

หากคุณเลือกใช้การฟอกไตผ่านช่องท้อง คุณก็ต้องตัดสินใจด้วยว่าจะใช้การฟอกไตแบบต่อเนื่อง (CAPD) หรือแบบอัตโนมัติ (APD)

ประโยชน์ของ CAPD คือคุณสามารถพกพาอุปกรณ์ฟอกไตได้ง่ายดาย ทำให้คุณมีอิสระที่จะเดินทางนอกบ้านมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถนำอุปกรณ์ CAPD ไปยังที่ทำงานได้ ซึ่งการทำการฟอกไตด้วยเครื่องดังกล่าวจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

สำหรับข้อดีของ APD คือคุณสามารถใช้ชีวิตทั้งวันโดยไม่ต้องดำเนินการฟอกเลือดเลย แต่คุณต้องคอยทำนุบำรุงอุปกรณ์ฟอกเลือด (และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง) อยู่เสมอ

ความเสี่ยงและผลข้างเคียง

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการฟอกเลือดผ่านช่องท้องต่างก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียง เนื่องมาจากการทำงานของสารล้างไตเอง และข้อเท็จจริงที่ว่ามันสามารถจัดการได้เพียงเสี้ยวเดียวของการทำความสะอาดโดยไตจริงเท่านั้น

อาการเหนื่อยล้า

ผลข้างเคียงที่พบเห็นทั่วไปหลังการล้างไตทุกรูปแบบคืออาการเหนื่อยล้าทั้งวัน โดยอาการดังกล่าวคาดว่าเกิดมาจากเหตุผลต่าง ๆ ดังนี้:

  • การสูญเสียการทำงานปรกติจากไต
  • ผลกระทบของการฟอกเลือดที่มีต่อร่างกาย
  • ข้อจำกัดด้านอาหารการกินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเลือด
  • ความเครียดและความกังวลของผู้ที่ประสบกับภาวะไตล้มเหลว

คุณสามารถพูดคุยกับนักโภชนาการให้พวกเขาวางแผนการรับประทานอาหารของคุณให้ได้ เพื่อเพิ่มระดับพลังงานที่เหมาะสมกับตัวคุณ

อีกทั้งการออกกำลังกายเป็นประจำก็สามารถช่วยประเด็นนี้ได้เช่นกัน โดยอาจจะลำบากเล็กน้อยในช่วงแรก แต่เมื่อร่างกายสามารถปรับตัวได้แล้วการออกกำลังกายจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน

การออกกำลังแบบค่อยเป็นค่อยไประดับต่ำไปจนถึงปานกลางนั้นเหมาะสมที่สุด อย่างเช่นการปั่นจักรยาน เดิน วิ่ง หรือว่ายน้ำ โดยแพทย์ผู้รักษาคุณสามารถแนะนำถึงวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณได้

ผลข้างเคียงของการฟอกเลือดผ่านเครื่องไตเทียม

ความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำเป็นผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดกับผู้ที่ทำการฟอกเลือดผ่านไตเทียม โดยเกิดมาจากการตกลงของระดับของเหลวระหว่างกระบวนการฟอกเลือดนั่นเอง อาการจากภาวะความดันเลือดตกก็คือคลื่นไส้และวิงเวียนศีรษะ

แนวทางลดความรุนแรงของอาการจากความดันโลหิตต่ำคือพยายามดื่มน้ำตามคำแนะนำของแพทย์หรือนักโภชนาการ แต่หากอาการยังคงมีอยู่ คุณควรไปปรึกษาแพทย์เนื่องจากอาจต้องมีการปรับปริมาณของเหลวที่ใช้ระหว่างขั้นตอนการฟอกเลือด

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

ผู้ที่ทำการฟอกเลือดผ่านเครื่องไตเทียมจะมีความเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดสูง (โลหิตเป็นพิษ) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการแทรกแซงของเชื้อแบคทีเรียที่กระจายเข้าไปยังเลือด ภาวะดังกล่าวจะส่งผลทำให้อวัยวะหลายส่วนล้มเหลว

สัญญาณเตือนของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดคือมีไข้สูง (มากถึง 38 องศาเซลเซียส) หรือวิงเวียนศีรษะ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

หากคุณเริ่มมีอุณหภูมิร่างกายสูง ให้รีบติดต่อทีมฟอกเลือดของคุณในทันทีเพื่อขอคำแนะนำ ถ้าคุณเกิดภาวะติดเชื้อจริง คุณจะถูกส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาลและรักษาด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะ

ตะคริว

ระหว่างกระบวนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม บางคนอาจมีอาการตะคริวขึ้นมา ซึ่งมักจะเป็นกับขาของพวกเขา คาดกันว่าอาการตะคริวนี้เกิดมาจากการที่กล้ามเนื้อตอบสนองต่อของเหลวที่เสียไประหว่างการฟอกเลือด

หากอาการตะคริวเกิดรุนแรงจนเจ็บปวดให้รีบติดต่อทีมฟอกไตของคุณในทันทีเพื่อขอคำแนะนำที่จะช่วยจัดการกับอาการดังกล่าว

คันผิวหนัง

ผู้เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหลายคนมีอาการคันตามผิวหนัง โดยเกิดมาจากการสะสมกันของเกลือแร่ในร่างกายระหว่างการฟอกเลือด

หากมีอาการคันรุนแรงให้รีบติดต่อทีมฟอกไตของคุณในทันที โดยพวกเขามักจะแนะนำให้ใช้ครีมทาผิวเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นขึ้น

ผลข้างเคียงอื่น ๆ

ผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่เกิดมาจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีดังนี้:

  • นอนหลับยาก (ภาวะนอนไม่หลับ)
  • ปวดกระดูกหรือข้อต่อ
  • หมดความรู้สึกทางเพศและสมรรถนะทางเพศเสื่อม
  • ปากแห้ง
  • ภาวะกังวล

ผลข้างเคียงของการฟอกเลือดทางช่องท้อง

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ

ผลข้างเคียงทั่วไปของการฟอกไตผ่านช่องท้องคือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผนังเยื่อบุช่องท้อง โดยมักเกิดเนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้งานระหว่างการฟอกไตไม่สะอาด

วิธีป้องกันการติดเชื้อที่เยื่อบุช่องท้องคือการทำอุปกรณ์ฟอกไตให้สะอาดอยู่เสมอ โดยคุณจะได้รับการฝึกฝนเพื่อการณ์นี้โดยเฉพาะ

สำหรับอาการและสัญญาณของภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบมีดังนี้:

  • ปวดท้อง
  • มีอุณหภูมิร่างกายสูง(หรือมากถึง 38 องศาเซลเซียส)
  • รู้สึกไม่สบาย
  • หนาวสั่น
  • น้ำล้างไตที่ออกมามีสีขุ่น

ให้รีบติดต่อกลับไปยังทีมรักษาของคุณทันที่หากมีอาการที่กล่าวไป

โดยภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบมักรักษาได้ด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะ แต่ถ้ามีการติดเชื้อรุนแรงหรือเป็นซ้ำ ๆ คุณอาจต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแทน

ไส้เลื่อน

ผู้ที่รับการฟอกเลือดผ่านช่องท้องมักมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นไส้เลื่อน เนื่องมาจากการอุ้มของเหลวไว้ในโพรงช่องท้องเป็นเวลาหลายชั่วโมงจะทำให้กล้ามเนื้อท้องต้องออกแรงมาก

โดยอาการของภาวะไส้เลื่อนคือจะมีก้อนอยู่ที่หน้าท้อง โดยก้อนดังกล่าวจะไม่สร้างความเจ็บปวดใด ๆ บางกรณีคุณสามารถตรวจพบก้อนดังกล่าวได้จากการตรวจร่างกายกับแพทย์ หรือบางคนจะเห็นก้อนก็เมื่อกำลังไอหรืองอตัว เป็นต้น

การผ่าตัดสามารถรักษาไส้เลื่อนได้ โดยระหว่างการผ่าตัดแพทย์ศัลยกรรมจะยัดเนื้อเยื่อที่หย่อนออกมากลับไปสู่ตำแหน่งเดิมและใช้ตาข่ายสังเคราะห์ยึดผนังกล้ามเนื้อหน้าท้องเอาไว้

น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

ของเหลวที่ใช้ล้างไตประกอบไปด้วยโมเลกุลน้ำตาล ซึ่งอาจมีบางส่วนถูกร่างกายของคุณดูดซึมเข้าไป ทำให้ปริมาณแคลอรีในหนึ่งวันของคุณเพิ่มขึ้นหลายร้อยแคลอรี

หากคุณไม่ชดเชยแคลอรีที่เพิ่มเข้าไปโดยไม่ตั้งใจนี้ด้วยการออกกำลังกายหรือพยายามลดอาหารแคลอรีสูง มันจะส่งผลทำให้คุณมีน้ำหนักร่างกายที่เพิ่มขึ้น

ถ้าคุณกังวลว่าน้ำหนักของคุณมากเกินไป คุณควรปรึกษากับทีมรักษาฟอกไตของคุณเพื่อให้พวกเขาแนะนำการรับประทานอาหารและออกกำลังกายแก่คุณ

พยายามหลีกเลี่ยงการทานอาหารเสริมที่อ้างว่าจะช่วยลดน้ำหนักให้คุณได้เร็วขึ้นทุกประเภท เนื่องจากสารในอาหารเสริมเหล่านี้อาจเข้าไปรบกวนเคมีของร่างกายคุณ และทำให้คุณรู้สึกไม่สบายได้


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Is Dialysis? Peritoneal, Hemodialysis, Fistula, Diet & Life Expectancy. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/dialysis/article.htm)
Dialysis - How it's performed. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/dialysis/what-happens/)
Dialysis (Hemodialysis): Purpose, Procedure, and Complications. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/kidney-dialysis#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)