กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Eye Disease)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที

โรคตาจากเบาหวาน เป็นกลุ่มของปัญหาทางตาที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  ซึ่งประกอบไปด้วยโรคหลายโรค ได้แก่ ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (diabetic retinopathy), จอประสาทตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัด (diabetic macular edema), ต้อกระจก (cataracts) และต้อหิน (glaucoma)

เมื่อเวลาผ่านไป โรคเบาหวานสามารถสร้างความเสียหายกับดวงตา และนำไปสู่การมองเห็นที่ลดลง และอาจทำให้ตาบอดได้ แต่คุณสามารถปฏิบัติตนตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อป้องกันโรคตาจากเบาหวานได้ หรือช่วยให้อาการของโรคตาจากเบาหวานไม่ได้แย่ลง ได้โดยการควบคุมดูแลรักษาโรคเบาหวาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมโรคเบาหวาน และช่วยให้ตายังคงมีสุขภาพดี มีดังนี้

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และคอเลสเตอรอล หรือเรียกอีกอย่างว่า การใช้หลักการ ABCs
  • ถ้าคุณสูบบุหรี่ แนะนำให้เข้ารับการช่วยเหลือเรื่องการเลิกบุหรี่
  • เข้ารับการตรวจตากับจักษุแพทย์ปีละ 1 ครั้ง

ในช่วงแรกของการเป็นโรคตาจากเบาหวาน หรือ ขณะที่มีการสูญเสียการมองเห็นในระยะแรก จะไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ ดังนั้นการตรวจสุขภาพดวงตากับจักษุแพทย์จะช่วยให้แพทย์รู้ปัญหาได้เร็วและรักษาคุณอย่างทันท่วงทีก่อนที่จะมีการสูญเสียการมองเห็นในขั้นรุนแรง

โรคเบาหวานส่งผลกระทบต่อตาได้อย่างไร

โรคเบาหวานส่งผลกระทบต่อตาเมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงเกินไป

ผลในระยะสั้น: คุณจะยังมีความเสี่ยงน้อยต่อการสูญเสียการมองเห็นจากระดับน้ำตาลกลูโคสที่สูง ผู้ป่วยบางรายอาจมีการมองเห็นภาพไม่ชัดได้เป็นระยะเวลาไม่กี่วันหรือสัปดาห์หลังการเปลี่ยนแผนการรักษาโรคหรือเปลี่ยนยา ระดับน้ำตาลกลูโคสที่สูงสามารถเปลี่ยนระดับของเหลวหรือทำให้เกิดการบวมของเนื้อเยื่อตาที่เกี่ยวข้องกับการโฟกัสวัตถุ ทำให้มีการมองเห็นภาพไม่ชัดเกิดขึ้น การมองเห็นภาพไม่ชัดในกรณีนี้เป็นเพียงชั่วคราว และจะหายได้หากระดับน้ำตาลกลูโคสลดระดับลงใกล้ค่าปกติ

ถ้าระดับน้ำตาลกลูโคสยังคงสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน: จะทำให้เกิดการทำลายเส้นเลือดขนาดเล็กข้างหลังดวงตาได้ ความเสียหายนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงมีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (ช่วงที่ระดับน้ำตาลกลูโคสสูงกว่าค่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน) ความเสียหายที่เกิดกับหลอดเลือด จะทำให้ของเหลวในหลอดเลือดรั่วออกมา และทำให้เกิดการบวมเกิดขึ้น ทำให้หลอดเลือดใหม่ที่อ่อนแอมีการสร้างขึ้นทดแทน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หลอดเลือดเหล่านี้สามารถเกิดเลือดออกได้บริเวณส่วนกลางของตา ทำให้เกิดรอยแผลเป็น หรือทำให้เกิดความดันภายในลูกตาสูงที่อันตรายได้  โรคตาจากเบาหวานที่ร้ายแรงส่วนใหญ่เริ่มต้นจากปัญหาของหลอดเลือด  โรคตาทั้ง 4 ชนิดที่สามารถคุกคามการมองเห็นมีดังนี้

  1. ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (diabetic retinopathy)

    จอประสาทตา หรือจอตา (retina) เป็นเนื้อเยื่อที่บุอยู่ด้านในลึกสุดของดวงตา จอประสาทตาจะมีความไวต่อแสงและเปลี่ยนสิ่งที่มองเห็นเป็นสัญญาณไปที่สมอง เพื่อให้สมองประมวลผลแล้วเห็นเป็นภาพเกิดขึ้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดจะทำให้เกิดอันตรายต่อจอประสาทตา ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า เบาหวานขึ้นจอประสาทตา (diabetic retinopathy)

    ในระยะแรกของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสารทตานั้น หลอดเลือดจะอ่อนแอ บวม และมีการรั่วของสารน้ำในหลอดเลือดเข้าสู่จอประสาทตา ในระยะนี้เราเรียกว่า nonproliferative diabetic retinopathy

    ถ้าโรคเป็นมากขึ้น หลอดเลือดบางเส้นจะหยุดการทำหน้าที่ เป็นสาเหตุให้เส้นเลือดใหม่มีการสร้างและเติบโตขึ้นที่บริเวณผิวของจอประสาทตา ในระยะนี้เรียกว่า proliferative diabetic retinopathy ซึ่งหลอดเลือดใหม่ผิดปกติที่สร้างขึ้นนี้จะทำให้เกิดปัญหาการมองเห็นที่ร้ายแรง

  2. จอประสาทตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัด (diabetic macular edema)

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    ส่วนของจอประสาทตาที่จำเป็นสำหรับการอ่านหนังสือ การขับรถ และการมองเห็นใบหน้า เราเรียกส่วนนั้นว่า macula (บริเวณจุดกลางรับภาพของจอประสาทตา) โดยโรคเบาหวานจะทำให้เกิดการบวมที่บริเวณ macula นี้ทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัด (diabetic macular edema) เกิดขึ้น

    เมื่อเวลาผ่านไปโรคนี้จะทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นที่คมชัด ทำให้สูญเสียการมองเห็นบางส่วนหรือทำให้เกิดการตาบอดได้ จอประสาทตาบวมน้ำนี้มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอาการแสดงอื่นๆ ของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอยู่แล้ว

  3. ต้อหิน (glaucoma)

    ต้อหิน คือกลุ่มโรคของดวงตา ที่สามารถทำให้เกิดการทำลายเส้นประสาทตา หรือ optic nerve ซึ่งเป็นกลุ่มของเส้นประสาทที่เสื่อมระหว่างตากับสมอง โรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นต้อหินถึงสองเท่า ทำให้การมองเห็นลดลงและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดตาบอดในที่สุด  อาการของโรคนี้จะขึ้นกับชนิดของต้อหิน

  4. ต้อกระจก (cataracts)

    เลนส์ตา ปกติจะเป็นลักษณะใส เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพที่คมชัด แต่เลนส์ตาจะมีแนวโน้มขุ่นมัวขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดการขุ่นของเลนส์ตา หรือเรียกว่า โรคต้อกระจก (cataracts) ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเกิดโรคต้อกระจกได้ในช่วงอายุน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน นักวิจัยคิดว่าระดับน้ำตาลกลูโคสที่สูงจะทำให้เกิดการสะสมที่เลนส์ดวงตา

โรคตาจากเบาหวานพบบ่อยแค่ไหน

ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 40 ปี จะมีอาการแสดงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาบางอาการ ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นโรคที่พบบ่อย และนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การตรวจพบและรักษาโรคนี้ตั้งแต่ระยะแรกๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดตาบอดได้ 95%

ต้อหิน (glaucoma) และต้อกระจก (cataracts)

คุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อหิน หรือ ต้อกระจกได้มากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน 2 เท่า

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตาจากเบาหวาน

ใครก็ตามที่เป็นโรคเบาหวานสามารถเกิดโรคตาจากเบาหวานได้ทุกคน โดยความเสียงจะเพิ่มขึ้นถ้า

  • มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง และไม่ได้รับการรักษา
  • มีระดับความดันโลหิตสูง และไม่ได้รับการรักษา
  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูง และการสูบบุหรี่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาจากเบาหวาน

ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานและกำลังตั้งครรภ์ คุณจะมีโอกาสเกิดปัญหาที่ตาเร็วกว่าคนอื่นในขณะที่ตั้งครรภ์ ถ้าคุณมีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้อาการแย่ลงได้ระหว่างตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์จะทำให้เกิดแรงเครียดที่เส้นเลือดในดวงตา แพทย์จะพิจารณาให้คุณตรวจตาเป็นประจำระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะถ้าตรวจพบโรคนี้ระหว่างตั้งครรภ์ได้เร็วจะได้รีบรักษาได้ทันก่อนที่จะสูญเสียการมองเห็น

โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นเฉพาะระหว่างการตั้งครรภ์ เรียกว่า ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes) มักไม่ทำให้เกิดปัญหาที่ตา ซึ่งนักวิจัยยังไม่ทราบว่าทำไม  โอกาสในการเป็นโรคตาจากเบาหวานจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวานของคุณ

อาการของโรคตาจากเบาหวาน

มักจะไม่มีอาการในระยะเริ่มแรกของโรคตาจากเบาหวาน คุณอาจไม่มีอาการปวด หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงการมองเห็นใดๆ ในระยะเริ่มแรกที่มีความเสียหายเห็นขึ้นในภายดวงตา โดยเฉพาะภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

เมื่อมีอาการเกิดขึ้น อาการเหล่านั้นมีดังนี้

  • มองเห็นภาพไม่ชัด หรือเห็นภาพเป็นคลื่น
  • วิสัยทัศน์การมองเห็นเปลี่ยนบ่อย บางครั้งเปลี่ยนกันวันต่อวัน
  • มองเห็นบางส่วนเป็นสีดำมืด หรือสูญเสียการมองเห็น
  • การมองเห็นสีผิดปกติ
  • เห็นจุดดำ
  • เห็นการกระพริบของแสง

ให้พบจักษุแพทย์ทันที ถ้าคุณมีอาการดังกล่าว

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์ทันที

ให้ไปพบแพทย์ทันที ถ้าคุณมีอาการเตือนของการเปลี่ยนแปลงการมองเห็น รวมถึง การมองเห็นแสงกระพริบ หรือมีหลายจุดขึ้นในดวงตามากกว่าปกติ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการมองเห็นอาจเป็นอาการของการหลุดลอกของจอประสาทตา ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉิน

การวินิจฉัยโรคตาจากเบาหวานทำอย่างไร

การเข้ารับการตรวจตาโดยละเอียดกับจักษุแพทย์คือวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจเช็คปัญหาเกี่ยวกับดวงตาจากโรคเบาหวาน โดยแพทย์จะทำการหยดยาหยอดตาที่ดวงตาเพื่อขยายรูม่านตา ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถตรวจตาได้อย่างชัดเจน และมองเห็นได้กว้างจนถึงด้านหลังของดวงตาคุณ โดยแพทย์จะใช้เครื่องแว่นขยายพิเศษในการตรวจ การมองเห็นจะมัวลงได้ชั่วคราวไม่กี่ชั่วโมงหลังการตรวจ

แพทย์จะทำสิ่งต่อไปนี้

  • ทดสอบการมองเห็น
  • วัดความดันลูกตา

แพทย์อาจแนะนำการตรวจอื่นๆ ขึ้นอยู่กับประวัติทางสุขภาพของคุณ

ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเข้ารับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งทีมแพทย์ที่ดูแลคุณอาจแนะนำแผนการรักษาที่แตกต่างกันออกไปได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวานและระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวานของคุณ

แนวทางในการตรวจตาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • เบาหวานชนิดที่ 1ตรวจตาทุกปี ควรเริ่มภายใน 5 ปีหลังการวินิจฉัยโรค
  • เบาหวานชนิดที่ 2 : ตรวจตาทุกปี ควรเริ่มทันทีภายหลังการวินิจฉัยโรค
  • ตั้งครรภ์ : ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 จำเป็นต้องได้รับการตรวจตาก่อนการตั้งครรภ์หรือภายใน 3 เดือนแรก แพทย์อาจต้องการการตรวจตาซ้ำในระหว่างการตั้งครรภ์และจนกว่าทารกจะมีอายุ 1 ปี

ผู้หญิงที่เป็นภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจตา เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่เกิดโรคตาจากเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ถ้าคุณมีคำถามเพิ่มเติม ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลคุณ

การรักษาโรคตาจากเบาหวาน

แพทย์อาจแนะนำให้คุณตรวจตามากกว่าปีละ 1 ครั้ง รวมกับการควบคุมดูแลโรคเบาหวาน ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติตามหลักการ ABCs คือ การควบคุมระดับน้ำตาลสะสม, ระดับความดันโลหิต, และระดับคอเลสเตอรอล และเลิกสูบบุหรี่ ให้ปรึกษาทีมแพทย์ที่ดูแลคุณว่าคุณควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด  แพทย์อาจพิจารณารักษาโรคตาที่รุนแรงโดยการใช้ยา การใช้เลเซอร์ การผ่าตัด หรือใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน

ยา

แพทย์อาจพิจารณาใช้ยา anti-VEGF ในการรักษาตาคุณ เช่น ยา อะฟิเบอร์เซฟ (aflibercept), บีวาร์ซิซูแมบ (bevacizumab) หรือ รานิบิซูแมบ (ranibizumab) ยาเหล่านี้จะยับยั้งการเติบโตของเส้นเลือดผิดปกติภายในดวงตา ซึ่งจะช่วยหยุดยั้งการเกิดการรั่วไหลของของเหลวในตา ทำให้รักษาจอประสาทตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัดได้

แพทย์จะฉีดยา anti-VEGF เข้าไปในดวงตาของคุณ คุณอาจมีหลายการรักษาร่วมกันในช่วงเดือนแรกๆ ของการรักษา และลดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป แพทย์จะใช้ยาชากับดวงตาของคุณก่อนการฉีดยาเข้าไป ดังนั้นคุณจะไม่รู้สึกเจ็บ โดยเข็มจะมีความหนาเท่าเส้นผมของมนุษย์เท่านั้น

ยา Anti-VEGF จะหยุดยั้งการสูญเสียการมองเห็นในอนาคต และอาจช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นในผู้ป่วยบางราย

การรักษาด้วยเลเซอร์

การรักษาด้วยเลเซอร์ การรักษาด้วยวิธีนี้จะรักษาการรั่วของหลอดเลือดและของเหลวภายในดวงตา หรือที่เรียกว่าการบวม (edema) แพทย์จะรักษาคุณโดยใช้ยาชากับดวงตาก่อนใช้แสงเลเซอร์รักษา การใช้เลเซอร์รักษาจะป้องกันไม่ให้โรคแย่ลงกว่าเดิม และป้องกันการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด แต่การใช้เลเซอร์จะได้ผลในการรักษา คือทำให้การมองเห็นกลับมาเหมือนเดิมได้ไม่ดีเท่ากับการใช้ยา anti-VEGF

ชนิดของเลเซอร์ มีอยู่ 2 ชนิด คือ

  • Focal/grid laser ซึ่งจะทำงานบนพื้นที่เล็กๆ ของจอประสาทตา เพื่อรักษาจอประสาทตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัด
  • Scetter laser จะเป็นการรักษาบนพื้นที่กว้างกว่าของจอประสาทตา ทำให้รักษาการเติบโตที่ผิดปกติของเส้นเลือดในตา ที่เรียกว่า proliferative diabetic retinopathy ได้

การผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy)

การผ่าตัดวุ้นตา หรือ vitrectomy คือการผ่าตัดเพื่อกำจัดเอาเจลใสที่อยู่ภายในส่วนกลางของลูกตาออก หรือเรียกว่า vitreous gel การรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้รักษาการเกิดเลือดออกที่รุนแรง หรือเนื้อเยื่อแผลเป็นที่เกิดจาก proliferative diabetic retinopathy เนื้อเยื่อแผลเป็นที่เกิดขึ้นจะไปกระตุ้นให้จอประสาทตาลอกออกได้ คล้ายๆ กับวอลเปเปอร์ลอกออกจากผนังบ้าน ถ้าจอประสาทตาลอกอย่างสมบูรณ์แบบจะทำให้ตาบอดในที่สุด

ระหว่างการผ่าตัดวุ้นตา จะมีการปั้มสารละลายเกลือใสเข้าไปในดวงตา เพื่อรักษาความดันภายในลูกตาระหว่างการผ่าตัด การผ่าตัดนี้จะต้องกระทำในโรงพยาบาลที่มีห้องผ่าตัด

การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา (Cataract Lens Surgery)

แพทย์จะผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาที่ขุ่นออก (หากเป็นต้อกระจก) และใช้เลนส์ตาเทียมแทน ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาจะมีการมองเห็นที่ดีขึ้น ภายหลังจากหายดีแล้ว คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการสั่งตัดแว่นตา การมองเห็นภายหลังการผ่าตัดนี้จะขึ้นอยู่กับปัญหาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา หรือ จอประสาทตาบวมน้ำ ที่เป็นอยู่ก่อนหน้านั้น

ฉันควรทำอย่างไรเพื่อปกป้องดวงตา

ในการป้องกันโรคตาจากเบาหวาน หรือป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง ให้ปฏิบัติตามหลักการควบคุมโรคเบาหวาน หรือหลักการ ABCs คือ ควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ระดับความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอล และเลิกสูบบุหรี่ ถ้าคุณสูบ

เข้ารับการตรวจตาอย่างละเอียดกับจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือบ่อยมากกว่านั้นตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ที่ดูแลคุณ การปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการปกป้องดวงตาของคุณและป้องกันตาบอดได้

ยิ่งดูแลรักษาโรคเบาหวานและโรคร่วมอื่นๆ ได้เร็วแค่ไหน ยิ่งดีเท่านั้น และแม้ว่าในอดีตคุณจะมีปัญหาในการควบคุมดูแลโรคของคุณ การดูแลตัวเองให้ดีตั้งแต่วันนี้จะช่วยปกป้องสุขภาพดวงตาของคุณได้ ไม่มีคำว่าสายเกินไป

ถ้าฉันมีการสูญเสียการมองเห็นจากโรคเบาหวาน จะต้องทำอย่างไร

ให้ปรึกษาจักษุแพทย์ จักษุแพทย์จะช่วยคุณจัดการปัญหาการมองเห็นที่ลดลงได้ การใช้อุปกรณ์พิเศษและการเข้ารับการอบรมจะช่วยให้คุณยังคงสภาพการมองเห็นให้ดีที่สุด และมีชีวิตต่อไปตามปกติได้ เช่น สังสรรค์ พบปะเพื่อนฝูง ครอบครัว ทำงานอดิเรก และมีชีวิตโดยปราศจากการช่วยเหลือจากผู้อื่น


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diabetic retinopathy, diabetic macular edema symptoms . All About Vision. (https://www.allaboutvision.com/conditions/diabetic.htm)
Diabetic Eye Disease: Retinopathy Symptoms & Treatment. eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/diabetic_eye_disease/article_em.htm)
Diabetic Eye Disease. American Academy of Ophthalmology. (https://www.aao.org/eye-health/diseases/diabetic-eye-disease)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เราป่วยเป็นโรคความดัน และเบาหวานรับยาต่อเนื่อง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มึนๆงงๆตาลายหูอื้อค่ะเมื่อก่อนไม่เคยเป็นเกียวกับอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
พ่อเป็นต้อกระจก ตอนนี้บอดไปแล้ว ถ้าไปผ่าจะหายไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
นอนกรนเสียงดัง ตื่นเช้ามีอาการง่วง เป็นเบาหวาน ควรไปตรวจที่ไหนดีคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการเหมือนคนเป็นโรคเบาหวาน แต่ตรวจแล้วไม่เป็น มีข้อบงชี้ว่าจะเป็นโรคอะไรไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)