การดูแลโรคเบาหวานนั้นรวมถึงการรู้ว่าเมื่อไหร่ที่จะต้องไปพบแพทย์

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การดูแลโรคเบาหวานนั้นรวมถึงการรู้ว่าเมื่อไหร่ที่จะต้องไปพบแพทย์

การขอความช่วยเหลือ

แม้ว่าคุณจะเป็นคนจัดการดูแลโรคเบาหวานด้วยตัวเอง คุณก็ยังสามารถปรึกษาพ่อแม่หรือผู้ปกครองได้เวลาที่ป่วยหรือมีอาการที่อาจจะเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน พวกเขาสามารถช่วยพาคุณไปพบแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่รุนแรงได้

หากคุณมีปัญหา ควรเริ่มจากการอ่านแผนการรักษาก่อน แผนการรักษามักจะช่วยให้คุณรู้ว่าควรเริ่มต้นอย่างไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากมีปัญหาทางการแพทย์ คุณอาจจะไปพบแพทย์ทั่วไป แต่ในบางกรณีแผนการรักษาของคุณอาจแนะนำให้คุณติดต่อคนอื่นในทีมที่ดูแลเรื่องโรคเบาหวานสำหรับคุณ

ฉันต้องบอกอะไรพวกเขาบ้าง?

หากคุณต้องไปพบแพทย์ แพทย์อาจจะถามคำถามต่อไปนี้

  • เกี่ยวกับอาการของคุณ ว่ามีอาเจียนหรือรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติหรือไม่
  • ระดับน้ำตาลในเลือด
  • ระดับคีโตนในปัสสาวะหรือในเลือด
  • อุณหภูมิกาย
  • ยาที่คุณทาน
  • อาหารและเครื่องดื่มที่กิน
  • คุณได้ใช้ยาหรือดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่

หากคุณมีเวลา คุณอาจจะเขียนคำตอบต่อคำถามเหล่านี้ก่อนที่จะไปพบแพทย์

สิ่งที่ต้องทำเวลาป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ

หากคุณป่วยโดยเฉพาะหากมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือมีอาการที่ส่งผลต่อการทานอาหารและเครื่องดื่ม ให้ไปพบแพทย์ คุณควรจะแจ้งให้พวกเขาทราบถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

  • หากคุณได้รับการบาดเจ็บที่รุนแรง (ที่มากกว่าแค่การมีแผลถลอกหรือชนกับสิ่งของต่างๆ)
  • กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด
  • เพิ่งได้รับยาที่ใช้รักษาโรคอื่นมาใหม่ (ยาบางตัวอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้)

สิ่งที่ต้องทำหากมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน

แผนการรักษาของคุณอาจจะบอกถึงสิ่งที่คุณต้องทำหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเบาหวานเช่นภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ หรือภาวะ ketoacidosis

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ภาวะนี้จะเกิดเวลาที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าที่ควรเป็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตลอดทั้งวัน หรือพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในเวลาเดียวกันทุกๆ วัน ควรไปพบแพทย์

และไปพบแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการต่อไปนี้ร่วมกับการมีน้ำตาลในเลือดสูง

  • ปัสสาวะบ่อยหรือดื่มน้ำบ่อยกว่าปกติ
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • หายใจหอบเร็ว
  • มีคีโตนในปัสสาวะหรือเลือด

ภาวะ Diabetic ketoacidosis

เมื่อร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานได้ มันก็จะทำการสลายไขมันมาเป็นพลังงานแทน ซึ่งจะทำให้ได้คีโตนออกมาจากกระบวนการดังกล่าว การมีระดับคีโตนสูงนั้นจะทำให้เลือดเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งเรียกว่าภาวะ diabetic ketoacidosis (DKA) ที่จะทำให้คุณรู้สึกป่วยอย่างรุนแรงหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

ไปพบแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการของภาวะนี้ซึ่งประกอบไปด้วย

  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ปวดท้อง
  • หายใจหอบเร็ว
  • ง่วงนอนหรือสับสน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นเกิดเมื่อมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นสามารถเกิดภาวะนี้ได้หากพวกเขาทานอาหารไม่เพียงพอหรือใช้ยารักษาโรคเบาหวานมากเกินไป

คุณควรอ่านแผนการรักษาโรคเบาหวานของคุณหากคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและรู้สึก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • หิว
  • มือสั่น
  • เหงื่อออก
  • อ่อนเพลีย
  • ง่วงนอน
  • สับสน

แผนการรักษานั้นจะบอกถึงสิ่งที่คุณต้องทำในการรักษาภาวะนี้ คุณควรจะทำไปเลยทันทีก่อนไปพบแพทย์ เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นจะมีอาการที่รุนแรงกว่าคนปกติเวลาที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

หากคุณมีอาการบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์

คุณควรไปพบแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการ

  • สับสน
  • รู้สึกเหมือนจะเป็นลม
  • ชัก

คนรอบข้างคุณทั้งพ่อแม่ ครู หรือแม้แต่เพื่อนควรรู้ว่าต้องทำอย่างไรหากคุณเกิดภาวะนี้

สาเหตุอื่นๆ ที่ต้องไปพบแพทย์

ในผู้ป่วยโรคเบาหวานบางคนอาจจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือประสบปัญหากับการควบคุมโรค นี่เป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะในวัยรุ่น หากคุณรู้สึกว่าตัวเองเศร้าตลอดเวลา ต้องการกินหรือนอนมากกว่าปกติหรือไม่ต้องการเลย หรือรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย คุณสามารถปรึกษาแพทย์ได้ พวกเขาอาจแนะนำให้คุณไปพบกับผู้ให้คำปรึกษา นักบำบัดหรือเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ดีขี้นและทางออกที่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น

การป้องกันปัญหา

หากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ อ่อนเพลีย หรืออาการอื่นๆ นั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันของทุกวัน แพทย์อาจจะต้องมีการปรับแผนการรักาให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่รุนแรง

นอกจากนั้นคุณยังสามารถป้องกันปัญหาจากโรคเบาหวานได้โดยการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมเช่นเครื่องมือการตรวจเลือด ขนม ยา และเบอร์ติดต่อผู้ปกครองหรือแพทย์


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diabetes: Symptoms, treatment, and early diagnosis. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323627)
Education and Support | Living with Diabetes | Diabetes. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/diabetes/managing/education.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)