ระบบผิวหนัง

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ระบบผิวหนัง

ผิวหนังของคนเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้มร่างกายไว้  ผิวหนังของผู้ใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ  3,000  ตารางนิ้ว  ผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  จะหนาประมาณ  1-4  มิลลิเมตร  ซึ่งแตกต่างกันไปตามอวัยวะและบริเวณที่ถูกเสียดสี  เช่น  ผิวหนังที่ข้อศอกและเข่าจะหนากว่าผิวหนังที่แขนและขา

โครงสร้างของผิวหนัง 

ผิวหนังแบ่งออกได้เป็น  2  ชั้น  คือ  หนังกำพร้าและหนังแท้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1.  หนังกำพร้า  (Epidermis)  เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นบนสุด  มีลักษณะบางมาก  ประกอบด้วยเซลล์  เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ โดยเริ่มต้นจากเซลล์ชั้นในสุด  ติดกับหนังแท้  ซึ่งจะแบ่งตัวเติบโตขึ้นแล้วค่อย ๆ  เลื่อนมาทดแทนเซลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุดแล้วกลายเป็นขี้ไคลหลุดออกไป  นอกจากนี้ในชั้นหนังกำพร้ายังมีเซลล์  เรียกว่า  เมลานิน  ปะปนอยู่ด้วย  เมลานินมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบุคคลและเชื้อชาติ  จึงทำให้สีผิวของคนแตกต่างกันไป  ในชั้นของหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือดเส้นประสาท  และต่อมต่าง ๆ นอกจากนี้เป็นทางผ่านของรูเหงื่อ  เส้นขน  และไขมันเท่านั้น

2.  หนังแท้  (Dermis)  เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่าง  ถัดจากหนังกำพร้าและหนากว่าหนังกำพร้า  ผิวหนังชั้นนี้ประกอบด้วย  เนื้อเยื่อคอลลาเจน  (Collagen)  และอีลาสติน  (Elastin)  หลอดเลือดฝอย  เส้นประสาท  กล้ามเนื้อเกาะเส้นขน  ต่อมไขมัน  ต่อมเหงื่อ  และขุมขนกระจายอยู่ทั่วไป

หน้าที่ของผิวหนัง

  • ป้องกันและปกปิดอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับอันตราย
  • ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายโดยง่าย
  • ขับของเสียออกจากร่างกายโดยต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมา
  • ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่โดยระบบหลอดเลือดฝอยและการระเหยของเหงื่อ
  • รับความรู้สึกสัมผัส  เช่น  ร้อน  หนาว  เจ็บ  เป็นต้น
  • ช่วงสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย  โดยแสงแดดจะเปลี่ยนไขมันชนิดหนึ่งที่ผิวหนังให้เป็นวิตามินดีได้
  • ขับไขมันออกมาหล่อเลี้ยงเส้นผมและขนให้เป็นเงางามอยู่เสมอและไม่แห้ง

การดูแลรักษาผิวหนัง 

เพื่อให้มีผิวหนังที่สวยงาม  สะอาด  ไม่เป็นโรค  และไม่เหี่ยวย่นเกินกว่าวัย  จึงควรดูแลรักษาผิวหนัง  โดยอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ  อาบน้ำอย่างน้อยวันละ  2  ครั้ง  ในเวลาเช้าและเย็นเพื่อช่วยชำระล้างคราบเหงื่อไคลและสิ่งสกปรกออกไป  ฟอกตัวด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน ๆ ทำความสะอาดให้ทั่ว  โดยเฉพาะบริเวณใต้รักแร้  ขาหนีบ  ข้อพับ  อวัยวะเพศ  ง่ามนิ้วมือ  นิ้วเท้า  ใต้คาง  และหลังใบหู  เพราะเป็นที่อับและเก็บความชื้นอยู่ได้นาน 

ในขณะอาบน้ำควรใช้นิ้วมือหรือฝ่ามือถูตัวแรง ๆ เพราะนอกจากช่วยให้ร่างกายสะอาดแล้ว  ยังช่วยให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น  เมื่ออาบน้ำเสร็จควรใช้ผ้าเช็ดตัวที่สะอาดเช็ดตัวให้แห้งแล้วจึงค่อยสวมเสื้อผ้า  หลังอาบน้ำแล้วควรใส่เสื้อผ้าที่สะอาดและเหมาะสมกับอากาศและงานที่ปฏิบัติ  เช่น  หากอากาศร้อนก็ควรใส่เสื้อผ้าบางเพื่อไม่ให้เหงื่อออกมาก  เป็นต้น 

รับประทานอาหารให้ถูกต้องและครบถ้วนตามหลักโภชนาการ  โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ  ได้แก่  น้ำมันตับปลา  ตับสัตว์  เนย  นม  ไข่แดง  เครื่องในสัตว์  มะเขือเทศ  มะละกอ  รวมทั้งพืชใบเขียวและใบเหลือง  วิตามินเอจะช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่เป็นสะเก็ดแห้ง  ช่วยให้เล็บไม่เปราะ  และยังช่วยให้เส้นผมไม่ร่วงง่ายอีกด้วย  ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง 

ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อช่วยให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น  ควรให้ผิวหนังได้รับแสงแดดสม่ำเสมอโดยเฉพาะเวลาเช้าซึ่งแดดไม่จัดเกินไปและพยายามหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจ้าเพราะจะทำให้ผิวหนังเกรียมและกร้านดำ  ระมัดระวังการใช้เครื่องสำอางเพราะอาจเกิดอาการแพ้หรือทำให้ผิวหนังอักเสบและเป็นอันตรายต่อผิวหนังได้  หากเกิดอาการแพ้ต้องเลิกใช้เครื่องสำอางชนิดนั้นทันที  เมื่อมีสิ่งผิดปกติใด ๆ  เกิดขึ้นกับผิวหนัง  ควรปรึกษาแพทย์


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Skin: Structure and function explained. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320435)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำความเข้าใจ “ระบบผิวหนัง”
ทำความเข้าใจ “ระบบผิวหนัง”

รู้จักโครงสร้างและหน้าที่ของผิวหนัง อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายมนุษย์

อ่านเพิ่ม