กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

โรคซึมเศร้ากับเซ็กส์ สัมพันธ์กันอย่างไร ?

เมื่อโรคซึมเศร้าส่งผลกระทบต่อเรื่องบนเตียง ต้องทำอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคซึมเศร้ากับเซ็กส์ สัมพันธ์กันอย่างไร ?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคซึมเศร้าจะทำให้เกิดความผิดปกติของสารสื่อประสาท ซึ่งรวมไปถึงทำให้เกิดความต้องการทางเพศน้อยลงด้วย และอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับชีวิตคู่ตามมาด้วย
  • นอกจากอาการของโรคซึมเศร้าแล้ว ยารักษาโรคซึมเศร้าซึ่งจะเข้าไปปรับสมดุลสื่อนำประสาทในร่างกายก็มีส่วนทำให้อารมณ์ทางเพศลดลงด้วย
  • หากโรคซึมเศร้า และยารักษาโรคซึมเศร้าส่งผลกระทบต่อเรื่องบนเตียง คุณควรพูดคุยกับคนรักให้เข้าใจว่า สาเหตุที่ทำให้สมรรถภาพทางเพศ และอารมณ์ทางเพศลดลงเกิดจากอะไรกันแน่ เพื่อไม่ให้เกิดการทะเลาะ หรือรู้สึกหวาดระแวงในชีวิตคู่ระหว่างกัน
  • หากยารักษาโรคซึมเศร้าทำให้เกิดปัญหาเรื่องบนเตียง ห้ามคุณหยุดยาเองเด็ดขาด แต่ให้ไปปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต

โรคซึมเศร้า และเซ็กส์มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน เพราะอาการของโรคซึมเศร้า มักทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้มีความต้องการ และความรู้สึกทางเพศน้อยลง หรือบางคนก็หย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือไปไม่ถึงจุดสุดยอดทางเพศเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์กับคู่รักในที่สุด 

เซ็กส์และโรคซึมเศร้าสัมพันธ์กันอย่างไร ?

ความต้องการทางเพศของคนเรามีจุดเริ่มต้นมาจากสมองสั่งการ โดยจะมีสารเคมีในสมองที่เรียกว่า "สารสื่อประสาท" ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง และกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะเพศมากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่เมื่อเป็นโรคซึมเศร้า และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความผิดปกติของอารมณ์ การทำงานของสมองที่สื่อสารโดยใช้สารเคมีเหล่านี้ก็จะผิดปกติไปด้วย

ผู้ชาย และผู้หญิงหลายคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจึงมีความต้องการทางเพศต่ำลง ไม่รู้อยากมีเพศสัมพันธ์ หรือมีอารมณ์ทางเพศแบบแต่ก่อน ซึ่งยิ่งมีอาการของโรคซึมเศร้ารุนแรงเท่าไรก็ยิ่งเสี่ยงมีปัญหาทาเพศมากขึ้นเท่านั้น และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดความห่างเหินในความสัมพันธ์ขึ้น

ยารักษาโรคซึมเศร้าทำให้มีปัญหาทางเพศหรือไม่ ?

ไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้าที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องเซ็กส์ แต่การรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าเองก็มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางเพศได้เหมือนกัน แม้ว่าตัวยาจะช่วยให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอารมณ์ดีขึ้น หรือรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าก็ตาม 

เนื่องจากยาเหล่านี้ออกฤทธิ์โดยเปลี่ยนการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดเดียวกันที่มีความเกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางเพศ จึงทำให้เสี่ยงเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้เช่นกัน

นอกจากนี้ในบางครั้งผลกระทบทางเพศที่เกิดจากการรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้ายังอาจเพิ่มขึ้นตามปริมาณยาที่ผู้ป่วยรับประทานด้วย 

สำหรับปัญหาทางเพศที่เกี่ยวข้องกับยารักษาโรคซึมเศร้า ได้แก่ ไม่เพลิดเพลินกับเซ็กส์ หย่อนสมรรถภาพทางเพศหรือหลั่งน้ำอสุจิช้าในผู้ชาย มีความต้องการทางเพศลดลง ไม่สามารถไปถึงจุดสุดยอด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่ในขณะเดียวกันแพทย์ก็ได้นำยารักษาโรคซึมเศร้ามีผลต่อสารสื่อประสาทเซราโทนินนำมาใช้รักษาอาการหลั่งเร็วในผู้ชาย 

ตัวอย่างยารักษาโรคซึมเศร้าที่สามารถก่อให้เกิดปัญหาทางเพศได้ มีดังนี้

  • ยากลุ่ม Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs)
  • ยากลุ่ม Serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs)
  • ยากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
  • ยากลุ่มTetracyclic และยากลุ่ม Tricyclic medications

ปัญหาเรื่องเซ็กส์จากโรคซึมเศร้า รักษาได้

หากคุณเป็นโรคซึมเศร้า และสังเกตว่าตัวเองมีความสนใจในเรื่องเพศลดลง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ คุณควรไปพบแพทย์เพื่อหาว่า สาเหตุของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดจากโรคซึมเศร้า ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยาชนิดอื่นๆ หรือไม่ 

เพราะมีการรักษาหลายวิธีที่ช่วยรับมือกับผลข้างเคียงทางเพศที่เกิดจากการรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าได้ โดยแพทย์อาจจ่ายยาชนิดใหม่ที่ไม่กระทบกับความต้องการทางเพศ หรือจ่ายยาชนิดอื่นที่สามารถใช้ร่วมกับยารักษาโรคซึมเศร้าได้ เพื่อช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ คุณจำเป็นต้องพูดคุยกับแพทย์อย่างตรงไปตรงมาถึงปัญหาทางเพศที่ส่งผลกระทบต่อคุณหรือความสัมพันธ์ของคุณกับคู่รัก รวมทั้งควรสอบถามแนวทางการรักษาอย่างละเอียด 

และอีกสิ่งที่สำคัญ คุณห้ามหยุดใช้ยา หรือพยายามหยุดรักษาโรคซึมเศร้าโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะการหยุดใช้ยากะทันหันนั้นทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้

เคล็ดลับดูแลสุขภาพทางเพศ

นอกจากการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว คุณสามารถเพิ่มสุขภาพทางเพศโดยรวมตามแนวทางต่อไปนี้

  • รับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าหลังจากการทำกิจกรรมทางเพศ เพื่อป้องกันไม่ให้มีอารมณ์หรือมีความรู้สึกทางเพศลดลงก่อนการมีเพศสัมพันธ์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย และช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
  • สอบถามแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยารักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เช่น ยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil)

นอกจากนี้อย่าลืมพูดคุย และอธิบายอย่างเปิดใจให้คู่รักของคุณเข้าใจว่า โรคซึมเศร้าที่คุณกำลังประสบอยู่นั้นส่งผลต่อสุขภาพทางเพศอย่างไร การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณทั้งคู่ก้าวผ่านปัญหานี้ไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Timothy J. Legg, Depression and sexual health (https://www.healthline.com/hea...), 11 January 2016.​
Smitha Bhandari, Sexual problems and depression (https://www.webmd.com/depressi...), 1 November 2018.
Medscape: "The ELIXIR Study: Evaluation of Sexual Dysfunction in 4557 Depressed Patients in France."

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคซึมเศร้า (Depression)
โรคซึมเศร้า (Depression)

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โรคนี้มักมาจากมรสุมชีวิตและการสูญเสีย มีอาการคล้ายที่เห็นใกล้เคียงกับอาการเศร้าหรือเสียใจทั่วไป

อ่านเพิ่ม