โรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้ (Dementia with Lewy bodies)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
โรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้ (Dementia with Lewy bodies)

โรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้ เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากการสร้างและสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติภายในสมอง ที่เรียกว่า ลิววี่บอดี้ ซึ่งถือเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยมักพบในผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติครอบครัวมีภาวะนี้มาก่อน

โรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยประมาณการจำนวนผู้ป่วยได้มากกว่า 100,000 คนในสหราชอาณาจักร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คำว่า “สมองเสื่อม (dementia) เป็นคำที่อธิบายถึงภาวะที่มีการสูญเสียความสามารถทางสมอง (mental ability หรือ cognitive impairment) ที่มีความเกี่ยวข้องกับเซลล์สมองที่ค่อยๆ ตายลง ปกติแล้วจะพบได้น้อยในผู้ที่อายุน้อยกว่า 65 ปี

อาการของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปหลายๆ ปี

อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้ ไม่เพียงแต่ประสบปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำและการตัดสินใจเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับความตั้งใจ ความเอาใจใส่ และการรับรู้เกี่ยวกับการมองเห็นด้วย (การรับรู้เกี่ยวกับวัตถุและการตัดสินใจว่าวัตถุนั้นอยู่ตรงไหน)

ผู้ป่วยอาจมีอาการดังนี้:

  • เคลื่อนไหวช้า, แขนขาแข็ง และมีการสั่นของร่างกาย
  • มองเห็นภาพหลอนซ้ำๆ (มองเห็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง)
  • ปัญหาในการนอนหลับ รวมถึงอาการง่วงนอนระหว่างวัน
  • เป็นลม, ทรงตัวไม่ดี และหกล้ม

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะมีการแกว่างของอาการจากสภาวะตื่นตัวไปสู่สภาวะง่วงนอนหรือมีการจ้องมองเข้าไปในอากาศตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันอย่างมากนี้อาจคาดการณ์ไม่ได้ และเกิดขึ้นได้ทุกๆ ชั่วโมง หรือทุกวัน

อะไรเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้

โรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้มีสาเหตุมาจากการสะสมของโปรตีนผิดปกติภายในสมองที่เรียกว่า ลิววี่บอดี้ (Lewy bodies) การสะสมของโปรตีนผิดปกตินี้ยังพบได้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ซึ่งมีการสร้างโปรตีนเหล่านี้ขึ้นในสมองบริเวณที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เช่น ความจำ และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ใจว่าเพราะเหตุใดจึงมีการสร้างโปรตีนผิดปกติและยังไม่ทราบแน่นอนว่าโปรตีนนี้สร้างความเสียหายแก่สมองได้อย่างไร แต่เราทราบว่าโปรตีนผิดปกตินี้จะขัดขวางการทำงานตามปกติของสมองโดยรบกวนการส่งสัญญาณประสาทจากเซลล์สมองเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่นๆ

โรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้มักพบในผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติครอบครัวมีภาวะนี้มาก่อน อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลรายงานว่าโรคนี้สามารถพบในครอบครัวเดียวกันได้ แต่พบได้น้อย

การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้

หากคุณกำลังคิดว่าตัวคุณเองอาจมีอาการในระยะเริ่มแรกของโรคสมองเสื่อม เราขอแนะนำให้คุณเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย หรือหากคุณกำลังกังวลเกี่ยวกับผู้อื่นว่าอาจมีอาการของโรคนี้ คุณควรสนับสนุนให้เขาเหล่านั้นไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือถ้าจะให้ดี คุณควรเดินทางไปพบแพทย์พร้อมพวกเขา

แพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้นเพื่อดูว่าคุณมีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่ หรือส่งต่อคุณไปรักษากับคลินิกเฉพาะทางด้านความจำหรือคลินิกเฉพาะทางอื่นๆ ที่จำเป็น

เมื่อคุณมาถึงคลินิกเพื่อรับการตรวจแล้ว คุณจะได้รับการสอบถามถึงอาการและแพทย์จะทำการตรวจร่างกายและให้ทดสอบด้านความจำ คุณอาจได้รับการตรวจเลือดและทำการสแกนสมองด้วย

ผลที่ได้จากการตรวจร่างกายและการทดสอบเพิ่มเติมจะช่วยให้แพทย์ประเมินได้ว่าอาการของคุณเกิดจากโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้, โรคสมองเสื่อมชนิดอื่น หรือเกิดจากโรคอื่นๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีในการจัดการกับโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้รวมถึงยังไม่มียาที่จะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคด้วย

อย่างไรก็ตามมียาบางชนิดที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการบางอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาในกลุ่ม acetylcholinesterase inhibitors (ซึ่งใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์) ซึ่งสามารถช่วยให้อาการบางอย่างดีขึ้น เช่น อาการประสาทหลอน และอาการสับสนในผู้ป่วยบางราย

การรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatments) เช่น กายภาพบำบัด (physiotherapy), กิจกรรมบำบัด (occupational therapy) และการบำบัดด้านการพูดและภาษา สามารถทำให้อาการด้านการเคลื่อนไหว การทำกิจกรรมประจำวัน และการสื่อสารดีขึ้นได้

นักกายภาพบำบัดและกิจกรรมเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สามารถช่วยเรื่องปัญหาการสูญเสียความจำ อาการสับสน และความรู้สึกงุนงงสับสนได้

ภาพอนาคตของโรคนี้

ความเร็วในการดำเนินไปของโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้จะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย การดูแลผู้ป่วยที่บ้านเป็นสิ่งจำเป็น และผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในบ้านพักคนชรา

อัตราการมีชีวิตรอดเฉลี่ยหลังจากได้รับการวินิจฉัยจะคล้ายกับโรคอัลไซเมอร์ คืออยู่ราวๆ 5-8 ปี อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับโรคอัลไซเมอร์อัตรานี้อาจมีความผันผวนได้มาก

หากคุณหรือคนที่คุณรักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม โปรดจำไว้ว่าคุณไม่ได้เป็นโรคนี้เพียงคนเดียว และไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว แต่ยังมีการช่วยเหลือต่างๆ รอคุณอยู่ เช่น การช่วยเหลือทางสังคม และองค์กรอาสาสมัครต่างๆ ที่จะให้คำแนะนำและการสนับสนุนคุณและครอบครัวของคุณ

อาการ

อาการของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้มักค่อยเป็นค่อยไปและจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปหลายๆ ปี

เช่นเดียวกับโรคสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ ผู้ป่วยจะมีปัญหาเกี่ยวกับ

  • ความเร็วในการคิด
  • ภาษา
  • การทำความเข้าใจ
  • การตัดสินใจ
  • ความจำ (แม้ว่าการสูญเสียความทรงจำอย่างมีนัยสำคัญอาจยังไม่ขึ้นจนกว่าจะเข้าสู่ระยะหลังๆ ของโรค)

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้อาจมีอาการอื่นๆ ที่จะช่วยแยกแยะความแตกต่างออกจากโรคสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ ได้ เช่น:

  • มีการเปลี่ยนแปลงของอาการอย่างมาก ระหว่างการตื่นตัว อาการสับสน และอาการง่วงนอน ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดและมีการเปลี่ยนแปลงทุกชั่วโมง หรือทุกวัน
  • เคลื่อนไหวร่างกายช้า แขนขาแข็ง และมีอาการสั่น (เหมือนที่เห็นได้จากผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน) ซึ่งอาจทำให้มีอาการเดินลากเท้า
  • มองเห็นหรือได้ยินสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีอยู่จริง ไม่ใช่ความจริง (ประสาทหลอน) ซึ่งอาจมีตั้งแต่ภาพเสียงที่ทำให้สบายไปไปจนถึงที่ทำให้รู้สึกเป็นทุกข์
  • เป็นลม ทรงตัวไม่ดี และหกล้ม
  • ปัญหาด้านการนอนหลับ ซึ่งทำให้มีการพูดระหว่างการนอนหลับ หรือมีการแสดงท่าทางขณะกำลังฝัน
  • การสูญเสียการแสดงออกทางสีหน้า
  • กลืนลำบาก (dysphagia)
  • ซึมเศร้า

อาการเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ป่วยประสบปัญหาในการทำกิจกรรมประจำวันและอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพในอนาคต เช่น การบาดเจ็บจากการหกล้ม และการติดเชื้อในปอดจากการสำลักอาหารเข้าไปในหลอดลมแทนที่จะเป็นการกลืนตามปกติ

การเข้ารับคำปรึกษาทางการแพทย์

หากคุณกำลังคิดว่าตัวคุณเองอาจมีอาการของโรคสมองเสื่อมในระยะเริ่มแรก เราขอแนะนำให้คุณเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย หรือถ้าคุณกำลังกังวลเกี่ยวกับอาการของผู้อื่น คุณควรสนับสนุนให้เขาไปพบแพทย์และถ้าจะให้ดี คุณควรไปพบแพทย์พร้อมเขาเหล่านั้นด้วย

อาการของโรคสมองเสื่อมเสื่อมมีสาเหตุที่หลากหลาย แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพื่อหาว่าอะไรคือสาเหตุที่เป็นไปได้ และจะส่งต่อคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมหากจำเป็น

การวินิจฉัย

การยืนยันการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะเริ่มแรกของโรคนี้ สาเหตุเพราะอาการหลายๆ อาการของโรคสมองเสื่อมอาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นได้ด้วย

สำหรับโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้ หากจะวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง คุณจะต้องได้รับการตรวจและประเมินหลายอย่าง ได้แก่:

  • การประเมินอาการของคุณ เช่น อาการที่คุณเป็นคืออาการทั่วไปของโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้หรือไม่
  • การประเมินความสามารถทางสมองเต็มรูปแบบ (full assessment of mental abilities)
  • การตรวจร่างกายโดยแพทย์
  • การพิจารณารายการยาที่คุณกำลังใช้อยู่ในขณะนี้
  • การตรวจอื่นๆ ได้แก่ การตรวจเลือด เพื่อแยกสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นไปได้ของอาการ เช่น การขาดวิตามินบี 12
  • การสแกนสมอง เช่น การทำซีทีสแกน (computerised tomography (CT) scan) หรือ การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging (MRI) scan) ซึ่งจะตรวจหาสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง (stroke), เนื้องอกในสมอง หรือการหดตัวของสมอง และการตรวจซีทีสแกนชนิด single photon emission (single photon emission CT (SPECT) scan) เพื่อดูระบบโดปามีนในสมอง (dopamine system) ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยได้

การตรวจบางอย่างข้างต้นสามารถทำได้โดยแพทย์ทั่วไป ในขณะที่การตรวจบางอย่างจะต้องทำโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น เช่น แพทย์ด้านระบบประสาท (neurologist) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคที่ส่งผลต่อสมองและระบบประสาทของร่างกาย, แพทย์ที่เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ หรือ จิตแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคสมองเสื่อม

การประเมินความสามารถทางสมอง

แบบการตรวจสุขภาวะทางจิตแบบย่อ (Mini Mental State Examination (MMSE) เป็นแบบการตรวจที่นิยมใช้เพื่อประเมินความสามารถทางสมองของผู้ป่วย (mental ability)

แบบการตรวจสุขภาวะทางจิตแบบย่อ จะถูกใช้เพื่อประเมินความสามารถทางสมองหลายประการ ได้แก่:

  • ความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว
  • การให้ความสนใจ การมีสมาธิ การเอาใจใส่
  • ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร
  • ความสามารถในการวางแผน
  • ความสามารถในการเข้าใจคำสั่ง

แบบการตรวจสุขภาวะทางจิตแบบย่อจะเกี่ยวข้องกับการประเมินการทำงานหลายๆ ชุด มีคะแนนเต็มอยู่ที่ 30 คะแนน ตัวอย่างงานที่ประเมิน ได้แก่:

  • การจดจำรายการสิ่งของสั้นๆ และให้ทวนรายการสิ่งของนั้นๆ ซ้ำ
  • การระบุวันของสัปดาห์ วันที่ หรือปี ได้อย่างถูกต้อง

แบบการตรวจสุขภาวะทางจิตแบบย่อ ไม่ใช่การทดสอบเพื่อการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม แต่ก็มีประโยชน์ในการประเมินระดับความบกพร่องทางสมองของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้ 

การรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้ที่ทำให้หายขาด แต่ก็มีการรักษาที่จะช่วยในการจัดการกับอาการได้

ประการแรกคือ สุขภาพในอนาคตของคุณและความต้องการการดูแลทางสังคมของคุณจะต้องได้รับการประเมินและมีการวางแผนการดูแล

ซึ่งนี่จะเป็นวิธีที่ทำให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการระบุสิ่งที่คุณอาจต้องการความช่วยเหลือ เช่น

  • การสนับสนุนใดที่คุณหรือผู้ดูแลต้องการเพื่อให้คุณยังมีชีวิตที่เป็นอิสระให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • มีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่ต้องทำในบ้านเพื่อให้ง่ายต่อการอยู่อาศัย
  • คุณต้องการความช่วยเหลือทางการเงินใดๆ หรือไม่

ยา

ยาไม่สามารถหยุดยั้งการดำเนินไปของโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้ได้ แต่บางครั้งก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้

ยาในกลุ่ม Acetylcholinesterase inhibitors

ยาในกลุ่ม Acetylcholinesterase inhibitors เช่น โดเนเพซิล (donepezil), กาแลนทามีน (galantamine) หรือ ไรวาสติกมีน (rivastigmine) อาจช่วยให้อาการประสาทหลอน, อาการสับสน และอาการง่วงนอนดีขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย

ยาเหล่านี้จะทำงานโดยการเพิ่มปริมาณสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า อะเซติลโคลีน (acetylcholine)  ทำให้ความสามารถของเซลล์สมองในการส่งสัญญาณไปยังเซลล์อื่นๆ ดีขึ้น

อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาในกลุ่ม Acetylcholinesterase inhibitors ได้แก่ รู้สึกหรือมีอาการป่วย, ท้องเสีย, ปวดศีรษะ, อ่อนเพลีย (รู้สึกเหนื่อยมาก) และกล้ามเนื้อเป็นตระคิว

ยาอื่นๆ

ยาอื่นๆ ที่อาจช่วยควบคุมอาการของโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้บางอาการ ได้แก่:

  • ลีโวโดป้า (levodopa) (ยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคพาร์กินสัน) สามารถช่วยบรรเทาอาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว โดยยาอาจทำให้อาการประสาทหลอนและอาการทางจิตอื่นๆ แย่ลงได้ ดังนั้นยานี้จึงจำเป็นต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดจากแพทย์
  • ยาต้านซึมเศร้า (antidepressants) อาจช่วยบรรเทาอาการหากคุณมีภาวะซึมเศร้า
  • ยาโคลนาซีแปม (clonazepam) อาจช่วยเรื่องปัญหาการนอนหลับหากคุณประสบปัญหานี้อยู่

ยาต้านโรคจิต (antipsychotics) เช่น ฮาโลเพอริดอล (haloperidol) เป็นยาที่ควรหลีกเลี่ยงหากเป็นไปได้ และควรใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอย่างรุนแรงซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยหรือคุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายเท่านั้น เพราะยานี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ได้แก่ อาการแข็งเกร็งและไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้

หากจำเป็นต้องใช้ยาต้านโรคจิต แพทย์จะพิจารณาจ่ายยาในขนาดต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และให้เป็นระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งต้องได้รับการดูแบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้ด้วย

มาตรการในการสนับสนุนและการรักษา

นอกเหนือไปจากการใช้ยา มีมาตรการในการบำบัดและการปฏิบัติตนอื่นๆ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ได้แก่:

  • กิจกรรมบำบัด (occupational therapy) เพื่อค้นหาปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น ปัญหาด้านการแต่งกาย และช่วยหาทางแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ
  • การบำบัดด้านการพูดและการใช้ภาษาเพื่อช่วยปัญหาด้านการสื่อสารและการกลืน
  • กายภาพบำบัดเพื่อช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวลำบาก
  • การรักษาทางจิต เช่น การกระตุ้นความรู้คิด (cognitive stimulation) เพื่อช่วยเรื่องปัญหาความจำ, ทักษะการแก้ปัญหา และความสามารถทางภาษา
  • เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การนวด การบำบัดด้วยดนตรีหรือการเต้นรำ
  • การปรับปรุงบ้าน เช่น การเอาพรมปูพื้นและสิ่งที่อาจทำให้เกิดอันตรายในการเดินออก, ต้องมั่นใจว่าบ้านมีแสงสว่างเพียงพอ และเพิ่มราวจับภายในบ้าน
  • การตรวจเกี่ยวกับปัญหาการมองเห็นและการได้ยินซึ่งอาจหมายถึงการมีอาการประสาทหลอน

การจัดการเรื่องทางกฎหมาย

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม คุณจำเป็นต้องจัดเตรียมการดูแลของคุณโดยคำนึงว่าความสามารถทางสมองของคุณจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ คุณต้องมั่นใจว่าความปรารถนาของคุณจะได้รับการส่งเสริมต่อไปหากคุณไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองแล้ว

คุณอาจมีการวางแผนการตัดสินใจล่วงหน้าหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งจะช่วยบอกได้ว่าแผนการรักษาในอนาคตของคุณขณะที่คุณไม่สามารถตัดสินใจได้เองแล้วควรเป็นอย่างไร

นอกจากนี้คุณอาจต้องมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจต่างๆ แทนคุณเมื่อคุณไม่สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้แล้ว

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/dementia-with-lewy-bodies#introduction


29 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lewy Body Dementia | LBD. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/lewybodydementia.html)
Dementia with Lewy bodies. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/dementia-with-lewy-bodies/)
Lewy Body Dementia (LBD) | Symptoms & Causes. Alzheimer's Association. (https://www.alz.org/alzheimers-dementia/what-is-dementia/types-of-dementia/lewy-body-dementia)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป