ภาวะขาดน้ำ อันตรายกว่าที่คิด

เผยแพร่ครั้งแรก 15 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะขาดน้ำ อันตรายกว่าที่คิด

โดยปกติร่างกายเรามีน้ำอยู่มากถึง 75 % ของน้ำหนักตัว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และรักษาสมดุลของสารอิเล็กโตรไลต์หรือแร่ธาตุในร่างกาย ทั่วๆ ไปแล้ว ร่างกายเราจะสูญเสียน้ำตามธรรมชาติจากการหายใจ การระเหยผ่านผิวหนัง การเสียเหงื่อ และการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ แต่เมื่อใดที่เราใช้น้ำหรือเสียน้ำมากกว่าปริมาณที่รับเข้าไป เช่น เสียเหงื่อมากแต่ดื่มน้ำน้อย อาเจียน ท้องเสีย ก็จะเกิดภาวะขาดน้ำขึ้น ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมากทีเดียว โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ

ภาวะขาดน้ำ อาการเป็นอย่างไร?

อาการของภาวะขาดน้ำขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการขาดน้ำ โดยเมื่อร่างกายเริ่มเสียน้ำมาก และได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะมีอาการดังนี้ต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ปากแห้ง ลิ้นแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำอย่างหนัก
  • ตาแห้ง ระคายเคืองตา ไม่มีน้ำตาหล่อเลี้ยงลูกตา
  • ผิวหนังแห้ง เหี่ยว ไม่ชุ่มชื้น
  • ผมและเล็บแห้ง หยาบกร้าน ไม่เป็นเงางาม
  • ปัสสาวะน้อยและมีสีเข้ม
  • ท้องผูก ขับถ่ายยาก
  • อ่อนเพลีย วิงเวียน หน้ามืด อาจมีอาการมึนงงและสับสนร่วมด้วย
  • อุณหภูมิภายในร่างกายสูงมากเกินไป อาจทำให้เป็นลมหรือหมดสติได้ หากรุนแรงกว่านั้นก็อาจถึงขั้นเป็นโรคลมแดด (heat stroke) ได้ ซึ่งอันตรายถึงชีวิตทีเดียว
  • ไตและทางเดินปัสสาวะทำงานผิดปกติ โดยมีการถ่ายปัสสาวะน้อยเกินไปจนมีปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสาวะ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วที่ไต หรือเกิดภาวะไตวายได้
  • มีอาการชักเกร็ง กระตุก เนื่องจากเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุลหลังเกิดภาวะขาดน้ำ โดยเฉพาะโพแทสเซียมและโซเดียม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการหดตัวของกล้ามเนื้อ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • หากอยู่ในภาวะขาดน้ำนานๆ และไม่ได้รับการแก้ไข อาจช็อกและหมดสติ จากการที่มีสารน้ำในกระแสเลือดน้อย ทำให้ความดันโลหิตต่ำลงฉับพลัน

สาเหตุของภาวะขาดน้ำ

  • เสียเหงื่อมาก เช่น อยู่ในที่อากาศร้อน ออกกำลังกายอย่างหนักกลางแจ้ง ทำงานกลางแดด
  • อาเจียนอย่างหนัก ซึ่งจะทำให้สูญเสียทั้งน้ำและแร่ธาตุในคราวเดียวกัน
  • ท้องเสีย การถ่ายหลายๆ รอบ ทำให้ร่างกายเสียทั้งน้ำและแร่ธาตุอย่างรุนแรง จนเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ
  • มีอาการเจ็บป่วย เช่น เป็นโรคเบาหวานที่ไม่ได้ควบคุม ทำให้ปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะออกมามากเกินไป
  • ไฟลวกอย่างรุนแรง ทำให้สูญเสียน้ำและแร่ธาตุผ่านทางผิวหนังปริมาณมาก จนเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ

การป้องกันภาวะขาดน้ำ

  • หากต้องเสียเหงื่อมาก เช่น ออกกำลังกายเป็นเวลานาน หรืออยู่ในที่อากาศร้อน ควรดื่มน้ำชดเชยมากๆ ก่อนจะเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ ในเหงื่อที่ขับออกมานั้นจะมีแร่ธาตุโซเดียมออกมาด้วย บางครั้งคุณจึงอาจต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่บำรุงกำลังเพื่อชดเชยเกลือแร่ส่วนที่เสียไป นอกเหนือจากการดื่มน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว
  • หากอาเจียนและท้องเสียรุนแรง เช่น ป่วยอาหารเป็นพิษ ให้ดื่มน้ำผสมเกลือแร่เพื่อชดเชย ในกรณีที่ท้องเสีย คุณจะสูญเสียทั้งน้ำและแร่ธาตุออกมามาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรับทั้งน้ำและแร่ธาตุเข้าไปทดแทนให้สมดุลกัน ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียวในช่วงแรก เพราะจะทำให้เกลือแร่ในเลือดเจือจางจนเป็นอันตรายได้ และควรรีบดื่มน้ำผสมเกลือแร่ก่อนที่จะเริ่มมีภาวะขาดน้ำ
  • หากอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศแห้ง ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อรักษาผิวหนัง ผม และเล็บให้มีความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังแห้งและแตกลอก

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อ. นพ. ธเนศ ชัยสถาผล ภาควิชาอายุรศาสตร์, อันตรายภาวะขาดน้ำ (http://www.si.mahidol.ac.th/th...)
William Blahd, MD, What is Dehydration? What Causes It? (https://www.webmd.com/a-to-z-g...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป