พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
เขียนโดย
พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Dehydration (ภาวะขาดน้ำ) ในช่วงสงกรานต์

สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน และวิธีรักษาภาวะขาดน้ำ (Dehydrate) ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในช่วงอากาศร้อน
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
Dehydration (ภาวะขาดน้ำ) ในช่วงสงกรานต์

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เกิดขึ้นได้ด้วยหลายสาเหตุ ทั้งอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าว ร่างกายสูญเสียน้ำไปมาก หรือได้รับน้ำไม่เพียงพอ สิ่งที่ควรทำคือคอยสังเกตตัวเองเสมอ พยายามดื่มน้ำแม้ยังไม่กระหายมากนัก เพราะการขาดน้ำจะส่งผลไปถึงระบบไหลเวียนและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของ Dehydration

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) คือ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอจนส่งผลต่อการทำงานของระบบไหลเวียนและอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ไต สมอง ทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อ สาเหตุมาจากการสูญเสียน้ำไปทางปัสสาวะ ทางเดินอาหาร และเหงื่อ เช่น ท้องร่วง อาเจียนปริมาณมาก ปัสสาวะมากผิดปกติจากน้ำตาลในเลือดสูงหรือยาบางชนิด ภาวะไข้สูงหรืออยู่กลางแดดนานๆ จนทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ตามปกติ หรือเป็นลมแดด ที่ทำให้สูญเสียน้ำทางผิวหนังมากกว่าปกติ อีกสาเหตุคือการได้รับน้ำเข้าร่างกายไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ

อาการ Dehydration

วิธีป้องกัน Dehydration

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ซึ่งคนทั่วไปต้องการน้ำประมาณ 1.5-2 ลิตรต่อวัน หรือประมาณ 8 แก้ว ทั้งนี้ขึ้นกับสภาวะร่างกายและสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ช่วงฤดูร้อนหรือผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง หรือออกกำลังกายที่มีการสูญเสียเหงื่อ จะต้องการน้ำและเกลือแร่มากกว่าปกติ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัดเป็นเวลานาน
  • รักษาสุขอนามัยเพื่อลดการติดเชื้อหรือท้องร่วง ซึ่งเป็นสาเหตุของการขาดน้ำได้

วิธีรักษา Dehydration

  • ดื่มน้ำและเกลือแร่ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และทดแทนที่สูญเสียไป
  • ในกรณีที่ป่วย มีไข้ ท้องเสีย หรืออาเจียนรุนแรง ก็จำเป็นต้องได้รับน้ำและเกลือแร่เพิ่มขึ้นร่วมกับการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์อย่างทันท่วงทีเช่นกัน
  • สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคประจำตัวบางราย เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจล้มเหลว อาจจำเป็นต้องจำกัดปริมาณน้ำและเกลือแร่ ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแลเป็นรายๆ ไป

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อันตรายจากภาวะขาดน้ำ-รายการโทรทัศน์ “พบหมอศิริราช” (http://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tv_id=621), 31 พฤษภาคม 2560.
What is Dehydration? What Causes It?, WebMD Medical Reference, reviewed by William Blahd, MD on May 2, 2017 "https://www.webmd.com/a-to-z-guides/dehydration-adults"

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป