ยาลดอาการคัดจมูก (decongestants)

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาลดอาการคัดจมูก (decongestants)

บทนำ

ยาลดอาการคัดจมูก (decongestants) เป็นยากลุ่มหนึ่งที่มีฤทธิ์หดหลอดเลือดเฉพาะที่โดยเฉพาะจมูก ซึ่งจะส่งผลให้บรรเทาอาการคัดจมูกได้ ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ภูมิแพ้อากาศ หรือโพรงจมูกอักเสบได้ดี

รูปแบบของยาลดอาการคัดจมูก

  • สเปรย์พ่นจมูก
  • ยาเม็ดหรือแคปซูล
  • ยาน้ำหรือยาน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก
  • ยาผงละลายน้ำ

บางผลิตภัณฑ์นั้นอาจมีการผสมเข้ายาตัวอื่นเช่น ยาแก้แพ้ หรือ ยาแก้ปวดลดไข้ ก็ได้ ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมและง่ายต่อการใช้ต่อผู้ใช้มากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาลดอาการคัดจมูกเหมาะกับใคร

ยาลดอาการคัดจมูกนั้นมีความปลอดภัยในการใช้สูง แต่ทั้งนี้ก็อาจมีบางกลุ่มที่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ดังนี้

  • ทารกและเด็ก โดยยาลดอาการคัดจมูกไม่ควรใช้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี แล้วควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ในเด็กช่วงอายุ 6-12 ปี
  • หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ในผู้ใช้กลุ่มนี้ยังไม่มีหลักฐานถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  • ผู้ที่มียาประจำตัว ควรตรวจสอบปฏิกิริยาของยาประจำตัวของท่านกับยาลดอาการคัดจมูกก่อนใช้
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (hyperthyroid)
  • เพศชายที่มีภาวะต่อมลูกหมากโต
  • ผู้ที่มีโรคตับ ไต หรือโรคทางหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ที่เป็นโรคต้อหิน

วิธีใช้ยาลดอาการคัดจมูก

ส่วนมากยาลดอาการคัดจมูกควรใช้ประมาณ 3-4 ครั้งต่อวัน หรือใช้ตามแพทย์สั่ง ยาลดอาการคัดจมูกรูปแบบสเปรย์พ่นจมูกนั้น ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 1 สัปดาห์ เนื่องจากจะทำให้อาการคัดจมูกแย่ลงได้

ผลข้างเคียงของยาลดอาการคัดจมูก

ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงต่ำมาก และเกิดได้น้อย โดยผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้

  • มีอาการระคายเคืองภายในจมูก
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ใจสั่น หรือมีอาการอยู่ไม่นิ่งได้
  • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง
  • มีอาการสั่น
  • นอนไม่หลับ
  • ใจเต้นเร็ว
  • ในเพศชายอาจมีอาการปัสสาวะลำบาก

อาการข้างเคียงเหล่านี้จะหมดไปหลังจากหยุดยา และหากมีอาการร้ายแรงควรหยุดยาและไปพบแพทย

ปฏิกิริยาของยาลดอาการคัดจมูกกับยาอื่น

ยาลดอาการคัดจมูกบางชนิดอาจไปเพิ่มหรือลดฤทธิ์ของยาชนิดอื่นได้ ดังเช่นการใช้ยาร่วมกับยากลุ่มต่างๆดังเช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า (antidepressants) ในกลุ่มยายับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส (Monoamine oxidase inhibitors , MAOIs) การใช้ยาร่วมกับยากลุ่มนี้อาจจะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นการใช้ยาจำพวกลดไข้หรือลดน้ำมูกแบบสูตรผสมต่างๆ ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังการใช้ร่วมกับยาประจำตัวของผู้ใช้ด้วย


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Don't let decongestants squeeze your heart. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/dont-let-decongestants-squeeze-your-heart)
Decongestants for a Stuffy Nose. WebMD. (https://www.webmd.com/allergies/decongestants)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด

วิกผม หมวกมีปีก หมวกไหมพรม และผ้าพันคอที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม

มันไม่เหมือนการขับรถหรอกนะ : คุณไม่จำเป็นต้องได้รับใบรับรองหรอก

อ่านเพิ่ม