ภาวะตาบอดหูหนวก (Deafblindness)

อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษาภาวะตาบอดหูหนวก
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะตาบอดหูหนวก (Deafblindness)

เกี่ยวกับภาวะตาบอดหูหนวก

ภาวะตาบอดหูหนวก (Deafblindness) คือกลุ่มของอาการสูญเสียทั้งการมองเห็นและการได้ยิน ที่ส่งผลต่อความสามารถในการสื่อสาร การประเมินข้อมูล และการใช้ชีวิต

ในบางครั้งภาวะนี้ถูกเรียกว่า “dual sensory loss” หรือ “multi-sensory impairment”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ที่ตาบอดหูหนวกอาจไม่จำเป็นต้องหูหนวกหรือตาบอดโดยสมบูรณ์ แต่อาจมีประสาททั้งสองที่บกพร่องอย่างมากจนส่งผลต่อการใช้ชีวิต

สัญญาณของภาวะตาบอดหูหนวก

ภาวะตาบอดหูหนวกมักเกิดมากกับผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงก็เป็นภาวะที่มีโอกาสเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย

สำหรับผู้สูงอายุ ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนทำให้คนส่วนมากไม่สังเกตเห็นปัญหาของตนเองในช่วงแรกๆ

สัญญาณของภาวะตาบอดหูหนวกมีดังนี้

  • ไม่ค่อยได้ยินเสียง เช่น เสียงเคาะประตู เสียพูด เสียงโทรทัศน์ วิทยุ ทำให้มีพฤติกรรมแปลกไป เช่น ถือหนังสืออ่านชิดใบหน้ามาก นั่งใกล้แหล่งกำเนิดเสียง ต้องขอให้คู่สนทนาทวนคำพูดบ่อยๆ
  • ทำความเข้าใจการสนทนาได้ลำบาก
  • เคลื่อนไหวในพื้นที่ที่ไม่คุ้นชินลำบาก
  • มีปัญหาในการมองในที่สลัวหรือที่สว่าง
  • อ่านสีหน้าผู้คนยากขึ้น
  • ใช้วิธีสัมผัสสิ่งของบ่อยกว่าปกติ
  • มีปัญหาในการจดจำใบหน้าคน

หากคุณเริ่มรู้สึกตัวว่ามีปัญหาด้านการได้ยินและการมองเห็น สิ่งที่ควรทำคือการเฝ้าระวังสัญญาณต่างๆ ที่จะบ่งชี้ว่าประสิทธิภาพการทำงานของประสาทอื่นๆ ลดลงตามไปด้วยหรือไม่

สาเหตุของภาวะตาบอดหูหนวก

ภาวะตาบอดหูหนวกสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ภาวะตาบอดหูหนวกตั้งแต่กำเนิด (Congenital deafblindness) เป็นภาวะซึ่งอาจเกิดจาก
    • ปัญหาที่เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อนที่มารดาจะมีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์)
    • การติดเชื้อที่เกิดระหว่างมีครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน ท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) ไซโตเมกาโลไวรัส (cytomegalovirus (CMV))
    • ภาวะทางพันธุกรรม เช่น ชาร์จซินโดรม (CHARGE syndrome) หรือดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
    • โรคสมองพิการ
    • กลุ่มอาการทารกในครรภ์ได้รับแอลกอฮอล์ (Foetal alcohol syndrome) ซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพ ที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์
  • ภาวะตาบอดหูหนวกในช่วงท้ายของชีวิต (Acquired deafblindness) ผู้ที่มีภาวะนี้อาจเกิดมาโดยไม่มีปัญหาการได้ยินหรือการมองเห็น แต่จะค่อยๆ สูญเสียประสาทสัมผัสทั้งสองไปในช่วงท้ายของชีวิต หรืออีกกรณีคือ ผู้ที่เกิดมาพร้อมปัญหาการได้ยินหรือปัญหาสายตา ก็สามารถมีการสูญเสียประสาททั้งสองในช่วงท้ายของชีวิตก็ได้เช่นกัน โดยอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
    • เกิดโรคในกลุ่มอัชเชอร์ซินโดรม (Usher syndrome) หรือภาวะทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการได้ยิน การมองเห็น และการทรงตัว
    • มีปัญหาดวงตาที่เกี่ยวข้องกับอายุ เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ(age-related macular degeneration (AMD)) ต้อกระจก ต้อหิน
    • ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (diabetic retinopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (diabetes) โดยเยื่อบุเซลล์ที่อยู่หลังดวงตาจะได้รับความเสียหายจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง
    • เกิดความเสียหายที่สมอง เช่น เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) โรคสมองอักเสบ (encephalitis) โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือเกิดการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

เมื่อพบว่าการได้ยินหรือการมองเห็นแย่ลง ก็สามารถไปพบแพทย์ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่เนื่องจากภาวะนี้ ผู้มีอาการเองมักไม่สังเกตความผิดปกติ ดังนั้นผู้ที่พาไปพบแพทย์จึงอาจเป็นบุคคลใกล้ชิด ยิ่งพบเร็ว การรักษา หรือวางแผนปรับตัวในอนาคตจะได้ทำได้แต่เนิ่นๆ

วิธีการวินิจฉัยภาวะตาบอดหูหนวก

ในทารก ภาวะตาบอดหูหนวกสามารถตรวจร่างกายและพบได้ทันทีหลังคลอด หรือหลังจากดำเนินการทดสอบในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ส่วนในผู้ใหญ่ ตัวผู้ใหญ่เองควรเข้ารับการตรวจสายตาอย่างน้อยทุกๆ สองปี เนื่องจากภาวะตาบอดหูหนวกนั้นจะค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกถึงความผิดปกติ

ผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะตาบอดหูหนวกจะถูกประเมินประสาทสัมผัสทั้งสองซ้ำๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อปรับระดับการรักษาและมองหาความช่วยเหลือต่างๆ ที่จำเป็นต่อตัวผู้ป่วยเอง

หากแพทย์ตรวจพบภาวะตาบอดหูหนวกของคุณ คุณควรเข้ารับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญต่อ พวกเขาจะช่วยชี้ชัดความสามารถที่เหลืออยู่ของผู้ป่วย และคัดเลือกการช่วยเหลือตามความจำเป็น การประเมินควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยเองด้วย

การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในภาวะตาบอดหูหนวก

หลังจากผ่านการวินิจฉัยว่าอยู่ในภาวะตาบอดหูหนวกแล้ว เชี่ยวชาญจะสามารถร่างแผนการดูแลตนเองของผู้ป่วยขึ้นมาได้ แผนดังกล่าวมีเป้าหมายดังนี้

  • รักษาและใช้งานประสาทสัมผัสที่เหลืออยู่ให้มากที่สุด
  • ให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น เดินทางไปสถานที่ต่างๆ ได้เอง โดยอาจมีไม้เท้ายาวหรือสุนัขนำทางช่วย
  • สำหรับเด็กเล็ก ต้องพยายามให้พวกเขาได้รับการศึกษาอย่างสมบูรณ์ที่สุด
  • ให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีการสื่อสารแบบอื่นๆ เช่น
    • อักษรสำหรับตาบอดหูหนวก (deafblind manual alphabet) : การสื่อสารในรูปของการสัมผัส ซึ่งคำแต่ละคำถูกแยกออกจากกัน เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะตาบอดหูหนวกใช้มือสัมผัสได้
    • อักษรบล็อก (block alphabet) : การสื่อสารในรูปของการสัมผัสแบบง่าย ที่ซึ่งคำแต่ละคำจะสะกดด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และให้ผู้ที่มีภาวะตาบอดหูหนวกอ่านด้วยการสัมผัส
    • การเขียนบนฝ่ามือ (hands-on signing) : การสื่อสารด้วยการเขียนสัญลักษณ์ต่างๆ บนฝ่ามือผู้ป่วย
    • อักษรเบรลล์ (braille) : ระบบที่ใช้จุดนูนแทนตัวหนังสือหรือกลุ่มคำ
    • อักษรมูน (moon) : คล้ายกับอักษรเบรลล์ แต่จะมีการใช้ตัวพิมพ์ใหญ่แทน ทำให้ง่ายต่อการสัมผัส
  • ใช้อุปกรณ์ช่วย สำหรับผู้มีปัญหาด้านการมองเห็น มีอุปกรณ์เช่นแว่นตา เลนส์ขยาย ไฟฉาย สิ่งของที่ออกแบบมาเป็นพิเศษบางอย่าง เช่น โทรศัพท์และคีย์บอร์ดพิเศษ สามารถช่วยผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นได้ ส่วนผู้มีปัญหาด้านการได้ยิน ก็มีอุปกรณ์ช่วยได้การฟังเช่นกัน โดยอุปกรณ์ประเภทนี้มีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับระดับการได้ยินของผู้ป่วยและความพึงพอใจส่วนบุคคล

เครื่องช่วยฟังจะมีไมโครโฟนเก็บเสียงสภาพแวดล้อม เพื่อนำไปขยายเสียงและส่งเข้าไปยังโพรงหูของผู้สวมใส่ ดังนั้นเสียงจะเข้าถึงระบบรับเสียงของหูโดยตรง นักโสตสัมผัสวิทยา (audiologist) จะสามารถแนะนำเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุดได้ หลังจากทดสอบการได้ยินแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บางคนอาจไม่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้ จึงอาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อฝังระบบช่วยฟังเข้าในร่างกาย เช่น การฝังคอเคลีย (cochlea implant) หรือการฝังกระดูกรับเสียง (bone conducting hearing implant)

อุปกรณ์ดังกล่าวจะอาศัยไมโครโฟนเพื่อเก็บเสียงอยู่ดี แต่จากนั้นจะมีการเปลี่ยนเสียงให้เป็นทั้งสัญญาณไฟฟ้าหรือการสั่น ส่งเข้าไปในหูชั้นกลางหรือชั้นใน เพื่อให้ระบบรับเสียงประมวลผลอีกที

การป้องกันภาวะตาบอดหูหนวก

ภาวะบางอย่างสามารถส่งผลต่อการได้ยินและการมองเห็น แต่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด

ปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ซึ่งสามารถรักษาได้ ก่อนจะสูญเสียการมองเห็นทั้งหมด ได้แก่

  • ต้อกระจก (Cataracts) มักรักษาได้ด้วยการผ่าตัดฝังเลนส์ตาเทียม
  • ต้อหิน (Glaucoma) สามารถรักษาได้ด้วยยาหยอดตาหรือเลเซอร์
  • ภาวะเบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy) สามารถรักษาได้หากภาวะยังอยู่ในระยะต้นด้วยการผ่าตัดเลเซอร์

ปัญหาเกี่ยวกับหูก็สามารถรักษาได้เช่นกัน เช่น การสะสมของขี้หู หรือการติดเชื้อในหูชั้นกลาง รักษาเสียก่อนที่อาการจะลุกลามถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sence Interantional. Cogenital Deafblindness, Acquireed Deafblindness & Sensory Impairment. Factsheet in Core Modile 3 a : U.K. 1999.
Milies,B. Overview on Deaf-blindness. DB-Link, New York : Helen Keller National Center. 1995.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)