เวลาออมแสง (Daylight saving time) การที่ปรับเวลาให้ช้าลง (fall back)

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เวลาออมแสง (Daylight saving time) การที่ปรับเวลาให้ช้าลง (fall back)

เวลาออมแสง (Daylight saving time) การที่ปรับเวลาให้ช้าลง (fall back) ไม่ได้เท่ากับการได้นอนหลับเพิ่มมากขึ้น

นักวิจัยมีการศึกษาถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนี้ต่อโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เวลาออมแสง (Daylight saving time) จะจบลงในเวลาตีสองของวันอาทิตย์นี้ (อาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายน) โดยตามทฤษฏีแล้ว การปรับเวลาให้ช้าลง (falling back) หมายถึง การมีเวลาสำหรับการนอนเพิ่มอีกหนึ่งชั่วโมงในวันหยุดสุดสัปดาห์

Winston Churchill เคยได้อธิบายถึงเรื่องเวลาออมแสงไว้ว่า “การหาวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าครั้งหนึ่งในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และการได้ต่อเวลานอนเพิ่มขึ้นในค่ำคืนฤดูใบไม้ร่วง เราหยิบยืมหนึ่งชั่วโมงยามค่ำคืนของเดือนเมษายน เพื่อมาจ่ายคืนทีในห้าเดือนให้หลัง”

แต่นั่นเป็นมุมมองที่ดูจะโลกสวยไปเสียหน่อย เพราะในความเป็นจริงแล้วผู้คนไม่ค่อยได้ใส่ใจ หรือไม่สามารถตักตวงผลประโยชน์ได้จากการนอนเพิ่มขึ้นหนึ่งชั่วโมงในช่วงสุดสัปดาห์ เพราะการปรับเปลี่ยนวงจรการตื่น-นอนนั้นจะยังไม่คงที่และรบกวนการนอนต่อได้อีกหลายวัน

ทีมนักวิจัยทั่วโลกได้พยายามศึกษาถึงการเสียหรือได้รับชั่วโมงการนอนเพิ่มขึ้นจากเวลาออมแสงนั้นส่งผลต่อเรื่องสุขภาพอย่างไรบ้าง นักวิจัยจาก Michigan ได้มีการตีพิมพ์ผลงานลงในวารสารโรคหัวใจอเมริกัน (American Journal of Cardiology) มีการศึกษาที่ให้ผลสรุปว่ามีภาวะหัวใจวายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในวันแรกของช่วงเวลาออมแสงของฤดูใบไม้ผลิ ที่เราเสียหนึ่งชั่วโมงของการนอนไป ซึ่งผลการศึกษานั้นเหมือนกับงานวิจัยจากสวีเดน ที่มีการตีพิมพ์ลงใน วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine) ซึ่งพบว่ามีภาวะหัวใจวายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงเริ่มเวลาออมแสง และลดลงเล็กน้อยในช่วงสิ้นสุดเวลาออมแสง 

นักวิจัยอื่น ๆ ยังมีการศึกษาโดยการเปรียบเทียบข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ความปลอดภัยในที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งการเรียน ซึ่งให้ผลสรุปที่หลากหลาย

เวลาออมแสงและการนอน

แต่การเน้นไปเพียงแค่เรื่องการได้เวลานอนเพิ่มขึ้นหรือสูญเสียไปนั้นอาจบดบังภาพรวมที่แท้จริง - ผลของเวลาออมแสงต่อวงจรการหลับนอน มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์เกี่ยวกับการหลับนอน (Sleep Medicine Reviews) โดย Dr.Yvonne Harrison, อาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัย Liverpool John Moores ในประเทศอังกฤษ มีผลสรุปว่า การปรับเปลี่ยนชั่วโมงการนอนเพียงหนึ่งชั่วโมงนั้นสามารถส่งผลต่อวงจรการหลับนอนได้เป็นสัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง มีประชากรเพียงจำนวนน้อยที่จะได้รับชั่วโมงการนอนเพิ่มขึ้นหนึ่งชั่วโมงนั้นจริง ๆ เพราะในช่วงสัปดาห์ต่อมา หลายคนจะตื่นเช้าขึ้นกว่าปกติ และมีปัญหาในการเข้านอน โดยส่วนใหญ่มักมีการตื่นกลางดึก กลุ่มคนที่นอนน้อย (short sleeper) (นอนน้อยกว่า 7.5 ชั่วโมงต่อคืน) และกลุ่มคนที่ตื่นแต่เช้าเป็นประจำ (early risers หรือ larks) จะมีปัญหาเกี่ยวกับการปรับเวลาการนอนนี้มากที่สุด

โดยปัญหาเช่นเดียวกันนี้จะพบเจอในช่วงฤดูใบไม้ผลิเช่นกัน ซึ่งกลุ่มคนตื่นแต่เช้าเป็นประจำ และนอนน้อย ก็จะเป็นกลุ่มที่ประสบปัญหานี้

การดีดตัวกลับเวลาเดิม (Springing back)

เราทุกคนต่างเคยมีประสบการณ์ที่พบว่า ภาวะทางกาย จิตใจ และพฤติกรรมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างวัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่า วงจรนาฬิกาชีวภาพ (Circardian rhythm) โดยช่วงเวลากลางวันและกลางคืนในแต่ละวันจะเปลี่ยนแปลงวงจรนี้อยู่ตลอด 24 ชั่วโมง

การนอนหลับเป็นส่วนประกอบหนึ่งของวงจรนาฬิกาชีวภาพ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น แสงสว่าง หรือ เวลาออมแสง โดยการนอนหลับสามารถส่งผลต่อวงจรนาฬิกาชีวภาพของร่างกายส่วนอื่นได้

มันเป็นเรื่องยากที่จะเลี่ยงผลข้างเคียงของร่างกายต่อเวลาออมแสง คำแนะนำคือขอให้ตระหนักไว้ว่า เวลาออมแสงนั้นสามารถมีผลต่อวงจรนาฬิกาชีวภาพ และวงจรการหลับนอนของคุณได้เป็นอาทิตย์ และให้พยายามปรับตัวกับมัน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน อาจช่วยให้การนอนหลับของคุณกลับไปตรงตามเวลาที่ควรมากขึ้น การเข้านอนและตื่นเป็นเวลา รวมถึงการงีบหลังในช่วงกลางวัน 1-2 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ก็เป็นทางเลือกที่ดีและจะช่วยเรื่องการชั่วโมงการนอนหลับที่ขาดไป


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Daylight Saving Time: 4 Tips to Help Your Body Adjust. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/daylight-savings-time-change-4-tips-to-help-your-body-adjust/)
What You Can Do Before Daylight Saving Time to Help Your Body Adjust. Healthline. (https://www.healthline.com/health-news/what-you-can-do-before-daylight-saving-time-to-help-your-body-adjust)
The Number of Fatal Car Accidents Spikes After Daylight Saving Time. Healthline. (https://www.healthline.com/health-news/daylight-saving-can-make-driving-less-safe)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม
ความง่วงนอนคืออะไรและอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดได้บ่อย?
ความง่วงนอนคืออะไรและอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดได้บ่อย?

การรู้สึกว่าง่วงนอนอาจแสดงถึงความผิดปกติของการนอนหลับได้

อ่านเพิ่ม