กล่องใส่ยาช่วยลดอันตรายของการลืมกินยาได้อย่างไร อันตรายของการลืมกินยาหรือกินยาไม่ถูกเวลา

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กล่องใส่ยาช่วยลดอันตรายของการลืมกินยาได้อย่างไร อันตรายของการลืมกินยาหรือกินยาไม่ถูกเวลา

การเจ็บป่วยถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ซึ่งการรักษาด้วยยารักษาโรคจะเป็นหนทางสำคัญที่จะช่วยให้หายจากความเจ็บป่วยนั้นได้ ทั้งนี้โรคบางโรคต้องอาศัยระยะเวลาการกินยาที่ยาวนาน ดังนั้นวิธีเก็บยาจึงมีความสำคัญมาก โดยสิ่งที่สามารถช่วยเก็บยาได้ดีก็คือ “กล่องใส่ยา” ซึ่งจะช่วยให้ยายังคงประสิทธิภาพในการรักษาไม่ให้เสื่อมไปตามเวลานั่นเอง

กล่องใส่ยาช่วยลดอันตรายของการลืมกินยาได้อย่างไร

ในกล่องใส่ยานอกจากจะมีช่องต่างๆ เพื่อความสะดวกต่อการจัดแยกเก็บตามประเภทและชนิดของยาแล้ว ยังช่วยไม่ให้ยาที่ต้องเก็บไว้นานๆ เปลี่ยนแปลงสภาพ อันเป็นผลมาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก เช่น ความชื้น แสงแดด และอุณหภูมิ รวมทั้งตัวยาจะไม่เสื่อมสลายอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กล่องใส่ยาบางชนิดได้รับการออกแบบให้สามารถตั้งเวลาปลุกเตือน เพื่อบอกให้ผู้ป่วยทราบว่าถึงเวลาที่จะต้องกินยา ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยที่มักจะลืมกินยาบ่อยๆ โดยสามารถตั้งเตือนในแต่ละวันได้หลายครั้ง จึงช่วยให้ผู้ป่วยมั่นใจได้ว่าจะไม่ลืมการกินยาแล้ว ยังสามารถกินยาได้ตรงเวลาทุกมื้อและทุกวัน อีกทั้งยังมีขนาดเล็กทำให้พกพาสะดวก ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ใดก็จะไม่พลาดการกินยา ส่งผลให้ยาทำงานรักษาโรคได้ผลอย่างเต็มที่

อันตรายของการลืมกินยาหรือกินยาไม่ถูกเวลา

ยารักษาโรคมีหลายประเภทและการกินยาก็จำเป็นจะต้องกินให้ตรงเวลาอย่างเคร่งครัด โดยยาจะถูกแบ่งตามลักษณะการกิน คือ ยากินก่อนอาหาร ยากินหลังอาหาร ยากินก่อนนอน ยากินเพื่อระงับอาการ เพราะฉะนั้นการกินยาไม่ถูกเวลาหรือลืมกินยาอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายดังนี้

  • ยากินก่อนอาหาร ยากลุ่มนี้ควรกินก่อนอาหาร 30 นาที ในขณะที่ท้องยังว่าง เพราะหากกินเร็วเกินไปจะถูกกรดในกระเพาะอาหารทำลายจนลดประสิทธิภาพในการรักษาได้ ส่วนการลืมกินยาหรือกินไม่ถูกเวลานั้น อาหารที่กินเข้าไปอาจทำให้ร่างกายลดการดูดซึมยาลงได้ เนื่องจากยาบางอย่างต้องกินก่อนอาหารเพื่อต้องการเตรียมความพร้อมให้กับระบบทางเดินอาหาร อย่างเช่นช่วยไม่ให้คลื่นไส้อีกด้วย
  • ยากินหลังอาหาร ยากลุ่มนี้ควรกินหลังอาหารไม่เกิน 15 นาที หรือกินพร้อมอาหารก็ได้ เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารจะหลั่งออกมามากในช่วงกินอาหาร เพื่อช่วยในการดูดซึมยาให้เข้าสู่ร่างกาย หากกินยาผิดเวลาจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย เพราะมีผลกับกระเพาะอาหารโดยตรง เช่น เกิดการระคายเคือง คลื่นไส้ อาเจียน และกัดกระเพาะอาหาร
  • ยากินก่อนนอน ควรกินก่อนเข้านอน 15 – 30 นาที หากกินยาผิดเวลาหรือลืมกินยา อาจจะมีผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้ อย่างเช่นถ้ากินยาก่อนนอนเป็นเวลานานๆ โดยที่ยังไม่พร้อมจะเข้านอน ก็จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและง่วงนอนมากจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ดังนั้นจึงควรกินยาก่อนนอนตามเวลาที่กำหนด จะช่วยทำให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพขณะที่ผู้ป่วยกำลังนอนหลับ
  • ยากินเพื่อระงับอาการ ยากลุ่มนี้ประเภทยาแก้ปวดลดไข้ต่างๆ ซึ่งจะต้องกินขณะที่มีอาการและกินซ้ำทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง หรือบางชนิด 8 – 10 ชั่วโมง โดยไม่มีผลกับการกินยาก่อนหรือหลังอาหาร แต่ถ้ากินยาเร็วหรือช้าไม่ตรงเวลาจนเกินไปก็อาจมีผลกับการออกฤทธิ์ของยา เมื่อได้รับยาเร็วถี่ก็อาจได้รับยาเกินขนาดหรือช้าเกินไปก็ทำให้ยารักษาโรคไม่หายได้

ดังนั้นช่วงเวลาการกินยาจะต้องกินตามคำแนะนำของแพทย์หรือฉลากยาอย่างเคร่งครัด เพื่อลดอาการข้างเคียงหรือความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายในตัวยาที่จะเกิดกับร่างกายได้ ดังนั้นการใช้กล่องใส่ยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยไม่พลาดการกินยาครบทุกมื้อ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากโรคหรือความเจ็บป่วยสูงขึ้น


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
thaihealth, ขณะนี้คุณอยู่ที่ : หน้าแรก » สาระสุขภาพ » เกร็ดความรู้สุขภาพหลักการใช้ยา (https://www.thaihealth.or.th/Content/42904-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%20.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)