ภาพรวมของ Crossfit

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที
ภาพรวมของ Crossfit

ครอสฟิตเตอร์ (crosfitter) คุณสามารถแยกกลุ่มคนเหล่านี้ออกได้ง่าย ๆ พวกเขามีรูปร่างลักษณะเฉพาะภายในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นต้นขาที่แข็งแรง เอวเรียวเล็ก และไหล่ที่บึกบึน พวกเขายังมีศัพท์เฉพาะตลก ๆ ที่ใช้กันในกลุ่ม เช่น WOD หรือ Metcon แถมยังพูดถึงคนที่ชื่อ Murph และ Fran ซึ่งจากมุมมองของคนภายนอกนั้นดูลึกลับน่าค้นหาและน่าดึงดูดใจคล้ายกับการสังเกตการคุยกันในแก๊งเด็กแนวช่วงพักเที่ยงในโรงเรียนมัธยม

ข่าวดีก็คือ หากคุณอยากมีส่วนร่วมในกีฬาครอสฟิตก็สามารถไปแจมได้เลย (แม้ว่าคุณจะไม่เข้าใจศัพท์แปลก ๆ เหล่านั้นก็เถอะ) โดยภาพรวมแล้วกีฬาครอสฟิตเป็นกีฬาที่เปิดกว้างให้ทุกคน โดยเหล่าสมาชิกก็จะเต็มใจต้อนรับน้องใหม่เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ก่อนจะไปสมัครเข้าร่วม เราก็ควรทำความรู้จักกับกีฬาชนิดนี้ให้ดีเสียก่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ครอสฟิตคืออะไร ?

ครอสฟิตได้ชื่อว่าเป็นกีฬาเพื่อความฟิตของร่างกาย หากคุณอ่านเว็บไซต์ครอสฟิต คุณก็จะเชื่อว่า คุณเกรก กลาสแมน (Greg Glassman) ผู้เป็นทั้งผู้ก่อตั้งและซีอีโอของทางสมาคมเป็นบุคคลแรกในประวัติศาสตร์ที่ให้คำจำกัดความกับฟิตเนสในทางที่มีความหมายและวัดได้

จริงอยู่ที่คุณกลาสแมนอาจเป็นผู้คิดค้นคำจำกัดความที่แม่นยำของคำว่าความฟิต นั่นคือการเพิ่มความสามารถในการทำงานในเวลาและวิธีการต่าง ๆ แต่เขาไม่ได้ให้คำจำกัดความกับคำว่าฟิตเนสโดยตรง นักวิทยาศาสตร์การกีฬาต่างรู้มานานแล้วว่าความหมายของฟิตเนสคือความสมดุลที่วัดได้ของสภาพร่างกาย โดยรวมองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของฟิตเนสทั้ง 5 อย่าง (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, ความทนของกล้ามเนื้อ, ความทนของระบบหัวใจและหลอดเลือด, ความยืดหยุ่นของร่างกาย และส่วนประกอบของร่างกาย) และองค์ประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถของฟิตเนสอีก 6 อย่าง (ความคล่องตัว, ความเร็ว, การทรงตัว, การประสานงานในการเคลื่อนไหวร่างกาย, ความเร็วในการตอบสมอง และพละกำลัง)

ครอสฟิตเป็นการออกกำลังกายและกีฬาที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางฟิตเนสอย่างรอบด้าน โดยเน้นที่การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ยิมนาสติก การยกน้ำหนัก การวิ่ง การพายเรือ และพลัยโอเมตริก(Plyometrics)

การออกกำลังกายของครอสฟิตมีความหลากหลายสลับสับเปลี่ยนไปมาอย่างหนักหน่วง การรวมกันของท่าต่าง ๆ นี้คือสิ่งที่ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางฟิตเนสนั่นเอง อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายชนิดนี้มีกุญแจสำคัญที่ไม่ควรลืม นั่นคือความหนักหน่วง

ครอสฟิตจะให้ความสำคัญกับการปรับท่าให้เหมาะสมกับระดับความฟิตของแต่ละคน ถึงอย่างไรก็ตามการฝึกที่หนักขนาดนี้ไม่ใช่ทางที่ใช่สำหรับทุกคน และอาจเป็นอันตรายสำหรับผู้ที่มีอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง

10 ประเด็นที่ควรรู้เกี่ยวกับครอสฟิต

ครอสฟิตมีประโยชน์หลาย ๆ อย่างต่อชุมชนอย่างกว้างขวาง  มิเช่นนั้นก็คงไม่ประสบความสำเร็จถึงขั้นมีสถาบันที่เกี่ยวข้องมากกว่า 13,000 แห่งทั่วโลก อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายชนิดนี้อาจมีบางแง่มุมที่เหมาะและไม่เหมาะกับคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ครอสฟิตไม่ได้เป็นเพียงการออกกำลังกาย แต่มันคือวัฒนธรรม

การที่ครอสฟิตได้รับการยกย่องว่าเป็นศาสนาอย่างหนึ่งก็มีที่มาที่ไป ผู้นำครอสฟิตประสบความสำเร็จในการสร้างวัฒนธรรมและชุมชนในยิมแต่ละแห่งและองค์กรขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเป็นกำลังที่ยิ่งใหญ่โดยประกอบด้วยศิษย์ที่ทุ่มเท ต่างฝ่ายต่างร่วมกันปกป้องการออกกำลังกายชนิดนี้และชักชวนให้ผู้อื่นเข้าร่วมอีกด้วย สถาบันแต่ละแห่งก็มีความโดดเด่นของตัวเองที่ประกอบไปด้วยโค้ช สมาชิก และบางแห่งก็มีอุปกรณ์ แต่ก็ยังมีลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกถึงความเป็นยิมครอสฟิตร่วมกัน เช่น

  • - ความภาคภูมิใจในยิมเขรอะ ๆ สไตล์โรงรถ การออกกำลังกายแบบบ้าพลัง และการที่ต้องออกแรงเต็มสตรีมในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง
  • - คำศัพท์เฉพาะที่เข้าใจกันภายในกลุ่ม
  • - มีความเชื่อพื้นฐานร่วมกันว่าใครก็สามารถได้ประโยชน์จากครอสฟิต พร้อมทั้งประโยชน์จากการสื่อสารระหว่างสมาชิกทั้งในและนอกยิม
  • - สมาชิกทุกคนมีเป้าหมายพัฒนาฟิตเนสของตัวเอง

หากคุณรวมทุกประเด็นข้างต้นโดยทำความเข้าใจว่าครอสฟิตไม่ได้เป็นเพียงเรื่องยิมอย่างเดียว แต่สมาชิกทุกคนสามารถติดต่อกันผ่านระบบออนไลน์ และตามการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นภายในระดับชุมชน ระดับภูมิภาค หรือระดับชาติผ่านตัวกลางอย่างกีฬาครอสฟิตนี้ คุณก็จะได้วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง คุณจะไม่ได้เข้าร่วมแต่เพียงยิมครอสฟิต แต่เป็นชุมชนชาวครอสฟิตต่างหาก

ครอสฟิตมีภาษาของตัวเอง

ยิมครอสฟิตไม่ได้เรียกว่ายิมธรรมดา แต่จะรู้จักกันว่าเป็น Box โปรแกรมออกกำลังกายก็ไม่ใช่โปรแกรมธรรมดา มันคือ WOD หากคุณไม่อยากถูกกดดันด้วยศัพท์พวกนี้ก่อนไปเข้าร่วมครั้งแรก คุณอาจจะต้องทำความรู้จักกับศัพท์เบื้องต้นเหล่านี้ก่อน ได้แก่

  • - Box: ยิมครอสฟิต
  • - WOD: Workout of the day หรือโปรแกรมออกกำลังกายประจำวัน
  • - AMRAP: As many rounds as possible หรือจำนวนรอบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • - ATG: Ass to grass หรือการนั่ง squat ให้ลึกที่สุด
  • - For time: ความเร็วมากที่สุดที่คุณใช้ในการทำ WOD รอบหนึ่ง
  • - Metcon: Metabolic conditioning หรือการออกกำลังกายแบบอินเทอร์วัลอย่างหนักเพื่อเพิ่มความอดทน

ทั้งหมดนี้เพียงแค่เริ่มต้นเท่านั้นนะ

ท่าออกกำลังกายเองก็มีชื่อแปลก ๆ ส่วนมากเป็นชื่อผู้หญิง เช่น แฟรน เกรซ แองจี้ บาร์บาร่า และไดแอน บางท่าก็ขึ้นชื่อว่าเป็น WOD ฮีโร่ ซึ่งจะตั้งตามทหารผู้กล้าที่เสียชีวิตภายในหน้าที่
คุณเองก็สามารถฝึกคำศัพท์เหล่านี้ได้ก่อนไปบ็อกซ์โดยหาข้อมูลจากเว็บไซต์ครอสฟิต หรือจะลงสนามไปเลยก็ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจว่ามันอาจใช้เวลาในการเข้าใจภาษาครอสฟิตพวกนี้ได้ทั้งหมด

คุณเสียค่าใช้จ่ายกับกลุ่มที่มีเทรนเนอร์นำออกกำลังกาย ไม่ใช่แค่ค่าเข้ายิม
บางบ็อกซ์ครอสฟิตมีคลาสออกกำลังกายที่นำโดยเทรนเนอร์ผู้มีใบประกาศ และบางแห่งก็มียิมที่เปิดบริการทั่วไปที่สมาชิกสามารถเข้าไปใช้ได้เอง แต่วัฒนธรรมของพวกเขาเน้นที่การออกกำลังกายเป็นกลุ่มที่มีผู้เข้าร่วมทำไปพร้อมกันภายใต้การแนะนำและความช่วยเหลือของโค้ช วิธีการดังกล่าวนำมาซึ่งความรู้สึกเป็นทีมเดียวกันของสมาชิกและเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่มีโค้ชช่วยปรับท่าให้ถูกต้องและให้กำลังใจ
เนื่องจากคุณต้องจ่ายค่าคลาสที่มีเทรนเนอร์นำ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนก็จะมากกว่ายิมทั่ว ๆ ไป นั่นยังไม่รวมค่าสิ่งอำนวยความสะดวกแบบยิมทั่ว ๆ ไปอีกด้วย ค่าสมาชิกก็สูงต่ำแล้วแต่สถานที่ แต่มักอยู่ช่วงราคา 2,000-5,000 บาทต่อเดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ราคานี้ครอบคลุมการใช้ยิมและค่าร่วมคลาสของคุณ

คุณต้องเซียนท่ายกน้ำหนักดั้งเดิม โปรแกรมออกกำลังกายของครอสฟิตจะเน้นการเคลื่อนไหวที่พึ่งการยกน้ำหนักแบบดั้งเดิม คุณจะไม่สามารถเลือกอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเฉพาะตามบ็อกซ์ครอสฟิต แต่คุณจะพบกับบาร์โหนดึงข้อ โครงทำสควอท ม้านั่งยกน้ำหนักแบบ bench press อุปกรณ์ฟรีเวท ไพลโอเมตริกบ็อกซ์ เชือกกระโดด และเครื่องพาย หากคุณเป็นพวกบ้าฟรีเวท และรู้จักมักจี่กับกีฬายกน้ำหนักโอลิมปิกหรือพาวเวอร์ลิฟติ้งแล้วล่ะก็ คุณอาจจะได้เรียนรู้ท่าออกกำลังกายใหม่ ๆ เช่น ท่าคลีนและท่าสแนทช์ โดยจะมีท่าทั่วไป ได้แก่

  • - ท่าสควอท
  • - ท่าเดดลิฟ
  • - ท่าเบนช์เพรส
  • - ท่าคลีน
  • - ท่ากระโดดกล่อง
  • - ท่าเบอร์ปี้
  • - ท่าดึงข้อ
  • - ท่าวิดพื้น
  • - ท่าแกว่งเคทเทิลเบลล์

โปรแกรมออกกำลังกายครอสฟิตหนักหน่วงมาก

เผื่อว่าคุณพลาดประเด็นที่ชี้ไว้ก่อนหน้านี้ ครอสฟิตเป็นโปรแกรมออกกำลังกายที่สร้างขึ้นเพื่อความหนักโดยเฉพาะ เราต้องใช้แรงแทบทั้งหมดขึ้นอยู่กับเวลาและจำนวนรอบที่ออก โปรแกรมออกกำลังหนัก ๆ นี้ที่แม้จะพัฒนาความแข็งแรงของร่างกายนั้น หากทำบ่อยเกินไป หรือทำโดยไม่ให้ความสำคัญกับท่าที่ถูกต้องก็อาจเกิดผลเสียต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกที่มากเกินไป หรือการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น

สิ่งที่คุณคาดหวังได้จากครอสฟิตคืออาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงหลังการออกกำลังกาย หรือ delayed onset muscle soreness (DOM) อาการนี้มักจะเกิดขึ้นประมาณหนึ่งหรือสองวันหลังการออกกำลังกายอย่างหนักและคงอยู่ได้เป็นเวลาหลายวัน ถึงอาการปวดนี้จะทำให้รู้สึกไม่สบายแต่ก็จะหายได้เองโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว

สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมคือแม้จะเกิดไม่บ่อย แต่การออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงก็สามารถทำให้เกิดอาการที่รุนแรงที่เรียกว่า rhabdomyolysis หรือ rhabdo ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีกล้ามเนื้อสลายและปล่อยสารที่อยู่ภายในออกมาตามกระแสเลือด หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะไตวาย ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง (compartment syndrome) หรือมีการทำลายของเส้นประสาทถาวร อย่างไรก็ตามภาวะดังกล่าวเกิดได้ยาก และการออกกำลังกายอย่างหนักใด ๆ ก็สามารถทำให้เกิดอาการนี้ได้ มิใช่เฉพาะครอสฟิตเท่านั้น สิ่งสำคัญคือการรู้จักประเมินขีดจำกัดของร่างกายตัวเองและไม่หักโหมมากเกินไป

คุณเห็นผลลัพธ์แน่นอน

หากคุณทำตามโปรแกรมครอสฟิตอย่างสม่ำเสมอจะเห็นพัฒนาการของร่างกายคุณอย่างชัดเจน อย่างเช่นในการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน The Journal of Strength and Conditioning Research ปี 2013 พบว่าทั้งผู้หญิงผู้ชายไม่ว่าจะมีระดับความแข็งแรงของร่างกายใด ๆ ก็เห็นการพัฒนาการของ VO2 max (บอกระดับความทนของระบบหลอดเลือดหัวใจ) และส่วนประกอบของร่างกายหลังการเข้าร่วมการเทรนอย่างหนักเลียนแบบโปรแกรมออกกำลังกายครอสฟิตเป็นเวลา 10 สัปดาห์ เช่นเดียวกับการศึกษาใน the International Journal of Exercise Science ในปี 2016 พบว่าการออกกำลังกายแบบครอสฟิตเพียงอย่างเดียวก็สามารถเพิ่มการใช้พลังงาน (การเผาผลาญแคลอรี่)มากกว่าการออกกำลังกายทั่วไป และการศึกษาในปี 2014 ที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับเดียวกันก็ชี้ว่าครอสฟิตสามารถเพิ่มพละกำลังสูงสุดได้มากกว่าการออกกำลังกายแบบดั้งเดิม (แม้นักวิจัยจะพบว่าสมรรถภาพด้านอื่น ๆ จะมีพัฒนาการที่มากขึ้นไม่แตกต่างกัน)

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างการศึกษาจำนวนเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นว่าครอสฟิตช่วยเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายอย่างรอบด้าน

ถ้าเช่นนั้นครอสฟิตเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุดอย่างนั้นหรือ ? คำตอบคือไม่ การออกกำลังกายที่ดีที่สุดคือสิ่งที่คุณสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอโดยไม่บาดเจ็บ ครอสฟิตอาจเหมาะสำหรับบางคน ในขณะที่คนอื่นอาจเหมาะกับการออกกำลังกายประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปั่นจักรยาน การเข้าคลาสbarre การวิ่ง หรืออื่น ๆ อีกมากมายแล้วแต่คน

คุณอาจไม่ได้ลดน้ำหนัก

หากคุณวางแผนจะเล่นครอสฟิตโดยหวังจะลดน้ำหนัก คุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่าครอสฟิตจะส่งผลกระทบอะไรกับร่างกายของคุณบ้าง
จริงอยู่ที่โปรแกรมการออกกำลังกายของครอสฟิตสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ (โดยเฉพาะเมื่อควบคู่กับการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ) แต่ด้วยโครงสร้างของการออกกำลังกายและการเน้นด้านการสร้างความแข็งแรงของร่างกาย คุณอาจสังเกตการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบร่างกายมากกว่าตัวเลขบนตาชั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วยเดือนแรก ๆ ของการออกกำลังกาย ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งที่แย่เลย แทนที่น้ำหนักบนตาชั่งคุณจะลดลง ครอสฟิตจะช่วยให้คุณสร้างกล้ามเนื้อลีน ๆ และลดไขมันสะสม และหากน้ำหนักคุณอาจไม่เปลี่ยนแปลง(หรือแม้แต่เพิ่มขึ้นในบางกรณี) รูปร่างและขนาดของคุณจะเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน ทั้งนี้เนื่องจากกล้ามเนื้อมีความหนาแน่นมากกว่าไขมัน กล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นมา 1 ปอนด์จะใช้พื้นที่น้อยกว่าไขมันที่สูญเสียไป 1 ปอนด์ ดังนั้นถึงน้ำหนักคุณจะไม่กระดิก แต่ร่างกายคุณจะกระชับมากขึ้น
เมื่อพูดถึงสุขภาพแล้ว การมีองค์ประกอบร่างกายที่สมบูรณ์ย่อมสำคัญกว่าการมีน้ำหนักที่พอเหมาะ หากหนึ่งในเป้าหมายหลักของการเล่นครอสฟิตของคุณคือการลดน้ำหนัก คุณอาจเปลี่ยนจากการดูตัวเลขที่เปลี่ยนแปลงบนตาชั่งมาเป็นการวัดสัดส่วนร่างกายเพื่อดูพัฒนาการแทน

การบาดเจ็บเป็นเรื่องปกติ

ความเชื่อเรื่องครอสฟิตและการบาดเจ็บที่ตามมาย่อมมีที่มาที่ไป จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร the Orthopaedic Journal of Sports Medicine ปี 2014 พบว่าอัตราการได้รับบาดเจ็บจากครอสฟิตโดยรวมประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าผู้ชายมักได้รับบาดเจ็บมากกว่าผู้หญิง และอัตราการบาดเจ็บจะลดลงหากมีโค้ชช่วยจัดท่าทางที่ผิดระหว่างการออกกำลังกาย การบาดเจ็บเหล่านี้มักไม่สาหัสและหายได้ค่อนข้างไว พบได้มากที่สุดคือการบาดเจ็บช่วงหลังส่วนล่าง ไหล่ และเข่า

ในความเป็นจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ใช้ร่างกายใด ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ ยิ่งเป็นกิจกรรมที่มีการกระทบกระแทกหนัก ๆ เช่น บาสเกตบอล ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บมากกว่าการว่ายน้ำ อย่างไรก็ตามการบาดเจ็บจากการเล่นครอสฟิตสามารถหลีกเลี่ยงได้หากคุณให้ความสำคัญกับท่าทางที่ถูกต้อง ตั้งใจฟังโค้ช และฟังร่างกายตัวเองแล้วปรับการออกกำลังกายให้เหมาะสม หรือพักหากเหนื่อยมากเกินไป หากปฏิบัติตามนี้ได้คุณก็จะได้รับบาดเจ็บน้อยลง

คุณสามารถลองโปรแกรมออกกำลังกายได้ที่บ้าน

บนเว็บไซต์ครอสฟิตมี WOD ประจำวันที่คุณสามารถทำเองได้ที่บ้านหรือที่ยิมของตัวเองแทนที่จะต้องไปบอกซ์ครอสฟิต คุณอาจบันทึกผลของตัวเองผ่านระบบออนไลน์และเทียบกับคนอื่น ๆ ในชุมชนครอสฟิตรอบโลก

นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีหากคุณไม่มีบ็อกซ์ครอสฟิตใกล้ตัว หรือจ่ายค่าสมาชิกไม่ไหว เพียงแต่อย่าลืมว่าการออกกำลังกายด้วยท่าที่ถูกต้องเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยลดการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น ควรจัดท่าทางให้ถูกต้องก่อนเพิ่มน้ำหนักหรือออกหนักขึ้น นอกจากนี้ทางเว็บไซต์ยังมีวิดีโอสอนท่าออกกำลังกายเบื้องต้นให้อีกด้วย

คุณสามารถเข้าร่วมการแข่งขันครอสฟิตได้ด้วย

เช่นเดียวกับกีฬาโอลิมปิก หรือ X Games ครอสฟิตก็ยังมีการแข่งขันของตัวเอง การแข่งขันนี้เริ่มจากการจัดขึ้นเป็น Crossfit Open ระดับชุมชนรอบโลก ผู้ที่ทำคะแนนได้ดีในรอบนี้ก็จะผ่านเข้าไปในระดับภูมิภาค และสุดยอดนักกีฬาขอแต่ละภูมิภาคก็จะได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน Reebok Crossfit Games ซึ่งเป็นการแข่งขันที่รวบรวมชายหญิง เด็กวัยรุ่น ทีม และมาสเตอร์ที่ฟิตที่สุดถ่ายทอดไปทั่วโลกมาแข่งขันกันเพื่อตำแหน่ง “ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก”

และถึงแม้ว่าคุณอาจไม่คิดว่าตัวเองจะสู้ในการแข่งขันระดับสูง ๆ ได้ แต่ใครก็ตามที่ใจอยากลองแข่งขันก็สามารถร่วมการแข่งได้ทั้งนั้น

คำถามที่คุณควรถามบ็อกซ์ครอสฟิตก่อนสมัครสมาชิก

หากคุณพร้อมที่จะลองเล่นครอสฟิต คุณอาจลองถามคำถามพวกนี้ก่อน

  • คุณสามารถนั่งดูหรือทดลองเรียนในคลาสก่อนได้หรือไม่ ?

การดูการออกกำลังกายจริงในคลาสก่อนลงทุนในระยะยาวเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจลองถามหาโปรโมชั่นทดลองเรียนฟรีครั้งแรกดูเพื่อลองการออกกำลังกายจริง และตั้งใจดูว่าโค้ชมีวิธีการสอนอย่างไร จัดท่าให้บ่อยหรือไม่ รวมไปถึงว่ามีพวกฟีดแบ็กกับสมาชิกหรือไม่อย่างไร เนื่องจากท่าทางที่ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญในการลดการบาดเจ็บ คุณอาจต้องการสมัครสมาชิกในบ็อกซ์ครอสฟิตที่มีเทรนเนอร์ที่ให้ความสำคัญกับการจัดท่าทางที่ถูกต้อง

 

  • มีคลาสเบื้องต้นให้กับมือใหม่หรือไม่?

เนื่องจากท่าทางมีความสำคัญเป็นอย่างมากกับโปรแกรมออกกำลังกายครอสฟิตที่สร้างได้จากการฝึกฝนที่ดี ถ้าหากมีการเข้าร่วมคลาสเบื้องต้นจึงเป็นไอเดียที่ดีไม่น้อย บ็อกซ์ครอสฟิตหลายแห่งมีคลาสเหล่านี้สำหรับสมาชิกใหม่ และบางที่ยังบังคับให้ลงคลาสเหล่านี้ก่อนเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายครอสฟิต

 

  • โค้ชแต่ละคนมีประวัติการเทรนและใบประกาศอะไรบ้าง?

หากเป็นไปได้ คุณควรเลือกบ็อกซ์ครอสฟิตที่มีโค้ชที่ผ่านการเทรนและวิทยาศาสตร์การกีฬามา ใบประกาศสำหรับการเป็นโค้ชครอสฟิตระดับ 1 การฝึกเพียงช่วงสุดสัปดาห์ก่อนจะมาเป็นโค้ชได้ แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดีเสมอไป แต่การมีโค้ชที่อยู่ระดับครอสฟิตสูง ๆ มีใบประกาศด้านอื่น ๆ รวมไปถึงจบวิทยาศาสตร์การกีฬาหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องก็จะน่าเชื่อถือมากกว่า

  • ข้อแนะนำใดที่ใช้วัดความเหมาะสมของการออกกำลังกาย

ครอสฟิตจะมีข้อแนะนำโดยรวมสำหรับวัดระดับความเหมาะสมกับความแข็งแรงของแต่ละคน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเทรนเนอร์ทุกคนจำเป็นต้องช่วยสมาชิกปรับโปรแกรมให้เข้ากับตัวเอง ลองถามถึงวิธีที่เทรนเนอร์ใช้เพื่อช่วยสมาชิกเลือกโปรแกรมและน้ำหนักที่เหมาะสมกับความแข็งแรงของแต่ละคน

  • สังคมนอกบ็อกซ์ของสมาชิกเป็นอย่างไร?

หากการเข้าสังคมคือเหตุผลหลักที่คุณเลือกเล่นครอสฟิตแล้วล่ะก็ สิ่งสำคัญคือการค้นหาว่ามีสมาคมของสมาชิกบ็อกซ์ครอสฟิตหรือไม่อย่างไร เช่นบางที่อาจมีสมาชิกเป็นชายหนุ่มมากกว่า ในขณะที่บางที่ก็เต็มไปด้วยผู้ปกครองคนทำงาน ด้วยความแตกต่างเหล่านี้ คุณอาจอยากหาบ็อกซ์ครอสฟิตที่มีสังคมที่เข้ากับความต้องการของคุณมากที่สุด


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
CrossFit Overview: Systematic Review and Meta-analysis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29484512)
CrossFit: Benefits, Risks, and How to Get Started. Healthline. (https://www.healthline.com/health/exercise-fitness/crossfit-benefits)
Telenius EW, et al. (2015). Long-term effects of a 12 weeks high-intensity functional exercise program on physical function and mental health in nursing home residents with dementia: A single blinded randomized controlled trial. DOI: (https://doi.org/10.1186/s12877-015-0151-8)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ

ค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสำคัญอย่างไร คำนวณค่าของตัวเองอย่างไร และนำไปคำนวณค่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม