กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

กินวิตามินบำรุงก่อนคลอด จะทำให้รู้สึกไม่สบายหรือคลื่นไส้หรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
กินวิตามินบำรุงก่อนคลอด จะทำให้รู้สึกไม่สบายหรือคลื่นไส้หรือไม่

วิตามินบำรุงหรืออาหารเสริมก่อนคลอดอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กสูง องค์การอนามัยโลก และกระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่า หญิงตั้งครรภ์ทุกคนโดยเฉพาะตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3 นั้น จำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นอย่างน้อยวันละ 6-7 มิลลิกรัมต่อวัน รวมควรได้รับอย่างน้อยวันละ 30 มิลลิกรัม ซึ่งสูงเกินกว่าธาตุเหล็กที่อยู่ในอาหารในแต่ละวัน และวิตามินบำรุงก่อนคลอดบางชนิด จะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้เพียง 10% เท่านั้น ดังนั้นวิตามินบำรุงก่อนคลอดจึงมีปริมาณธาตุเหล็กในปริมาณที่สูง จนบางครั้งอาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้ มวนท้อง ท้องอืด  ดังนั้นคุณแม่จึงควรตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์เสียก่อน หรือจะให้ดีควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการกินวิตามินและปริมาณการรับธาตุเหล็กที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่แต่ละคน

คำแนะนำอื่นๆ สำหรับการกินวิตามิน มีดังนี้

  • ให้กินวิตามินบำรุงก่อนคลอดพร้อมมื้ออาหาร เนื่องจากการกินวิตามินหรือยาอื่นใดในขณะท้องว่างอาจทำให้รู้สึกไม่สบายได้
  • กินวิตามินในเวลาต่างกันในแต่ละวัน หากคุณเคยกินวิตามินในตอนเช้า ให้ลองสลับไปกินวิตามินก่อนนอนบ้าง
  • ลองแบ่งเม็ดยาออกเป็นสองส่วน กินทีละส่วนให้ระยะเวลาห่างกันสองสามชั่วโมง
  • ลองกินวิตามินบำรุงก่อนคลอดที่มีส่วนผสมของวิตามินบี 6 เนื่องจากมีการวิจัยชี้ให้เห็นว่า วิตามินบี 6 สามารถช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ระหว่างตั้งครรภ์ของคุณแม่บางคนได้

หากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้แล้วยังมีอาการคลื่นไส้ไม่สบายอยู่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ว่าสามารถเปลี่ยนไปกินวิตามินที่ไม่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กในช่วงสามเดือนแรกได้หรือไม่ และรับธาตุเหล็กจากอาหารทดแทน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณแม่คนไหนกินวิตามินบำรุงก่อนคลอดยาก อย่างน้อยๆ ต้องหาทางรับกรดโฟลิกให้เพียงพอ โดยกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า การรับกรดโฟลิก (โฟเลตชนิดสังเคราะห์) หลายเดือนก่อนตั้งครรภ์และช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิดในทารก ซึ่งเป็นภาวะบกพร่องร้ายแรงของสมองและกระดูกสันหลัง โดยแพทย์แนะนำว่า หากกำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ ควรได้รับกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม/วัน หรือหากตั้งครรภ์แล้ว ก็

ควรได้รับกรดโฟลิกต่อไปอย่างน้อย 400 ไมโครกรัม/วัน ปริมาณดังกล่าวเป็นโฟเลตที่ควรได้รับนอกเหนือจากการกินอาหาร เนื่องจากร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมโฟเลตจากอาหารได้ดีเท่ากับการกินโฟเลตชนิดสังเคราะห์นั่นเอง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อ.นพ. ชัยเจริญ ตันธเนศ, โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (http://www.si.mahidol.ac.th/si...), 10 กุมภาพันธ์ 2554
แนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/filet001.pdf)
Guideline: Daily iron and folic acid supplementation in pregnant women. Geneva: World Health Organization; 2012 (http://www.who.int/nutrition/p... supp_pregnant_women/en/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่คุณควรรับประทานขณะตั้งครรภ์
อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่คุณควรรับประทานขณะตั้งครรภ์

ต่อสู้กับภาวะซีดระหว่างการตั้งครรภ์ด้วยการรับประทานอาหาร

อ่านเพิ่ม