กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

จีนอนุมัติ ทดลองวัคซีนต้าน COVID ในมนุษย์

จีนทดลองวัคซีนโควิด-19 ในคน ผลิตจากส่วนประกอบของเลือดผู้ที่หายจากโควิดแล้ว จะมีโอกาสสำเร็จหรือไม่? หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 8 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
จีนอนุมัติ ทดลองวัคซีนต้าน COVID ในมนุษย์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • วัคซีนวัคซีนโควิด-19 ของจีนผลิตจากพลาสมา ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเลือดของผู้ที่หายจากโรคโควิด-19 แล้ว การทดสอบเบื้องต้นพบว่า ได้ผลค่อนข้างดี
  • บริษัทที่ผลิตวัคซีนชื่อ "ซินโนวัค (Sinovac)" เคยผลิตวัคซีนป้องกันโรค SARS ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนามาแล้ว การผลิตวัคซีนในครั้งนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ
  • โดยปกติ การทดลองวัคซีนจะต้องทดลองในสัตว์เล็ก จากนั้นก็สัตว์ใหญ่และจึงจะมาทดลองในมนุษย์ แต่จีนให้ความมั่นใจว่า ทำตามมาตรฐานสากลอย่างปลอดภัย
  • อย่างไรก็ตาม แม้ผลการทดลองจะออกมาดีหรือไม่ ก็ยังคงต้องอาศัยเวลาในการศึกษาเพิ่มเติมและกระจายกำลังการผลิต ดังนั้นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การหมั่นล้างมือให้ถูกวิธีบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี และการเว้นระยะห่างทางสังคม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโควิด-19 (COVID-19)

การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ทำให้เกิดโรค COVID-19 ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ง่ายคล้ายกับโรคหวัด จึงทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศจีนและทั่วโลก 

นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก จึงเร่งศึกษาวิจัยเพื่อผลิตวัคซีนป้องกัน หลายประเทศต่างคาดการณ์ว่า ต้องใช้เวลาผลิตนานถึง 18 เดือน แต่ประเทศจีนมีความเชื่อมั่นว่า อาจทำได้เร็วกว่านั้น

จีนประกาศอนุมัติให้ทดลองวัคซีนในคน

เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563สำนักข่าวซินหัว (Xinhua) ของจีน รายงานการอนุมัติให้ทดลองวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในคนได้ วัคซีนนี้ได้รับการพัฒนาโดย บริษัทซิโนวัค รีเสิร์ช แอนด์ เดเวลอปเมนต์ (Sinovac research and development) ร่วมกับสถาบันยาชีววัตถุอู่ฮั่น (Wuhan institute of biological products)

จะทำการทดลองวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) จากการเก็บตัวอย่างพลาสมา (Plasma) ของผู้ที่หายจากโรค COVID-19 แล้ว ซึ่งพลาสมาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเลือด

การฉีดวัคซีนชนิดนี้ จะไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อจริงในผู้ที่ทดลอง แต่จะเข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ทำงาน จากนั้นรอดูการตอบสนองว่า "มีผลข้างเคียงหรือไม่"

การทดลองดังกล่าว ถือเป็นความท้าทายใหม่ที่รวดเร็วมากหากเทียบกับกระบวนการผลิตวัคซีนอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม จีนได้ให้ความมั่นใจว่า การทดลองทำด้วยความระมัดระวังตามมาตรฐานสากล โดยเริ่มทดลองภายในเดือนเมษายน หรือไม่เกินพฤษภาคม 2563 

วัคซีนมีโอกาสสำเร็จไหม?

มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากบริษัทซินโนวัค เคยผลิตวัคซีนโรคปอดติดเชื้อรุนแรง (SARS) มาแล้วใน พ.ศ. 2552 ซึ่งโครงสร้างพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรค SARS นั้น ใกล้เคียงกับไวรัสที่ทำให้เกิด COVID-19 ถึง 80%

นอกจากนี้ช่วงต้นของการใช้พลาสมาในการบำบัดรักษาผู้ป่วยก็พบว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับพลาสมาอย่างมีนัยสำคัญ ค่าเฉลี่ยของผู้ที่ต้องเข้าห้อง ICU มีน้อยลงในช่วงการระบาด

ก่อนหน้านี้บริษัทสตาร์ทอัปในสหรัฐชื่อ โมเดอร์นา (Moderna) และ อิโนวิโอ (Inovio) ได้มีการทดสอบวัคซีนไปแล้ว เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 โดยใช้ชื่อวัคซีนว่า "mRNA-1273" ผลิตจากรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัส ซึ่งยังคงต้องรอดูผลอีกระยะหนึ่ง

ในขณะเดียวกัน บริษัทอิโนวิโอก็ได้ประกาศร่วมมือกับบริษัท Beijing Advaccine Biotechnology ของจีนในการผลิตวัคซีนชื่อ INO-4800 อีกด้วย ทำให้เกิดการบูรณาการร่วมกันหลายภาคส่วน

อย่างไรก็ตาม การทดลองยังคงต้องศึกษาวิจัยอีกมาก ในกลุ่มคนหลากหลายช่วงอายุ เนื่องจากโรค COVID-19 จะส่งผลรุนแรงกับผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์อาจเน้นที่ผลลัพธ์ที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุมากเป็นพิเศษ

การทดลองวัคซีนมีกี่ขั้นตอน?

โดยปกติ หลังจากผลิตตัววัคซีนออกมาแล้วจะต้องผ่านการทดลองทั้งในสัตว์และการทดลองทางคลินิก รวมแล้วอาจมีถึง 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การทดลองในสัตว์เล็ก ซึ่งมักเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หนูทดลอง
  2. การทดลองในลิงไพรเมต (Primate) เช่น ลิงไม่มีหาง (Apes)
  3. การทดลองกับกลุ่มคนขนาดเล็กเพื่อดูว่า กลุ่มคนปลอดภัยหรือไม่ และระดับภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อวัคซีนได้ดีไหม
  4. การทดลองกับกลุ่มคนขนาดกลาง อาจเป็นกลุ่มอาสาสมัครหลายร้อยคน เพื่อหาแนวทางในการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมที่สุด
  5. การทดลองกับกลุ่มคนขนาดใหญ่ อาจเป็นคนจำนวนมากๆ ขึ้นอยู่กับผู้วิจัยในการกำหนดปัจจัยการทดลอง

อย่างไรก็ตาม โรค COVID-19 เป็นโรคที่มีการระบาดอย่างรวดเร็วและมักก่อให้เกิดอาการรุนแรงในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง ถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ภายในระยะเวลาไม่นาน 

หลายประเทศทั่วโลกจึงจัดสรรงบประมาณมากขึ้นในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ซึ่งทำให้ขั้นตอนต่างๆ รวดเร็วขึ้น ล่าสุดวัคซีนหลายชนิดได้ผ่านการทดลองใช้กับคนอย่างปลอดภัยแล้ว และเริ่มมีการอนมัติฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในหลายประเทศแล้ว รวมถึงจีนเอง

ปัจจุบัน (มกราคม 2564) จีนมีการตั้งเป้าว่า จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้ประชาชนในประเทศให้ครบ 1 ล้านรายก่อนเดือนกุมภาพันธ์ช่วงตรุษจีน 

การฉีดวัคซีนครั้งนี้จะคลอบคลุมประชาชนทั้งหมด 9 กลุ่ม ที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี รวมถึงเจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่ด้านคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทั้งในและนอกประเทศทั้งหมด

ส่วนในประเทศที่อยู่ระหว่างเฝ้ารอการจัดส่งวัคซีนรวมทั้งประเทศไทย ประชาชนจึงจำเป็นต้องดูแลตนเองอย่างเคร่งครัดต่อไป เช่น รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี หมั่นล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน และรักษาระยะห่างทางสังคม

นอกจากนี้ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย หมั่นตรวจสุขภาพเพื่อเช็คความพร้อมของระบบต่างๆ ในร่างกาย 

หรือหากมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ชอบรับประทานของมันของทอด การตรวจสุขภาพอาจจะเน้นตรวจปอด ตรวจหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มเติมก็ได้

ส่วนผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ป้องกันการเกิดโรคแทรก หรือภาวะแทรกซ้อน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโควิด-19 (COVID-19) จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
South China Morning Post, Coronavirus: green light for human trials on two more Chinese vaccine hopefuls, (https://www.scmp.com/news/china/science/article/3079841/coronavirus-green-light-human-trials-two-more-chinese-vaccine), 14 April 2020.
NikkeiAsia, China slips in COVID-19 vaccine race on doubts over effectiveness, https://asia.nikkei.com/Spotlight/Coronavirus/China-slips-in-COVID-19-vaccine-race-on-doubts-over-effectiveness, 17 December 2020.
Jon Cohen, With global push for COVID-19 vaccines, China aims to win friends and cut deals, https://www.sciencemag.org/news/2020/11/global-push-covid-19-vaccines-china-aims-win-friends-and-cut-deals, 17 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)