กระจกตาถลอก (Corneal Abrasion)

อาการกระจกตาถลอก คืออะไร เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กระจกตาถลอก (Corneal Abrasion)

กระจกตา (Cornea) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดของลูกตา มีความใส  โปร่งแสง มีลักษณะโค้งไปกับลูกตา พื้นผิวเรียบ โดยทั่วไปจะมีความหนาเฉลี่ย 520 ไมครอน กระจกตาทำหน้าที่หักเหแสงร่วมกับเลนส์ตาให้ตกใกล้จอประสาทตามากที่สุด และช่วยในการโฟกัสภาพให้มีความชัดเจน

ส่วนประกอบของกระจกตา

กระจกตาประกอบไปด้วยชั้นเนื้อเยื่อ 5 ชั้น ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ชั้นหนังกำพร้า (Epithelium layer) เป็นชั้นนอกสุดของกระจกตา หากเกิดการถลอกจะเกิดขึ้นในชั้นนี้
  • ชั้นเนื้อเยื่อรองรับผิว (Basement membrane) เป็นชั้นบางๆ 
  • ชั้นเนื้อเยื่อหลัก (Stroma) หากเกิดแผลเป็นบนกระจกตาจะเกิดในชั้นนี้ 
  • ชั้นเยื่อรองรับเซลล์ด้านใน (Descemet’s membrane) เป็นชั้นที่มีความยืดหยุ่นสูง 
  • ชั้นเซลล์ผิวด้านใน (Endothelial cell) เป็นชั้นที่อยู่ด้านในสุด  มีหน้าที่สำคัญคือ การดูดน้ำออกจากกระจกตา ทำให้กระจกตามีความใสนั่นเอง

กระจกตาไม่มีหลอดเลือด แต่ประกอบไปด้วยประสาทรับรู้ความรู้สึก (Nerve Endings) จำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ถ้าเกิดรอยถลอก หรือการขีดข่วนก็จะไวต้อความรุ้สึก เช่น เจ็บปวดรู้สึกไม่สบายตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมหยาบๆ อยู่ในตาตลอดเวลา 

แต่หากอาการดังกล่าวไม่รุนแรงมากนักก็สามารถหายได้เองภายใน 7 วัน 

ถ้ามีอาการปวดตาเฉียบพลัน ร่วมกับมีน้ำตาไหลคล้ายๆ อาการตาแดง ก็เป็นไปได้ว่าอาจมีรอยถลอกที่กระจกอย่างรุนแรง ก็ควรไปพบจักษุแพทย์เร็วที่สุด

สาเหตุของกระจกตาถลอก

สาเหตุของกระจกตาถลอก อาจเกิดขึ้นได้จากสิ่งต่อไปนี้

  • ฝุ่นผง
  • เศษโลหะ
  • เม็ดทราย
  • เล็บมือ เล็บเท้าสัตว์

บางครั้งอาการกระจกตาถลอก อาจพบร่วมกับอาการม่านตาอักเสบ (Iritis) ส่วนกระจกตาถลอกที่มีการติดเชื้อ สามารถกลายเป็นแผลที่กระจกตาได้ (Corneal Ulcer)

การวินิจฉัยกระจกตาถลอก

ในการวินิจฉัยภาวะกระจกตาถลอก แพทย์จะให้ยาหยอดตาเพื่อคลายกล้ามเนื้อตาและขยายรูม่านตา ซึ่งแพทย์อาจมีการย้อมสี Fluorescent เพื่อช่วยให้มองเห็นรอยถลอกบนกระจกตาได้ชัดเจนมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ป่วยอาจได้รับยาชาหยอดตาเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดชั่วคราว ระหว่างนั้นแพทย์จะทำการตรวจตาอย่างละเอียดโดยใช้หลอดไฟชนิดพิเศษ และเครื่องมือที่มีกำลังขยายช่วยในการตรวจหารอยขีดข่วนและสิ่งแปลกปลอมในดวงตา

การรักษาภาวะกระจกตาถลอก

หากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ดวงตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือทันทีแล้วกระพริบตาหลายๆ ครั้งเพื่อช่วยให้เม็ดทราย กรวด หรือสิ่งแปลกปลอมหลุดออกจากตาได้ อย่าขยี้ตา อย่าสัมผัสดวงตาโดยตรง และอย่าหยอดสารละลายหรือสารใดๆ ลงในดวงตา

ถ้าแพทย์ให้การวินิจฉัยแล้วว่าคุณมีภาวะกระจกตาถลอก แพทย์จะตรวจเพิ่มว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ในกรณีที่การถลอกมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจได้รับยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการปวดและบรรเทาอาการไวต่อแสง นอกจากนี้ยังอาจได้รับยาแก้ปวดชนิดรับประทานด้วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่กระจกตาจะสร้างเยื่อบุผิวขึ้นมาปิดแผลได้เองอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่กี่วัน

การป้องกันกระจกตาถลอก

เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา แนะนำให้สวมแว่นตาป้องกันขณะทำงานต่างๆ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับด้านการช่าง เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมกระเด็นเข้าสู่ดวงตา

ที่มาของข้อมูล

Maureen Ash, What Causes Corneal Abrasion? (https://www.healthline.com/symptom/corneal-abrasion), May 11, 2016.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Is Corneal Abrasion?. American Academy of Ophthalmology. (https://www.aao.org/eye-health/diseases/what-is-corneal-abrasion)
Corneal abrasion, scratched cornea, scratched eye, symptoms & treatment. All About Vision. (https://www.allaboutvision.com/conditions/corneal-abrasion.htm)
Corneal Abrasion: Symptoms, Diagnosis, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/corneal-abrasion)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)